วุฒิพงศ์ ฉายแสง

นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลของสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นน้องชายของนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย

วุฒิพงศ์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้ายงยุทธ ยุทธวงศ์
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ถัดไปดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 สิงหาคม พ.ศ. 2502 (64 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2544–2549)
พลังประชาชน (2549–2551)
เพื่อไทย (2551–2561, 2564–ปัจจุบัน)
ไทยรักษาชาติ (2561–2562)
คู่สมรสนันทิภา ฉายแสง

ประวัติ แก้

นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง มีชื่อเล่นว่า โก้ เกิดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2502 ที่ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรของนายอนันต์ ฉายแสง กับนางเฉลียว ฉายแสง เป็นน้องชายของนายจาตุรนต์ ฉายแสง และเป็นพี่ชายของนางฐิติมา ฉายแสง[1] สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วุฒิพงศ์ สมรสกับนันทิภา ฉายแสง มีบุตร 1 คน[1]ชื่อ นายภูมิพัฒน์ ฉายแสง

การทำงาน แก้

นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง เคยดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2528 ต่อมาได้หันไปประกอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ และด้านเกษตร[2]

ในด้านการเมืองเคยลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2539 และเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2539 ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย

ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และได้รับตำแหน่งดังกล่าวต่อเนื่องในรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[3] อีกสมัย ซึ่งสื่อมวลได้วิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการตอบแทนนายจาตุรนต์ ฉายแสง ที่คอยเป็นหัวหมู่ให้พรรคไทยรักไทยตลอดมา[4]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่แพ้ให้กับ พล.ต.ท.พิทักษ์ จารุสมบัติ จากพรรคประชาธิปัตย์[5] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ)[6]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 วุฒิพงศ์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ แต่พรรคถูกยุบเสียก่อน จึงทำให้หมดสิทธิ์ในการลงเลือกตั้ง โดยให้สัมภาษณ์ว่า ทันทีที่ทราบว่าพรรคถูกยุบ ตนก็ประกาศสนับสนุนพรรคอนาคตใหม่ทันที และจะเดินหน้าช่วยอย่างเต็มที่เพื่อช่วยฝ่ายประชาธิปไตย เพราะมีอุดมการณ์เดียวกัน คือไม่เอาการสืบทอดอำนาจ[7] ก่อนจะกลับเข้าพรรคเพื่อไทยในเวลาต่อมา

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 วุฒิพงศ์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

วุฒิพงษ์ ฉายแสง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคไทยรักไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคไทยรักไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคพลังประชาชนพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายวุฒิพงศ์ ฉายแสง[ลิงก์เสีย]ยื่นต่อ ป.ป.ช. เมื่อ 10 พ.ค. 2554
  2. ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-05.
  4. จตุรนต์ ฉายแสง คอยสนับสนุนพรรคไทยรักไทยมาโดยตลอด
  5. เลือกตั้งแปดริ้วล้มยักษ์ ตระกูลฉายแสง-ตันเจริญปราชัย เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนมติชน
  6. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 170/2555 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
  7. https://www.matichon.co.th/politics/news_1401102
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๕, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
ก่อนหน้า วุฒิพงศ์ ฉายแสง ถัดไป
ยงยุทธ ยุทธวงศ์    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ครม. 57, 58)
(6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 9 กันยายน พ.ศ. 2551, 24 กันยายน พ.ศ. 2551 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
  คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช