นิติภูมิ นวรัตน์
ร้อยตำรวจเอก ดร. นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย เดิมชื่อ นิติภูมิ นวรัตน์[1] (5 มิถุนายน พ.ศ. 2503— ) มีชื่อเล่นว่า หมู
นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | |
หัวหน้าพรรคสุวรรณภูมิ | |
ดำรงตำแหน่ง 8 กันยายน พ.ศ. 2551 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552 | |
ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2564 – พ.ศ. 2566 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2503 จังหวัดตราด |
พรรคการเมือง | ประชากรไทย (2529–2547) เพื่อแผ่นดิน (2550–2551) สุวรรณภูมิ (2551–2552) เพื่อไทย (2554–2561) ประชาชาติ (2561–2566) เพื่อชาติ (2566) |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กรมตำรวจ |
ยศ | ร้อยตำรวจเอก |
ประวัติ
แก้ร้อยตำรวจเอก นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย เรียนที่เกิดที่บ้านดงกลาง ตำบลเขาสมิง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด แต่มาเติบโตที่บ้านซึ้งล่าง ตำบลวันยาว อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี บิดาชื่อ มิ่ง อยู่พร้อม มารดาชื่อ เชื้อน อยู่พร้อม (สกุลเดิม กลิ่นอยู่ มีเชื้อสายสกุลชัชวาลย์, พูลเกษม และเจริญลาภ) ฝ่ายแม่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนแซ่ลี้ และบรรพบุรุษบางสายมาจากอินเดีย เขานับถือศาสนาพุทธ
เดิมนามสกุล อยู่พร้อม แต่เปลี่ยนมาใช้นามสกุลของบิดาบุญธรรมคือ หม่อมราชวงศ์เชาวน์ นวรัตน และเมื่อวันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ.2559 สมเด็จพระวันรัต เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตและเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ประทานชื่อและนามสกุลตามหนังสือเลขที่ 01/2559 ให้ โดยเปลี่ยนชื่อเดิมจาก นิติภูมิ เป็น นิติภูมิธณัฐ และเปลี่ยนนามสกุลใหม่จาก นวรัตน์ เป็น มิ่งรุจิราลัย โดยนำชื่อบิดาคือนายมิ่งซึ่งมีความหมายว่า สิริ + รุจิราลัย ซึ่งหมายถึงที่อยู่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองสว่างไสว และได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อนามสกุลอย่างเป็นทางการเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559
การศึกษาสำเร็จมัธยมศึกษาตอนปลาย (แผนกวิทยาศาสตร์) จาก โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จันทบุรี จากนั้นได้รับทุนสโมสรโรตารี่จันทบุรี เข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมแห่งเมืองเซนต์เออร์นาด รัฐวิกตอเรีย เครือรัฐออสเตรเลีย หลังจากกลับประเทศไทย เขาเข้าเรียนที่ สถาบันการศึกษาทางสหกรณ์ ในเวลาเดียวกันก็เรียนชั้นปริญญาตรี สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เคยเรียนปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ ประเภท External Program ของมหาวิทยาลัยลอนดอน แต่ไม่สำเร็จ เคยเป็นนิสิตปริญญาโท ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบปริญญาโทสาขาบริหารรัฐกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบปริญญาเอกปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ สถาบันเอเชียและแอฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยมอสโก สหพันธรัฐรัสเซีย เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2541 สำเร็จหลักสูตรผู้มีคุณวุฒินิติศาสตร์บัณฑิตและรัฐศาสตร์บัณฑิตเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร รุ่นที่ 15 จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ภายหลังสำเร็จการศึกษาหลักสูตรสูงสุดจาก วิทยาลัยการตำรวจ (บตส.31) วิทยาลัยการทัพบก (วทบ.51) วิทยาลัยมหาดไทย (นปส.57) วิทยาลัยการยุติธรรม (บ.ย.ส.11) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.2555/วปม.6)[2] สถาบันวิทยาการตลาดทุน[3] (วตท.5) และสถาบันพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง (พตส.5)[4] จบการศึกษาระดับปริญญาเอกทางประวัติศาสตร์[5] จากสถาบันเอเชียและแอฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยมอสโก อดีตสหภาพโซเวียต
งานการเมือง
แก้ในปี พ.ศ. 2529 ได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคประชากรไทย[6] เนื่องจากศรัทธาในตัว สมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 25 ของประเทศไทย ผู้ก่อตั้งและอดีตหัวหน้าพรรคประชากรไทย.
