สงคราม กิจเลิศไพโรจน์

นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[1] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ และอดีตเหรัญญิกพรรคพลังประชาชน ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และเป็นอดีตหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ[2]

สงคราม กิจเลิศไพโรจน์
ป.ช., ป.ม.
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้า วิรุฬ เตชะไพบูลย์
บรรยิน ตั้งภากรณ์
พิเชษฐ์ ตันเจริญ
ถัดไป อลงกรณ์ พลบุตร
หัวหน้าพรรคเพื่อชาติ
ดำรงตำแหน่ง
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2564
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 15 มีนาคม พ.ศ. 2487 (79 ปี)
อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
พรรค ความหวังใหม่ (?–2544)
ไทยรักไทย (2544–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อชาติ (2561–2566)
เพื่อไทย (2556–2561),(2566-ปัจจุบัน)
คู่สมรส อรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์
ศาสนา พุทธ

ประวัติแก้ไข

นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน เกิดเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2487 ที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรคนที่ 4 ในบรรดาบุตร 5 คนของนายเล่งอี่ แซ่กิม กับ นางเซ้งฮวย แซ่ฉั่ว สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต จากสถาบันราชภัฏธนบุรี และนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ส่วนในระดับปริญญาโทอีก 2 ปริญญา ด้านบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการทั่วไป จากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย และรัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

การทำงานแก้ไข

นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ เป็นนักธุรกิจนำเข้าสินค้าของเด็กเล่นจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จนสามารถเปิดร้านผลิตของเล่นเป็นของตัวเองได้ที่ย่านสะพานควาย และได้ขยายกิจการเรื่อยมาจนได้ก่อตั้ง โรงงานมงกุฏทองผลิตภัณฑ์ เป็นที่มาของสินค้าที่มีเป็นที่รู้จักในชื่อ "ดรีมทอยส์" และ "ไทยทอยส์" และยังดำเนินธุรกิจห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียล อีกด้วย

งานการเมืองแก้ไข

ด้านงานการเมือง เคยเป็นที่ปรึกษาประธานรัฐสภา (ดร.โภคิน พลกุล) และที่ปรึกษาให้กับ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[3] ต่อมาได้ลงเล่นการเมือง ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสมุทรปราการ เขต 1 ได้รับตำแหน่งเหรัญญิกพรรคพลังประชาชน และรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[4] ในปี พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน[5]

เขาเคยเป็น 1 ใน 5 ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเชื่อมโยงกับการสนับสนุนเงินให้กับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน (นปช.)[6]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 89[7] แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ต่อมาเขาจัดตั้งพรรคการเมืองและดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อชาติ

ต่อมาเขาได้ลาออกากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ เนื่องจากก่อนหน้านั้นเขาได้ลงมติงดออกเสียงในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2564 กรณีร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า จนทำให้สมาชิกพรรคบางส่วนตำหนิ[8] ในวันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566 นายสงครามได้ลาออกจากการเป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อพร้อมกับนางสาวปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
  2. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเพื่อชาติ
  3. "นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-29. สืบค้นเมื่อ 2010-08-20.
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)
  5. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  6. "ส.-สงคราม" เสี่ยห้างดัง รวยเบาะๆ 200 ล้าน โยงรับเงิน"ทักษิณ"-ส่งท่อน้ำเลี้ยง "ม็อบแดง"?
  7. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  8. 'สงคราม' ไขก๊อกพ้นหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ
  9. “ชวน” แจ้งสภา ส.ส.ลาออกอีก 5 -ให้ถอดแมสก์ประชุมได้
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