พรรคเพื่อชาติ

พรรคเพื่อชาติ (อังกฤษ: For the Nation Party) พรรคการเมืองของไทยที่จดทะเบียนจัดตั้งตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นลำดับที่ 17/2556 เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556[1] มีนายเถลิงยศ บุตุคำ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และนางสาวรัชชสรา แก้วเกิดมี เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก

พรรคเพื่อชาติ
For The Nation Party
หัวหน้าปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช
เลขาธิการปวีย์ภัทร วัฒนศิริเศรษฐ
รองหัวหน้าพรรคนายเทวกฤต พรหมมา, นางบุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์, พลตำรวจตรี ดร.ชยุต มารยาทตร์, นายเนติภูมิ ริยาพันธ์, นายวิชัย ทวีปวรเดช, นางสาวพลอยนภัส โจววณิชย์, นายวิรัช ตวงจารุวินัย
ประธานยุทธศาสตร์ร้อยเอก ดร. จารุพล เรืองสุวรรณ
ประธานที่ปรึกษาร้อยตำรวจเอก ดร. นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย
คำขวัญเพื่อชาติ(นี้) ไม่ต้องรอชาติหน้า
ก่อตั้ง18 กันยายน พ.ศ. 2556; 9 ปีก่อน (2556-09-18)
ที่ทำการ76 ซอยรามคำแหง 21 ถนนรามคำแหง แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310
บุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีนายแพทย์ เรวัต วิศรุตเวช, ร้อยเอก ดร.จารุพล เรืองสุวรรณ
เว็บไซต์
https://phueachart.com/
โฆษกนางสาวชุติมา กุมาร
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

วันที่ 10 กันยายน 2565 คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อชาติได้จัดการประชุมวิสามัญ ครั้งที่ 1/2565 ณ ห้องประชุมสนามฟุตบอลเชียงรายยูไนเต็ด จังหวัดเชียงราย โดยมีสมาชิกพรรคร่วมลงมติเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคฯ ชุดใหม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช เป็นหัวหน้าพรรค[2] ในวันที่ 14 ตุลาคม 2565 พรรคเพื่อชาติได้จัดงานเปิดตัวการรีแบรนด์พรรคฯอย่างยิ่งใหญ่ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ในงานนี้นอกจากจะเป็นการเปิดตัวกรรมการบริหารที่เปลี่ยนใหม่ทั้งชุดแล้ว ยังมีการเปิดโลโก้ใหม่ของพรรคฯ ที่มีความทันสมัยและสื่อถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะทำเพื่อประชาชนคนไทยในทุกมิติ นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัวนโยบายหลักของพรรคฯ โดยที่พรรคเพื่อชาติกล้าที่จะชูนโยบายการศึกษาเป็นนโยบายหลักที่น้อยพรรคนักจะกล้าทำ เพราะพรรคเพื่อชาติต้องการที่จะนำเสนอการเปลี่ยนแปลงประเทศจากรากฐานที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ [3] พรรคเพื่อชาติยังได้ชูนโยบายอื่นๆที่เรียกได้ว่า ครบครันในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้าน สาธารณะสุข กระบวนการยุติธรรม การค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ ไรเดอร์[4]

โดยในปัจจุบัน พรรคเพื่อชาติได้ยกทีมกรรมการบริหารใหม่ทั้งหมด ประกอบด้วย

  1. นางสาวปวิศรัฐฐ์  ติยะไพรัช หัวหน้าพรรค
  2. นายเทวกฤต พรหมมา รองหัวหน้าพรรค
  3. นายเรวัต วิศรุตเวช รองหัวหน้าพรรค
  4. พลตำรวจตรีชุยต มารยาทตร์ รองหัวหน้าพรรค
  5. นายเนติภูมิ ริยาพันธ์ รองหัวหน้าพรรค
  6. นายเทวกฤต พรหมมา รองหัวหน้าพรรค
  7. นางสาว พลอยนภัส โจววณิชย์ รองหัวหน้าพรรค
  8. นายวิรัช ตวงจารุวินัย รองหัวหน้าพรรค
  9. นายปวีย์ภัทร วัฒนศิริเศรษฐ เลขาธิการพรรค
  10. นางสาวชนัญชิดา สียางนอก เหรัญญิกพรรค
  11. นางสาวณฐพร ดอนปัญญา นายทะเบียนสมาชิกพรรค
  12. นางสาววรัชยา โกแสนตอ ผู้อำนวยการพรรค
  13. นางสาวชุติมา กุมาร โฆษกพรรค
  14. นางพลอยชมพู ริยาพันธ์ รองโฆษกพรรค
  15. นายมูฮัมหมัด นอร์แมน กานตี้ รองโฆษกพรรค
  16. นายเขมภณ ฉัตรวิทยา กรรมการบริหารพรรค
  17. นางสาวเกศปรียา แก้วแสนเมือง กรรมการบริหารพรรค
  18. นายชาย มาลี กรรมการบริหารพรรค

การเลือกตั้ง 2566แก้ไข

นอกจากนี้พรรคเพื่อชาติยังมีตำแหน่งสำคัญอื่น ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 อีกด้วย เช่น จารุพล เรืองสุวรรณ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อชาติ และนิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย มาดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรคเพื่อชาติอีกด้วย

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคเพื่อชาติได้เสนอชื่อบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไทย 2 คน[5] ได้แก่ เรวัต วิศรุตเวช และจารุพล เรืองสุวรรณ

พรรคเพื่อชาติได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งในระบบบัญชีรายชื่อและเขตเลือกตั้ง รวม 91 คน

นอกจากนี้พรรคเพื่อชาติยังได้ตั้งศูนย์นโยบายมีชีวิต พรรคเพื่อชาติ ณ สุขุมวิท 12 เพื่อเป็นพื้นที่ในการนำเสนอนโยบายของพรรคฯ โดยมีความตั้งใจที่จะนำเสนอนโยบายแบบจับต้องได้ นำเสนอแบบเป็นรูปธรรมก่อนที่จะให้ประชาชนตัดสินใจเข้าคูหากาพรรคเพื่อชาติ ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 โดยการตั้งศูนย์นโยบายมีชีวิต นับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย[6]

สิ่งที่พรรคเพื่อชาติเน้นย้ำมากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้ และก็คือจุดยืนของพรรคเพื่อชาติ คือ "การขจัด นายทุน-ขุนศึก ที่กินรวบประเทศมาอย่างยาวนาน" พรรคเพื่อชาติต้องการที่จะทลายการผู้ขาด และการเอื่อประโยชย์ระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มนายทุน ที่นำมาซึ่งการตัดโอกาสของประชาชน

หัวหน้าพรรคแก้ไข

  1. เถลิงยศ บุตุคำ (18 กันยายน 2556 – 23 พฤศจิกายน 2561)
  2. สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ (23 พฤศจิกายน 2561 – 19 มีนาคม 2564[7])
  3. บุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์ (3 เมษายน 2564[8] - 21 พฤศจิกายน 2564)
  4. ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ (21 พฤศจิกายน 2564[9] - 9 กันยายน 2565)
  5. ปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช (10 กันยายน 2565 - ปัจจุบัน)

ประวัติการทำงานในรัฐสภาแก้ไข

ครั้งที่ การเลือกตั้ง จำนวน ส.ส. สถานภาพพรรค นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ
1. 2562 6 คน ฝ่ายค้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ย้ายมาจากพรรคเพื่อไทย 1 คน

อ้างอิงแก้ไข

  1. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคเพื่อชาติ
  2. ""ปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช" นั่งหัวหน้าพรรคเพื่อชาติคนใหม่". Thai PBS. 2022-09-10.
  3. ""เราจะสร้างชีวิตที่ดีในชาตินี้ด้วยกัน ไม่ต้องรอชาติหน้า" พรรคเพื่อชาติเปิดตัว 'มาดามฮาย' นั่งหัวหน้าพรรคคนใหม่". The MATTER (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-10-14.
  4. "นโยบาย – พรรคเพื่อชาติ".
  5. "'เพื่อชาติ' เปิดตัว 'จารุพล-หมอเรวัต' แคนดิเดตนายก". prachatai.com.
  6. ""เพื่อชาติ" เล่นใหญ่เตรียมเปิดศูนย์นโยบายมีชีวิต Live Policy ปากซอยสุขุมวิท 12". mgronline.com. 2022-12-27.
  7. "'สงคราม' ไขก๊อกพ้นหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ". ThaiPost. 19 Mar 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "'เพื่อชาติ' เคาะแล้ว 'บุศริณธญ์ พี่สาวยงยุทธ' นั่งหัวหน้าพรรคแทน 'สงคราม'". ThaiPost. 3 Apr 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. ""ศรัณย์วุฒิ" ผงาด หน.เพื่อชาติ "สงคราม" นั่งประธานยุทธศาสตร์". mgronline.com. 21 Nov 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข