สมชาย เพศประเสริฐ

พันตำรวจโท สมชาย เพศประเสริฐ อดีตตำรวจชาวไทยและอดีตนักการเมืองชาวไทย อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ[1][2][3] อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (แกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม อดีตโฆษกกระทรวงมหาดไทย และ อดีตสมาชิกพรรคมาตุภูมิ

สมชาย เพศประเสริฐ
รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
15 กันยายน พ.ศ. 2553 – เมษายน พ.ศ. 2554
รองหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ
ดำรงตำแหน่ง
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 ธันวาคม พ.ศ. 2492 (74 ปี)
อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2539–2543, 2565–2566, 2566–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ความหวังใหม่ (2535)
ชาติพัฒนา (2535–2538)
นำไทย (2538–2539)
ไทยรักไทย (2543–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2554)
มาตุภูมิ (2554–2561)
พลังประชารัฐ (2561,2562–2565)
เพื่อชาติ (2561–2562)
รวมไทยสร้างชาติ (2566)

ประวัติ

แก้

พ.ต.ท.สมชาย เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2492 (74 ปี) ที่อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา จบการศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยกานปู้ร์ ประเทศอินเดีย

การทำงาน

แก้

พ.ต.ท.สมชาย เคยรับราชการตำรวจ และได้ลาออกจากราชการในขณะที่มียศเป็นพันตำรวจโท จากนั้นจึงได้เข้าทำงานการเมือง ในปี พ.ศ. 2535 และดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง อาทิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประธานกรรมาธิการการทหาร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[4] เลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม และโฆษกกระทรวงมหาดไทย

พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ เคยเป็นกรรมการบริหารพรรคนำไทย ซึ่งนำโดย ดร.อำนวย วีรวรรณ เมื่อปี พ.ศ. 2538[5] และเขาเป็นสมาชิกกลุ่ม 16[6] ต่อมาจึงได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ ภายหลังได้เข้าร่วมกับพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทยตามลำดับ นอกจากนั้นยังได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2553[7] ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ได้ลาออกจากพรรคเพื่อไทย และไปร่วมงานกับพรรคมาตุภูมิ ของพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน[8] พ.ศ. 2561 เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ[9] และ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เขาได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริหารพรรคเพื่อชาติ โดยระบุเหตุผลในหนังสือลาออกว่า เนื่องจากอุดมการณ์ แนวคิดและวิธีการบริหารพรรคการเมืองที่แตกต่างกัน[10] แต่ในปี 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อชาติ[11] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

พ.ต.ท.สมชาย เคยเป็นสมาชิกกลุ่มพลังโคราช สังกัดพรรคพลังประชารัฐ[12] ต่อมาได้เข้าร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์[13] และพรรครวมไทยสร้างชาติตามลำดับ[14] แต่ในปี 2566 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. https://www.thaipost.net/main/detail/22569
  2. https://www.thairath.co.th/content/1428493
  3. https://www.naewna.com/politic/396812
  4. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 138/2539 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (พันตำรวจโท สมชาย เพศประเสริฐ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)
  5. ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคนำไทยเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 56ง วันที่ 13 กรกฎาคม 2538
  6. แหยงกลุ่ม 16 ไม่กล้าแตะ ‘ราเกซ’[ลิงก์เสีย]
  7. "คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-27. สืบค้นเมื่อ 2010-11-09.
  8. "พล.อ.สนธิ" ยืนยัน "พ.ต.ท.สมชาย" ร่วมงานกับพรรคมาตุภูมิแล้ว[ลิงก์เสีย]
  9. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเพื่อชาติ
  10. "สมชาย เพศประเสริฐ "ลาออก กก.บห.พรรคเพื่อชาติ
  11. 150ผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อชาติ เด็กจตุพร-ยงยุทธเพียบ
  12. พลังโคราชในปีกสามมิตร กองหนุน บิ๊กตู่-พลังประชารัฐ
  13. ประชาธิปัตย์ เปิดตัว 9 ผู้ท้าชิงเลือกตั้ง ส.ส. นครราชสีมา มั่นใจได้ที่นั่ง
  14. "ลูกย่าโมออกศึก "ประยุทธ์" ท้ารบ"อุ๊งอิ๊ง" ชิงปาดป้อม". คมชัดลึกออนไลน์. 2023-02-02.
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๐, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๘

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้