รองศาสตราจารย์ ดร.โภคิน พลกุล นักวิชาการและนักการเมืองชาวไทย ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศพรรคไทยสร้างไทย อดีตประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคด้านนโยบายและแผนงานของพรรคเพื่อไทย นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) อดีตรองประธานศาลปกครองสูงสุด อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร และ อดีตประธานรัฐสภา

รองศาสตราจารย์
โภคิน พลกุล
ม.ป.ช., ม.ว.ม., ป.ภ.
ประธานรัฐสภาไทย และ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
ดำรงตำแหน่ง
8 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
กษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้า อุทัย พิมพ์ใจชน
ถัดไป มีชัย ฤชุพันธุ์
(ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
10 มีนาคม พ.ศ. 2547 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้า วันมูหะมัดนอร์ มะทา
ถัดไป พลตำรวจเอก ดร.ชิดชัย วรรณสถิตย์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 15 เมษายน พ.ศ. 2495 (71 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรค ความหวังใหม่ (2533–2545)
ไทยรักไทย (2545–2550)
เพื่อไทย (2556–2564)
ไทยสร้างไทย (2564–ปัจจุบัน)
คู่สมรส นางรุ่งระวี พลกุล
ศาสนา พุทธ

ประวัติแก้ไข

โภคิน พลกุล (ชื่อเล่น อ้น) เกิดวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2495 ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายศรีกรุง พลกุล ซึ่งเป็นบุตรของเจ้าดวงพิกุล พลกุล (สกุลเดิม ณ เชียงใหม่) กับพลเรือตรี พระยาวินัยสุนทร (วิม พลกุล)[1] สืบทอดเชื้อสายเจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 (เป็นลำดับชั้นที่ 9 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์)

การศึกษาแก้ไข

โภคิน พลกุล จบการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2517 ในปีถัดมาได้ศึกษาจนสำเร็จเนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และปี พ.ศ. 2520 จบประกาศนียบัตรชั้นสูง กฎหมายมหาชน จากมหาวิทยาลัยปารีส 2 ประเทศฝรั่งเศส อีกสองปีถัดจากนั้นก็ได้สำเร็จประกาศนียบัตรชั้นสูง ความรู้เกี่ยวกับโลกที่สาม และ พ.ศ. 2523 สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก กฎหมายมหาชน จากมหาวิทยาลัยแห่งเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2525

การทำงานแก้ไข

งานราชการแก้ไข

หลังจากจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2517 นายโภคิน ได้เข้ารับราชการเป็นนายเวร สังกัดกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ได้โอนมารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2525 และเป็นรองศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2529 ในด้านการบริหาร ได้รับแต่งตั้งเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2532 ถึงปี พ.ศ. 2534 และในปี พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2538 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการบัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

งานการเมืองแก้ไข

ต่อมาได้ลาออกมารับตำแหน่งทางการเมือง เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[2] ในรัฐบาลบรรหาร และรัฐบาลชวลิต และต่อมาเข้าทำงานด้านตุลาการในปี พ.ศ. 2543 - 2545 เป็นรองประธานศาลปกครองสูงสุด จากนั้นได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคความหวังใหม่ และพรรคไทยรักไทยตามลำดับ

ในรัฐบาลของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต่อมาได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎร และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2548 จนกระทั่งมีการยุบสภาในปี พ.ศ. 2549

ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[3]

ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เขาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ต่อมาได้ขอลาออกจากตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2557[4]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 11[5]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 8[6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

การดำรงตำแหน่งอื่นๆแก้ไข

  • เลขาธิการสมาคมกฎหมายมหาชนแห่งประเทศไทย
  • นายกสมาคมกฎหมายมหาชนแห่งประเทศไทย
  • ประธานสมาพันธ์สัตว์ปีกสวยงามแห่งประเทศไทย
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่ เป็น นายกองใหญ่ โภคิน พลกุล[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยแก้ไข

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. รายพระนาม นาม เหล่าพระประยูรญาติ และเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  3. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้าราชการการเมืองลาออกจากตำแหน่ง (นายโภคิน พลกุล)
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  6. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  7. ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอน ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ให้แก่บุคคลที่ช่วยเหลือผู้ประสบธรณีพิบัติภัย “สึนามิ”, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2013-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๒, ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗
ก่อนหน้า โภคิน พลกุล ถัดไป
อุทัย พิมพ์ใจชน    
ประธานรัฐสภา
(ประธานสภาผู้แทนราษฎร)

(8 มีนาคม พ.ศ. 2548 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549)
  มีชัย ฤชุพันธุ์