ดล เหตระกูล
ดล เหตระกูล เป็นนักการเมืองชาวไทย เป็นรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา[1] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และเป็นอดีตเลขาธิการพรรคชาติพัฒนา
ดล เหตระกูล | |
---|---|
![]() | |
เลขาธิการพรรคชาติพัฒนา | |
ดำรงตำแหน่ง 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2563 | |
ก่อนหน้า | ประเสริฐ บุญชัยสุข |
ถัดไป | วัชรพล โตมรศักดิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 |
พรรคการเมือง | ชาติพัฒนา |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติแก้ไข
ดล เหตระกูล เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 เป็นบุตรของนายประชา เหตระกูล กับ ดร.ปรียาพร เหตระกูล เจ้าของธุรกิจหนังสือพิมพ์เดลินิวส์[2] มีพี่น้อง 3 คน คือ ดอม เหตระกูล ดล เหตระกูล และแดน เหตระกูล[3] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (การบริหารธุรกิจ) จากมหาวิทยาลัยมหิดล
การทำงานแก้ไข
ดล เหตระกูล เป็นนักธุรกิจชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร IRPC ต่อมาได้เข้าร่วมทำงานการเมืองกับพรรคชาติพัฒนา ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค ปัจจุบันเป็นรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา
ตำแหน่งทางการเมือง เคยได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) ในปี 2547 [4]
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายประเสริฐ บุญชัยสุข) ในปี 2555 [5]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 2 ของพรรคชาติพัฒนา และเขาได้ทำหน้าที่ในคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ต่อมาได้ลาออกจากหน้าที่ดังกล่าว[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[7]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[8]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "เทวัญ" หวนนั่งหัวหน้าชพน. ด้าน "ดล เหตระกูล" เป็นรองหน
- ↑ "เหตระกูล" ชื่อแห่งตำนาน "เดลินิวส์"
- ↑ แดน เหตระกูล - HELLO! Magazine Thailand
- ↑ soc.soc.go.th http://soc.soc.go.th/SLK/showlist3.asp?pagecode=24794&pdate=2004/07/16&pno=1&pagegroup=1. Missing or empty
|title=
(help) - ↑ คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้งผู้ช่วย-เลขาฯ-ที่ปรึกษารัฐมนตรีอุตสาหกรรม
- ↑ “ไพบูลย์” จ่อนั่งกมธ.ปราบโกง หลัง “ดล เหตระกูล” ลาออก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๐, ๔ มกราคม ๒๕๖๔