อำเภอขลุง
ขลุง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดจันทบุรี คำว่า "ขลุง" หมายถึงพื้นที่ลุ่ม น้ำท่วมถึง เดิมชาวขลุงมีอาชีพทำนาและประมง ปัจจุบันมีการปลูกผลไม้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน ตามตำนานเล่ากันว่าชาวพื้นเมืองมีเชื้อสายจาก "ชอง" มีภาษาพูดเป็นภาษาชองซึ่งแตกต่างจากภาษาเขมรและไทย
อำเภอขลุง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Khlung |
เขื่อนคิรีธารในพื้นที่อำเภอขลุง | |
คำขวัญ: ผู้คนสามัคคี เมืองมีความสะอาด ธรรมชาติเขียวขจี มากมีกุ้งหอยปูปลา นานาผลไม้ ยิ่งใหญ่ป่าชายเลนลุ่มน้ำเวฬุ เขื่อนคิรีธาร แสนสำราญน้ำตกตรอกนอง | |
แผนที่จังหวัดจันทบุรี เน้นอำเภอขลุง | |
พิกัด: 12°27′17″N 102°13′17″E / 12.45472°N 102.22139°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | จันทบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 756.038 ตร.กม. (291.908 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 55,824 คน |
• ความหนาแน่น | 73.84 คน/ตร.กม. (191.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 22110, 22150 (เฉพาะตำบลบ่อเวฬุ) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 2202 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอขลุง เลขที่ 98 ถนนเทศบาลสาย 1 ตำบลขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี 22110 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอขลุงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดจันทบุรี ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 26.45 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 756.038 ตารางกิโลเมตร หรือ 742,523.75 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอโป่งน้ำร้อน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบ่อไร่และอำเภอเขาสมิง (จังหวัดตราด)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอแหลมงอบ (จังหวัดตราด) และอ่าวไทย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอแหลมสิงห์ อำเภอเมืองจันทบุรี และอำเภอมะขาม
ประวัติ
แก้สมัยรัชกาลที่ 5 ในช่วงปี พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) สยามเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสซึ่งทำให้ต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงไปโดยได้ตกลงทำสัญญาว่า ฝรั่งเศสจะยึดจันทบุรีไว้เป็นประกันนานถึง 11 ปีเศษ ในปี พ.ศ. 2440 (ร.ศ. 116) ได้มีการใช้พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ คือจัดตั้งอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านขึ้น ที่ทำงานของรัฐบาลในอำเภอเรียกว่า "ที่ว่าการอำเภอ" ซึ่งมีผลทำให้ขลุงจัดตั้งขึ้นเป็น อำเภอขลุง ในปี พ.ศ. 2441 (ร.ศ. 117)
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอขลุงแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 ตำบล 90 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ขลุง | (Khlung) | - | 7. | ซึ้ง | (Sueng) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||||||
2. | บ่อ | (Bo) | 10 หมู่บ้าน | 8. | มาบไพ | (Map Phai) | 6 หมู่บ้าน | ||||||||||||
3. | เกวียนหัก | (Kwian Hak) | 10 หมู่บ้าน | 9. | วังสรรพรส | (Wang Sappharot) | 9 หมู่บ้าน | ||||||||||||
4. | ตะปอน | (Tapon) | 6 หมู่บ้าน | 10. | ตรอกนอง | (Trok Nong) | 6 หมู่บ้าน | ||||||||||||
5. | บางชัน | (Bang Chan) | 6 หมู่บ้าน | 11. | ตกพรม | (Tok Phrom) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||||||
6. | วันยาว | (Wan Yao) | 8 หมู่บ้าน | 12. | บ่อเวฬุ [บ่อ-เวน] | (Bo Wen) | 7 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอขลุงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองขลุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขลุงทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบ่อเวฬุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อเวฬุทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลเกวียนหัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกวียนหักทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบ่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลตกพรม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตกพรมทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลวันยาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวันยาวทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลซึ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลซึ้งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตะปอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะปอนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางชัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางชันทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลมาบไพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมาบไพทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังสรรพรส ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังสรรพรสทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตรอกนอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตรอกนองทั้งตำบล
ภูมิประเทศ
แก้สภาพพื้นที่ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นรูปเรียวยาว มีทั้งส่วนที่เป็นภูเขา ที่ราบ และป่าชายเลน
- ภูเขา อยู่ในพื้นที่ตำบลบ่อเวฬุ ตำบลตรอกนอง มีลักษณะเป็นดอนสูง มีป่าและภูเขาอยู่ทั่วไป
- ที่ราบ อยู่ในพื้นที่ตำบลวังสรรพรส ตำบลมาบไพ ตำบลตะปอน ตำบลซึ้ง โดยที่ตำบลบางชันและตำบลบ่อติดชายฝั่งทะเล (อ่าวไทย)
- แม่น้ำ มีแม่น้ำที่สำคัญ คือ แม่น้ำเวฬุ ไหลจากทิศเหนือของอำเภอลงสู่ทะเลที่บ้านเกาะจิก ตำบลบางชัน นอกจากนี้ ยังมีคลองน้ำจืดไหลผ่านหลายตำบล เช่น คลองขลุง คลองซึ้ง คลองตะปอน คลองเกวียนหัก คลองตรอกนอง คลองมาบไพ คลองเขาอ่าง คลองมะกอก เป็นต้น
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้