อำเภอหนองกี่

อำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย

หนองกี่ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ ในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอนางรอง เป็นอำเภอที่มีอุตสาหกรรมมากที่สุดในจังหวัด

อำเภอหนองกี่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Nong Ki
หาดปราสาททอง
หาดปราสาททอง
คำขวัญ: 
ถิ่นมวยดัง ไก่ย่างรสดี มากมีผ้าไหม หลากหลายวัฒนธรรม ธรรมชาติเลิศล้ำเขื่อนห้วยยางและทุ่งกระเต็น
แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์ เน้นอำเภอหนองกี่
แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์ เน้นอำเภอหนองกี่
พิกัด: 14°41′18″N 102°32′0″E / 14.68833°N 102.53333°E / 14.68833; 102.53333
ประเทศ ไทย
จังหวัดบุรีรัมย์
พื้นที่
 • ทั้งหมด385.0 ตร.กม. (148.6 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด70,483 คน
 • ความหนาแน่น183.07 คน/ตร.กม. (474.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 31210
รหัสภูมิศาสตร์3105
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอหนองกี่ ถนนโชคชัย-เดชอุดม ตำบลทุ่งกระตาดพัฒนา อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ 31210
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

แก้

อำเภอหนองกี่ เดิมเป็นพื้นที่อยู่ในเขตการปกครอง อำเภอนางรอง กระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งเป็นกิ่งอำเภอหนองกี่ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2517 ขณะนั้นแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองกี่ ตำบลเย้ยปราสาท ตำบลหนองไผ่ ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2522

ตำนานเล่ากันว่านางอรพิมพ์ สาวงามแห่งเมืองพิมายออกเดินทางมาหาคนรักชื่อปราจิต ซึ่งท้าวพรหมทัต เจ้าเมืองพิมายขี้เมากลั่นแกล้งสั่งให้ออกรบทัพจับศึกชายแดนเขมร โดยออกเดินทางมาเป็นเวลาแรมคืน พอถึงลำน้ำมูลนางอรพิมพ์ได้อาศัยเรือของสามเณร สามเณรพอใจหลงรักไม่ส่งขึ้นฝั่ง จึงลอยเรือต่อไปจนกระทั่งถึงต้นมะเดื่อริมน้ำ นางอรพิมพ์หิวกระหาย จึงพยายามขอร้องสามเณรเก็บให้กิน เมื่อสามเณรขึ้นต้นมะเดื่อนางอรพิมพ์ จึงหาหนามและมดแดงวางขวางปิดกั้นทางลง และรีบพายเรือหนี เมื่อขึ้นฝั่งมาถึงหนองน้ำใหญ่ได้เข้าไปขออาศัยอยู่กับชาวไร่ชาวป่าเพื่อพักพิง นางอรพิมพ์คิดว่าเดินทางคนเดียวคงไม่ปลอดภัย จึงได้ขอบริจาคผ้าขาวจากชาวไร่ ชาวป่า เพื่อมาทอเป็นผ้าขาวเตรียมตัวบวชริมหนองน้ำ ชื่อว่า " หนองกี่ " และเป็นชื่อบ้านหนองกี่ อำเภอหนองกี่ในปัจจุบัน ต่อมามีเรื่องเล่าขานกันว่า ที่หนองน้ำหนองกี่ จะมีปรากฏการณ์อภินิหารมีกี่ทอง (เสากี่ทอง) ลอยขึ้นมากลางหนองน้ำในวันเพ็ญหรือวันพระสำคัญๆ สักครู่หนึ่งและจมหายไป

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอหนองกี่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอหนองกี่แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 108 หมู่บ้าน

1. หนองกี่ (Nong Ki) 8 หมู่บ้าน 6. ทุ่งกระตาดพัฒนา (Thung Kratat Phatthana) 12 หมู่บ้าน
2. เย้ยปราสาท (Yoei Prasat) 10 หมู่บ้าน 7. ทุ่งกระเต็น (Thung Kraten) 9 หมู่บ้าน
3. เมืองไผ่ (Mueang Phai) 18 หมู่บ้าน 8. ท่าโพธิ์ชัย (Tha Pho Chai) 9 หมู่บ้าน
4. ดอนอะราง (Don Arang) 15 หมู่บ้าน 9. โคกสูง (Khok Sung) 8 หมู่บ้าน
5. โคกสว่าง (Khok Sawang) 9 หมู่บ้าน 10. บุกระสัง (Bu Krasang) 10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอหนองกี่ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลหนองกี่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองกี่ ตำบลทุ่งกระตาดพัฒนา และตำบลทุ่งกระเต็น
  • เทศบาลตำบลศาลเจ้าพ่อขุนศรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกี่ (นอกเขตเทศบาลตำบลหนองกี่)
  • เทศบาลตำบลดอนอะราง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนอะรางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเย้ยปราสาท ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเย้ยปราสาททั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองไผ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกสว่างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกระตาดพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งกระตาดพัฒนา (นอกเขตเทศบาลตำบลหนองกี่)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกระเต็น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งกระเต็น (นอกเขตเทศบาลตำบลหนองกี่)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าโพธิ์ชัยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสูง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกสูงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบุกระสัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบุกระสังทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้
  • หาดปราสาททอง หรือ อ่างเก็บน้ำทุ่งกระเต็น ตั้งอยู่หน้าองค์การบริหารส่วนตำบลเย้ยปราสาท ระยะห่างระหว่างขอบสระถึงเกาะกลาง 250 เมตร เนื้อที่ 2450 ไร่ หาด ปราสาททอง ยังเหมาะแก่การปั่นจักรยานรอบ ๆ อ่างเก็บน้ำ โดยรวมของระยะทางทั้งหมด เกือบ 10 กิโลเมตร ที่พิเศษกว่านั้น ยังเป็นสถานที่ฝึกซ้อมกีฬาทางน้ำ เช่นเจ็ทสกี ระยะทางฝึกซ้อมและการแข่งขัน 9.3 กิโลเมตร

งานประเพณี

แก้
  • สืบสานประเพณีบุญบั้งไฟ ช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน ของทุกปี
  • มหกรรมมวยไทยเทศกาลกินไก่ไหว้เจ้าพ่อขุนศรี ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี