คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยรามคำแหง กระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดตั้งขึ้นพร้อมกับมหาวิทยาลัยรามคำแหงอาศัยข้อบังคับและพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของประเทศไทยในอดีตและต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ได้ตอบสนองความต้องการของคนในสังคมด้วยการเปิดโอกาสทางการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้อย่างมีคุณธรรมเพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ปัจจุบันคงเปิดดำเนินการและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลตอบรับที่ดีและการปรับตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
![]() | |
ชื่ออังกฤษ | Faculty of Law Ramkhamhaeng University |
---|---|
ที่อยู่ | 2086 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 |
วันก่อตั้ง | 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 |
คณบดี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บุญชาล ทองประยูร (รักษาราชการแทน)[1] |
วารสาร | วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์ |
สีประจําคณะ | สีขาว |
เว็บไซต์ | http://www.law.ru.ac.th |
เฟซบุ๊ก | https://www.facebook.com/rulawofficial/?fref=ts |
ประวัติแก้ไข
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อตั้งขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2514 โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหงตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 88 ตอน 24 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2514 โดยใช้อาคารสถานที่จัดนิทรรศการของงานแสดงสินค้านานาชาติ ตำบลหัวหมาก เป็นสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยชั่วคราว และมหาวิทยาลัยอนุมัติให้ใช้อาคารกลางน้ำ (ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงเป็นที่ทำการสภาอาจารย์) ให้เป็นสถานที่ทำการของคณะนิติศาสตร์ ต่อมารัฐบาลอนุมัติให้สถานที่ตั้งชั่วคราวเป็นสถานที่ตั้งถาวรของมหาวิทยาลัย คณะนิติศาสตร์จึงได้รับอนุมัติให้สร้างอาคารที่ทำการถาวร คือ อาคาร LOB (Law Office Building) ปัจจุบัน คือ อาคารคณะนิติศาสตร์ และต่อมาได้รับงบประมาณเพิ่มเติมทางคณะจึงได้ทำการสร้างอาคารอีกหลัง คือ อาคาร LOB 2 (Law Office Building) ปัจจุบันอาคารนี้ตั้งอยู่เคียงข้างกับอาคารคณะนิติศาสตร์เดิม
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้จัดการศึกษาโดยแบบการศึกษาเปิดแบบตลาดวิชา ให้โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ทุกคนที่ใฝ่หาความรู้ จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว โดยมีผู้สมัครเข้าเป็นนักศึกษาหลายแสนคนและได้ผลิตบัณฑิตนิติศาสตร์ออกไปรับใช้สังคมแล้วมากมาย บัณฑิตเหล่านี้ได้กระจายอยู่ตามหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐและเอกชน ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ยอมรับทั้งในด้านคุณภาพและความสามารถในการปฏิบัติงาน ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ได้สร้างชื่อเสียงเกียรติคุณแก่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงด้วยดีเสมอมา
โครงสร้างคณะแก้ไข
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มีการจัดแบ่งส่วนราชการและการจัดการบริหารงานภายในองค์กร ดังนี้
คณะนิติศาสตร์
- ภาควิชากฎหมายทั่วไป
- ภาควิชากฎหมายแพ่ง
- ภาควิชากฎหมายพาณิชย์
- ภาควิชากฎหมายมหาชน
- ภาควิชากฎหมายวิธีสบัญญัติ
- ภาควิชากฎหมายเพื่อการพัฒนา
- ภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศ
- สำนักงานเลขานุการคณะนิติศาสตร์
- สำนักงานบัณฑิตศึกษา
- โครงการหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคพิเศษ
คณาจารย์แก้ไข
ปัจจุบันคณะนิติศาสตร์มีคณาจารย์ทั้งสิ้น 66 คน แบ่งตามตำแหน่งทางวิชาการดังต่อไปนี้
- รองศาสตราจารย์ จำนวน 33 คน
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 13 คน
- อาจารย์ จำนวน 20 คน
ทำเนียบคณบดีแก้ไข
รายนามคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้
คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง | |
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. ศ.สง่า ลีนะสมิต | พ.ศ. 2514 – พ.ศ. 2518 |
2. รศ.ดร.สมศักดิ์ สิงหพันธุ์ | พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2519 |
3. ศาสตราจารย์ ดร.วารี นาสกุล | พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2522 |
4. รศ.สัญชัย สัจจวานิช | พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2526 |
5. รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล | พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2530 |
6. รศ.พูนศักดิ์ วรรณพงษ์ | พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2534 |
7. รศ.พรชัย สุนทรพันธุ์ | พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2537 |
8. รศ.จรัล เล็งวิทยา | พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2553 (รักษาการ) |
9. รศ.ประเสริฐ ตัณศิริ | พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2547 |
10. รศ.สุขสมัย สุทธิบดี (รักษาการ) | พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2549 |
11. รศ.ทองสุก กรัณยพัฒนพงศ์ | พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2557 |
12. ผศ.ดร.วิณัฏฐา แสงสุข | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561 |
13. รศ.ประโมทย์ จารุนิล (ปฏิบัติราชการแทนและรักษาการ) | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 - 30 เมษายน พ.ศ. 2562[2] |
14. อาจารย์ ดร. มนตรี กวีนัฏยานนท์ (รักษาการ) | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2562 |
15. ผศ.ดร. บุญชาล ทองประยูร (รักษาการ) | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2562 - 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (รักษาการ) 3 กันยายน พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน (รักษาการ)[3] |
16. รศ.สุวรรณี เดชวรชัย (รักษาการ) | 20 ธันวาคม พ.ศ. 2562 - 14 มกราคม พ.ศ. 2563 |
17. ผศ.สาธิน สุนทรพันธุ์ (รักษาการ) | 15 มกราคม พ.ศ. 2563 - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 |
18. รศ.เริงรณ ล้อมลาย (รักษาการ) | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 - 2 กันยายน พ.ศ. 2563[4][5] |
การเรียนการสอนแก้ไข
หลักสูตรการศึกษาแก้ไข
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดการศึกษาโดยใช้แบบการศึกษาเปิดแบบตลาดวิชา ให้โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ทุกคนที่ใฝ่หาความรู้ เปิดทำการเรียนการสอนใน 4 หลักสูตร อนุปริญญา 1 หลักสูตร และหลักสูตรปริญญาอีก 3 หลักสูตร ดังต่อไปนี้
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (นบ.) |
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (นม.) |
หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต (นด.) |
การบรรยายแก้ไข
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้วางแนวทางในการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับการเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา โดยการบรรยายในชั้นเรียนนั้น จะไม่มีการบังคับให้เข้าชั้นเรียนแต่ประการใด และแบ่งการบรรยายเป็น 2 SECTION ในวิชาที่เป็นวิชาบังคับ โดยที่นักศึกษาจะเข้า SECTION ใดก็ได้ ตามที่ตนสะดวก อีกทั้งนักศึกษาที่ไม่สะดวกเข้าเรียนก็สามารถศึกษาทางไกล โดยศึกษาผ่านการดูถ่ายทอดสดการบรรยาย(RU Cyber Class Room) วิดีโอคำบรรยายย้อนหลัง(RU Course On Demand) หรืออ่านจากตำราเรียนของมหาวิทยาลัยก็ได้
รายนามบุคคลที่มีชื่อเสียงจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงแก้ไข
- นายกองใหญ่ บรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 21
- ร้อยตรี นายกองใหญ่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 27
- ทวิช กลิ่นประทุม อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- พินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- ชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกาคนที่ 44 และนายกสภามหาวิทยาลัยรามคำแหงท่านปัจจุบัน
- ธนฤกษ์ นิติเศรณี ประธานศาลอุทธรณ์
- ชัยยุทธ ศรีจำนงค์ ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลฎีกา
- นพพร โพธิรังสิยากร ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
- สราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
- ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์ ผู้ช่วยพิพากษาศาลฎีกา เลขาธิการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- วิวัฒน์ ว่องวิวัฒน์ไวทยะ ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ลำดับที่ 1 เนติบัณฑิต สมัยที่ 52
- ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ร้อยตำรวจเอก นายกองใหญ่ ดร.เฉลิม อยู่บำรุง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- รองศาสตราจารย์ ดร.โภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภา
- เจริญ จรรย์โกมล อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
- ดร.วราเทพ รัตนากร อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
- วุฒิพงศ์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- อนุรักษ์ จุรีมาศ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- ประเสริฐ บุญชัยสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นายกองเอก สิทธิชัย โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายกองเอก[11]บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายกองเอก[12]วิสาร เตชะธีราวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- เฉลิมชัย ศรีอ่อน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
- นายกองเอก[13]สุรชัย ศรีสารคาม อดีตปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- สมชาย นีละไพจิตร ทนายความ / นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน
- พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
- พล.ต.อ.ดร.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ศาสตราจารย์ พลตำรวจโทหญิง ดร.นัยนา เกิดวิชัย อดีตคณบดีคณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- นายกองเอก เจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยเบฟเวอร์เรจ จำกัด (มหาชน)
- นิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)
- ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช กรรมการสภาทนายความ
- อาจารย์ วันชัย สอนศิริ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- ไตรภพ ลิมปพัทธ์ พิธีกรรายการโทรทัศน์ / ประธานกรรมการบริษัท บอร์น แอนด์ แอสโซซิเอทด์ จำกัด
- ณัฐวรา วงศ์วาสนา (มี้นท์) ดารานักแสดงชาวไทย
- อานุภาพ ใจแสน ลำดับที่1 เนติบัณฑิต สมัยที่ 43
- วิญญู พิชัย ลำดับที่1 เนติบัณฑิต สมัยที่ 47
- เอก ขำอินทร์ ลำดับที่1 เนติบัณฑิต สมัยที่ 53
- ภัทรา อยู่สำราญสุข ลำดับที่1 เนติบัณฑิต สมัยที่ 54
- ลีนา จังจรรจา นักธุรกิจ ทนายความ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง
- นิติธร ล้ำเหลือ ทนายความแห่งสภาทนายความแห่งประเทศไทย
สัญลักษณ์แก้ไข
- ตรา - เป็นรูปศิลาจารึก เพื่อระลึกถึงพ่อขุนรามคำแหงผู้ประดิษฐ์อักษรไทย
- สี - สีขาวเป็นสีประจำคณะนิติศาสตร์ เป็นสัญลักษณ์ถึงความสะอาดบริสุทธิ์และอวมลทิน ทั้งนี้ ชุดครุยคณะนิติศาสตร๋ใช้แถบสีขาวเป็นแถบครุย
- สัญลักษณ์ - ตราชูหรือดุลพ่าห์เป็นสัญลักษณ์อยู่บริเวณด้านหน้าของศิลาจารึกของพ่อขุน หมายถึงความยุติธรรม เที่ยงธรรม และมีคุณธรรม
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ คณะผู้บริหาร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ↑ คู่มือแนะแนวการศึกษา คณะนิติศาสตร์ ปีการศึกษา 2563
- ↑ ผลประชุมสภามหาวิทยาลัย
- ↑ [1]
- ↑ ผลประชุมสภามหาวิทยาลัย
- ↑ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง พุทธศักราช 2563 (สำหรับนักศึกษาส่วนกลาง รหัสนักศึกษาขึ้นต้น 63 เป็นต้นไป)
- ↑ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง พุทธศักราช 2563 (สำหรับนักศึกษาส่วนภูมิภาค รหัสนักศึกษาขึ้นต้น 63 เป็นต้นไป)
- ↑ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง พุทธศักราช 2560 (สำหรับนักศึกษาส่วนกลาง รหัสนักศึกษาขึ้นต้น 60-62)
- ↑ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง พุทธศักราช 2560 (สำหรับนักศึกษาส่วนภูมิภาค รหัสนักศึกษาขึ้นต้น 60-62)
- ↑ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง พุทธศักราช 2560
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็นกรณีพิเศษ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126, ตอนที่ 8 ข, 27 เมษายน พ.ศ. 2552, หน้า 15
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็นกรณีพิเศษ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130, ตอนที่ 20 ข, 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556, หน้า 21
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123, ตอนที่ 18 ข, 11 กันยายน พ.ศ. 2549, หน้า 7