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2538ได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 6 (เขตยานนาวา, เขตสาธร, เขตบางคอแหลม และเขตคลองเตย) (เฉพาะแขวงคลองเตย) สังกัดพรรคประชากรไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[7]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2539 ได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 7 (บางกะปิ และ บึงกลุ่ม) สังกัดพรรคประชากรไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[8]
ในปี พ.ศ. 2547 ได้ลงสมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้หมายเลข 21 แต่ไม่ได้รับเลือก ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ได้ลงสมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภาในเขตกรุงเทพมหานคร ได้รับเลือกด้วยคะแนนสูงสุดในบรรดาผู้สมัครทั้งหมดทั่วประเทศ ด้วยคะแนน 257,420 คะแนน แต่ไม่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการการเลือกตั้งในขณะนั้น เพราะถูกร้องเรียนว่าขึ้นเวทีปราศรัยของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
เคยขึ้นเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในการกล่าวปราศัยโจมตีการทำงานของระบอบทักษิณ[9][10] ทั้งในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน การแทรกแซงองค์กรอิสระ และเคยมีวีซีดีสารคดีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของประเทศอาร์เจนตินาออกมาแจกจ่ายในขณะนั้น โดยมีผู้กล่าวว่าเป็นการสร้างคะแนนเสียงในการลงสมัครสมาชิกวุฒิสภา
หลังจากการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ได้รับการแต่งตั้งจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ทนายความตัวแทนพรรคไทยรักไทย และ ศ.(พิเศษ)ทักษิณ ชินวัตร ได้ประกาศชื่อ นิติภูมิ นวรัตน์ ในรายชื่อพยานโจทก์ในคดีที่ พรรคไทยรักไทย และทักษิณ ฟ้อง ศ. ปราโมทย์ นาครทรรพ และพวก ต่อศาลอาญา เรื่องปฏิญญาฟินแลนด์ และมีข่าวการเปิดตัว นายเนติภูมิ นวรัตน์ บุตรชายคนโตของนิติภูมิลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนามพรรคพลังประชาชน แต่ถูกกระแสต่อต้านอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเดิม[11] จึงย้ายไปลงสมัครในนามพรรคเพื่อแผ่นดินแทน
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 7 (บางกะปิ สะพานสูง มีนบุรี ลาดกระบัง) สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน แต่ไม่ได้รับเลือก ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ได้ก่อตั้งพรรคการเมืองชื่อ พรรคสุวรรณภูมิ โดย ดร.นิติภูมิ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค แต่จากนั้นในปี พ.ศ. 2552 จึงได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค[12]
ต่อมาวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 นิติภูมิได้เปิดตัวเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อ[13] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งครั้งนี้ด้วย
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2562 ได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ ลำดับที่ 5 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[14][15]
ในปี พ.ศ. 2564 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง[16]
ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566ได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อชาติ ลำดับที่ 6 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[17][18]
ผลงานทางวิชาการ
แก้เป็นผู้อำนวยการสถาบันเอเชียและแอฟริกาศึกษาของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ นอกจากนี้ยังเคยเป็นติวเตอร์ภาษาอังกฤษ ที่หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่นักศึกษารู้จักดีในชื่อ ติวเตอร์หมู เป็นคอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ "เปิดฟ้าภาษาโลก" ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์รายการ "เปิดเลนส์ส่องโลก" ทางช่อง 3 และ "วิญญาณไทย ใจสากล" ทางโมเดิร์นไนน์ทีวีด้วย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[19]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[20]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[21]
อ้างอิง
แก้- ↑ ไม่ใช่แค่ดารา! “นิติภูมิ นวรัตน์” เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย”
- ↑ รายชื่อนักศึกษา วปอ.2555 ปรับปรุง ๑ ต.ค.๕๕
- ↑ สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.)
- ↑ เปิด พตส.รุ่น 5 กกต.ปรับหลักสูตรเข้าเหตุการณ์ ให้หาทางออกชาติ-ยังไม่อนุมัติงบ ศรส.
- ↑ Thesis NitipoomNavaratna
- ↑ "Facebook". www.facebook.com.
- ↑ "กรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538", วิกิพีเดีย, 2024-10-04, สืบค้นเมื่อ 2024-10-22
- ↑ "กรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539", วิกิพีเดีย, 2023-12-18, สืบค้นเมื่อ 2024-01-08
- ↑ "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต่อต้านระบอบทักษิณ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-12. สืบค้นเมื่อ 2021-01-29.
- ↑ "ป้องกันไม่ให้ระบอบทักษิณทุจริตคอรัปชั่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-11. สืบค้นเมื่อ 2021-01-29.
- ↑ "นิติภูมิ นวรัตน์ งูพันคอ ดันลูกแต่ตัวเองดับ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-12. สืบค้นเมื่อ 2021-01-29.
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคสุวรรณภูมิ
- ↑ "พรรคเพื่อไทยเปิดตัวสมาชิกใหม่เข้าสังกัด นายนิติภูมิ นวรัตน์, ประภัสร์ จงสงวน, บัณฑูรย์ สุภัควานิช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-05. สืบค้นเมื่อ 2021-01-29.
- ↑ "เลือกตั้ง 62 : รายชื่อ 10 อันดับปาร์ตี้ลิสต์พรรคใหญ่ ลุ้นเข้าสภา 24 มี.ค. นี้". workpointTODAY.
- ↑ "สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25", วิกิพีเดีย, 2024-03-16, สืบค้นเมื่อ 2024-04-09
- ↑ "ตั้ง"นิติภูมิ นวรัตน์"ที่ปรึกษานายกอบจ.ลำปาง". เนชั่นทีวี. 2021-02-19.
- ↑ "พรรคเพื่อชาติ", วิกิพีเดีย, 2024-03-26, สืบค้นเมื่อ 2024-04-09
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 ฟังเสียงคนไทย". www.pptvhd36.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-04-09. สืบค้นเมื่อ 2024-04-09.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๓๘, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๘๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๓๒
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ส่วนตัวของนิติภูมิ นวรัตน์
- นิติภูมิ นวรัตน์ ที่เฟซบุ๊ก
- “นิติภูมิ” แฉ “แม้ว” บัดสีกลางเม็กซิโก
- นิติภูมิ นวรัตน์ จากลอว์เยอร์ไทยดอตคอม