พรรคเศรษฐกิจ
พรรคเศรษฐกิจ เป็นพรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561 โดยมีชื่อเดิมว่า พลังพลเมืองไทย[2] พลเมืองไทย และ เส้นด้าย
พรรคเศรษฐกิจ | |
---|---|
![]() | |
ประธาน | คริส โปตระนันทน์ |
หัวหน้า | พลเอก รังษี กิติญาณทรัพย์ |
รองหัวหน้า | ชาติพรรณ โชติช่วง |
เลขาธิการ | พีรพล กนกวลัย |
รองเลขาธิการ | อังสณา เนียมวณิชกุล |
เหรัญญิก | จิณณฉัตร อริยสวโรจน์ |
นายทะเบียนสมาชิก | วรินทร อัศนีวุฒิกร |
กรรมการบริหาร |
|
ก่อตั้ง | พรรคพลังพลเมืองไทย 10 สิงหาคม พ.ศ. 2561 พรรคเส้นด้าย 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 พรรคเศรษฐกิจ 26 เมษายน พ.ศ. 2568 |
แยกจาก | พรรคก้าวไกล |
ก่อนหน้า | กลุ่มเส้นด้าย |
ที่ทำการ | 226/1 ถนนเพชรเกษม แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600 |
สมาชิกภาพ (ปี 2568) | 10,607 คน[1] |
อุดมการณ์ | |
จุดยืน | กลางขวา |
สี | สีดำ สีเหลือง |
สภากรุงเทพมหานคร | 1 / 50
|
เว็บไซต์ | |
zendaiparty | |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
ประวัติ
แก้พรรคพลังพลเมืองไทย
แก้พรรคพลังพลเมืองไทยเกิดจากการรวมตัวกันของอดีตรัฐมนตรีและอดีต ส.ส. จากทั่วทุกภาคโดยมี นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าที่หัวหน้าพรรคนอกจากนี้ยังมีอดีตรัฐมนตรีหลายคนเข้าร่วมก่อตั้งอาทิ นายเอกพร รักความสุข และนาย ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ เป็นต้น[3]
โดยทางพรรคได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 13.30 น. ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์[4] โดยนาย สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคคนแรกและ นาย เอกพร รักความสุข เป็นเลขาธิการพรรคคนแรกพร้อมกับรองหัวหน้าพรรคอีก 5 โดยมีนางสาว ศิลัมพา เลิศนุวัฒน์ เป็นรองเลขาธิการพรรค[5] ซึ่งนายสัมพันธ์และคณะเข้ายื่นจดทะเบียนจัดตั้งพรรคพลังพลเมืองไทยอย่างเป็นทางการในวันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561[6] ซึ่ง กกต. ได้รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคพลังพลเมืองไทยเป็นลำดับที่ ๔/๒๕๖๑ เมื่อวันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2561 และได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561[7]
พรรคพลเมืองไทย
แก้ในเวลาต่อมาพรรคพลังพลเมืองไทย ได้จัดประชุมใหญ่วิสามัญพรรคพลังพลเมืองไทย ครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2561 โดยที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนชื่อพรรคเป็นพรรคพลเมืองไทย[8] โดยมีนายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ต่อมานายสัมพันธ์ได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและสมาชิกพรรค และได้พาศิลัมพา บุตรสาวซึ่งเป็น ส.ส. คนเดียวของพรรคย้ายไปสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ หลังจากคณะกรรมการบริหารพรรคมีมติขับออกจากพรรคเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566[9]
พรรคเส้นด้าย
แก้หลังจากที่ สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรค ทางพรรคพลเมืองไทยได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566[10][11] ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกคริส โปตระนันทน์ อดีตผู้ก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่พร้อมกับเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น[9] พรรคเส้นด้าย โดยทางพรรคเส้นด้ายได้ปราศรัยเปิดตัวพรรคเป็นครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2566[12]
พรรคเศรษฐกิจ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บทบาททางการเมือง
แก้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 พรรคพลเมืองไทยมี ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 ราย คือ ศิลัมพา เลิศนุวัฒน์
หลังจากเปลี่ยนเป็นพรรคเส้นด้าย ได้มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครย้ายมาจากพรรคก้าวไกล 1 คน คือ พีรพล กนกวลัย ซึ่งยังดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการของพรรคอีกด้วย
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคเส้นด้ายประกาศลงสมัครในพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นหลัก จำนวน 20 เขต และลงสมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 11 ราย[13] โดยผู้สมัครบางรายเคยเป็นผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจากพรรคก้าวไกลมาก่อน แต่ทั้งหมดไม่ได้รับเลือกตั้ง
