ประเสริฐ บุญชัยสุข

ประเสริฐ บุญชัยสุข เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคชาติพัฒนา เคยเป็นประธานคณะกรรมาธิการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24 และเป็นนายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา

ประเสริฐ บุญชัยสุข
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์
ถัดไปจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 (67 ปี)
จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย
พรรคการเมืองชาติพัฒนากล้า
คู่สมรสคู่ขวัญ บุญชัยสุข

ประวัติ

แก้

ประเสริฐ บุญชัยสุข เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 ที่อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์[1] เป็นบุตรของมาโนช กับเหรียญ บุญชัยสุข[2] สำเร็จการศึกษาสาขาพาณิชยกรรม จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตนครราชสีมา ปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ชีวิตครอบครัวสมรสกับคู่ขวัญ บุญชัยสุข อดีตผู้อำนวยการกองวิชาการและแผนงาน เทศบาลนครนครราชสีมา มีบุตร 2 คน[2]

การทำงาน

แก้

ประเสริฐ บุญชัยสุข ประกอบอาชีพทนายความ มีสำนักงานชื่อว่า "สำนักงานกฎหมายประเสริฐ บุญชัยสุข" ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองนครราชสีมา[2] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) 2 สมัย และเคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (สุวัจน์ ลิปตพัลลภ) ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคชาติพัฒนา แต่แพ้ให้กับประกิจ พลเดช จากพรรคไทยรักไทย[3] ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งอีกใน พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2554

ประเสริฐ บุญชัยสุข ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมาธิการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2554 ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[4] (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3)

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคชาติพัฒนา แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]กรมการปกครอง
  2. 2.0 2.1 2.2 บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายประเสริฐ บุญชัยสุข[ลิงก์เสีย]
  3. “ประเสริฐ”ส.ส.ใหม่โคราชเด็กปั้นอีกคนของ‘สุวัจน์’[ลิงก์เสีย]
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3)
  5. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
ก่อนหน้า ประเสริฐ บุญชัยสุข ถัดไป
หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (ครม. 60)
(28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
  จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช
ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์    
เลขาธิการพรรคชาติพัฒนา
(15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 – 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561)
  ดล เหตระกูล