พรรคประชาภิวัฒน์ (พ.ศ. 2561)

พรรคประชาภิวัฒน์ (อักษรโรมัน: People Progressive Party, ชื่อย่อ: ปชภ./PRA) พรรคการเมืองที่ได้ยื่นจดจองชื่อพรรคต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นลำดับที่ 14/2561 เมื่อวันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561 มี พลตรี ไชยนาจ ญาติฉิมพลี เป็นผู้ยื่นคำร้องขอ[1]

พรรคประชาภิวัฒน์
People Progressive Party
หัวหน้าสมเกียรติ ศรลัมพ์
รองหัวหน้า
  • พลตรี ไชยนาจ ญาติฉิมพลี
  • พันตำรวจโท ณฐภัทร คูหาทอง
เลขาธิการยู เจียรยืนยงพงศ์
รองเลขาธิการ
  • กฤตย์พสิษฐ์ พูนธนวิทย์
เหรัญญิกพัชรา จ่าแปง
นายทะเบียนสมาชิกดำรงค์ ศรีขนาดหลวง
โฆษกสมยศ ศรลัมพ์
รองโฆษกสุรวุฒิ สัมพันธ์
กรรมการบริหาร
  • เตรียมชัย อุทัยวัฒน์
  • มนูญ เสนาสังข์
คำขวัญก้าวด้วยธรรม นำด้วยใจ
ก่อตั้ง2 มีนาคม 2561; อีก 536 ปี (2561-03-02)
ที่ทำการ72/70 หมู่ 1 ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 60000
สี  เขียว
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

ต่อมาในวันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2561 ทางพรรคประชาภิวัฒน์ได้รับหนังสือรับจดแจ้งจัดตั้งพรรคจาก กกต. พร้อมกับ พรรคพลังพลเมืองไทย เพื่อให้ทางพรรคได้ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคต่อไป[2]

กระทั่งวันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561 พรรคประชาภิวัฒน์ได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2561 เพื่อร่างข้อบังคับพรรค ระเบียบพรรค อุดมการณ์พรรคและนโยบายของพรรครวมถึงเพื่อเลือกหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคปรากฏว่า นาย สมเกียรติ ศรลัมพ์ อดีต ส.ว. นครสวรรค์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรกและนาง นันทนา สงฆ์ประชา เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก[3] และได้ยื่นจดทะเบียนจัดตั้งพรรคต่อ กกต. เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561[4] ซึ่ง กกต. ได้รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคประชาภิวัฒน์เป็นลำดับที่ ๓/๒๕๖๑ เมื่อวันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2561 และได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561[5]

พรรคประชาภิวัฒน์ ถูกกล่าวถึงว่าเป็นพรรคการเมืองที่มีสายสัมพันธ์กับวัดพระธรรมกาย[6] เป็นพรรคเพื่อพระพุทธศาสนา

คณะกรรมการบริหารพรรค แก้

ชุดที่ 1 (15 เมษายน 2561 —) แก้

การเลือกตั้ง แก้

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 1 ที่นั่ง[7] คือ สมเกียรติ ศรลัมพ์ ต่อมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่งเพื่อรับหน้าที่กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี[8] จึงเลื่อน นันทนา สงฆ์ประชา ขึ้นมาแทน

ประวัติการทำงานในรัฐสภา แก้

ครั้งที่ การเลือกตั้ง จำนวน ส.ส. สถานภาพพรรค นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ
1. 2562 1 คน ร่วมรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

อ้างอิง แก้

  1. "41 พรรคยื่นขอจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่-ไม่ห้ามพรรคนอมินี". ryt9.com. 2 Mar 2018.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "ไฟเขียวอีก4พรรคมี"ประชาภิวัฒน์"ของ"พล.ต.ไชยนาจ"ด้วย". banmuang.co.th. 6 Apr 2018.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "พรรคเกิดใหม่ฟุ้งสรรพคุณ!". ThaiPost. 16 Apr 2018.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. ""ประชาภิวัฒน์" ยื่นขอจัดตั้งพรรคต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง". มติชนสุดสัปดาห์. 2018-05-03.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคประชาภิวัฒน์. ราชกิจจานุเบกษา. 13 Sep 2018.
  6. "เอาแล้วไง? พรรคประชาภิวัฒน์ สิบล้อพ่วง "ธรรมกาย"!". NationTV. 2018-04-16.
  7. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.
  8. ""สมเกียรติ ศรลัมพ์"ลาออกส.ส. นั่งผู้ช่วยรมต.ประจำสำนักฯมีผล 11 ส.ค.นี้". มติชนออนไลน์. 2019-08-08.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้