อุดมการณ์ของพรรค
แก้การประกาศนโยบายของพรรคเส้นด้ายทางเว็บไซต์[14] ทางพรรคมีการสนับสนุนการให้เสรีภาพทางเศรษฐกิจผ่านการทำนโยบายตลาดเสรี การค้าเสรี การลดอัตราภาษี ลดขนาดรัฐลงตามแนวทางของสำนักเศรษฐศาสตร์ชิคาโก้[15] โดยนโยบายทางด้านสังคม และการเมืองมุ่งเน้นไปในแนวทางของการลดและขจัดระบบเส้นสายในสังคม และความเป็นประชาธิปไตยโดยไม่อิงกับอำนาจที่เกิดขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของคนมีเส้นบางกลุ่ม[16]
บุคลากรพรรค
แก้หัวหน้าพรรค
แก้พรรคพลังพลเมืองไทย | |||
---|---|---|---|
ลำดับที่ | ชื่อ | เริ่ม | สิ้นสุด |
1 | สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2561 | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2561 |
พรรคพลเมืองไทย | |||
2 | เอกพร รักความสุข | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2561 | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 |
- | ศิลัมพา เลิศนุวัฒน์ | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (รักษาการ) |
15 กันยายน พ.ศ. 2562 |
(1) | สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ | 15 กันยายน พ.ศ. 2562 | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 |
พรรคเส้นด้าย | |||
3 | คริส โปตระนันทน์ | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 | 25 เมษายน พ.ศ. 2568 |
พรรคเศรษฐกิจ | |||
4 | พลเอก รังษี กิติญาณทรัพย์ | 26 เมษายน พ.ศ. 2568 | ปัจจุบัน |
เลขาธิการพรรค
แก้พรรคพลังพลเมืองไทย | |||
---|---|---|---|
ลำดับที่ | ชื่อ | เริ่ม | สิ้นสุด |
1 | เอกพร รักความสุข | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2561 | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2561 |
พรรคพลเมืองไทย | |||
(1) | เอกพร รักความสุข | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2561 | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 |
- | สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (รักษาการ) |
15 กันยายน พ.ศ. 2562 |
2 | ศิลัมพา เลิศนุวัฒน์ | 15 กันยายน พ.ศ. 2562 | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 |
พรรคเส้นด้าย และพรรคเศรษฐกิจ | |||
3 | พีรพล กนกวลัย | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 | ปัจจุบัน |
ผลการเลือกตั้งทั่วไป
แก้การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ที่นั่งเปลี่ยน | ผลการเลือกตั้ง | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
พรรคพลเมืองไทย | ||||||
2562 | 1 / 500
|
44,961 | 0.13% | 1 | ร่วมรัฐบาล | สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ |
พรรคเส้นด้าย | ||||||
2566 | 0 / 500
|
10,410 | 1 | ไม่ได้รับเลือกตั้ง | คริส โปตระนันทน์ |
อ้างอิง
แก้- ↑ ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 10 มีนาคม 2568
- ↑ "กกต.เปิดวันแรกคึก30กลุ่มการเมืองแห่จองชื่้อจัดตั้งพรรค". posttoday. 2018-03-02. สืบค้นเมื่อ 2025-04-27.
- ↑ อดีตสส. 30 คน ตั้งพรรคพลังพลเมืองสู้เลือกตั้ง โพสต์ทูเดย์ 30 มกราคม พ.ศ. 2561
- ↑ โดนใจคสช.!'เสี่ยติ่ง'ลั่นไม่ต้องปลดล็อก นัดประชุมพลังพลเมืองไทย29เม.ย.นี้
- ↑ พลังพลเมืองไทย ประชุมใหญ่ สัมพันธ์ ย้ำ หนุนนายกฯ ใครก็ได้หากเป็นไปตามรธน.
- ↑ ‘เสี่ยติ่ง’ นำสมาชิกเข้าจดจัดตั้งพรรค ‘พลังพลเมืองไทย’ สมาชิกร่วมจัดตั้ง 676 คน
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคพลังพลเมืองไทย
- ↑ ประชุมใหญ่วิสามัญพรรคพลังพลเมืองไทย ครั้งที่ 3/2561 จาก ราชกิจจานุเบกษา 22 Mar 2019
- ↑ 9.0 9.1 "รทสช."มีส.ส.เพิ่ม หลัง "ศิลัมพา" เข้าสังกัด - ส่ง "พลท." ให้ "คริส" ดูแล
- ↑ "สัมพันธ์" ทิ้ง "พรรคพลเมืองไทย" ศิลัมพา เตรียมลงส.ส.เขตกับพรรคใหญ่
- ↑ "สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์" พาลูกสาว “ศิลัมพา" ซบ “รทสช.” หนุน "บิ๊กตู่" นั่งนายกฯ "เอกนัฎ" เตรียมลงใต้ ถก "บ้านใหญ่เมืองนราฯ" หวังกวาดยก4เขต
- ↑ เลือกตั้ง 2566 : ชาวห้วยขวาง แห่ให้กำลังใจ "คริส โปตระนันทน์" พรรคเส้นด้าย
- ↑ "พรรคเส้นด้าย นโยบาย เลือกตั้ง 2566 ข้อมูลพรรครายชื่อผู้สมัคร ส.ส. เขต บัญชีรายชื่อทั้งหมด เลือกตั้ง 66". vote62.com.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "พรรคเส้นด้าย". zendaiparty.org.
- ↑ "คริส โปตระนันทน์ - Chris Potranandana". www.facebook.com. (การกล่าวถึงนโยบายของพรรคหลักและตอบคำถามในคอมเมนท์)
- ↑ "พรรคเส้นด้าย". zendaiparty.org.