พรรคไทยสร้างไทย
พรรคไทยสร้างไทย (ย่อ: ทสท.) พรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งเป็นลำดับที่ 3/2564 เมื่อวันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 โดยมีนาย สอิสร์ โบราณ และนาย วัลลภ ไชยไธสง เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรก มีที่ทำการพรรคอยู่ที่ 132/2 หมู่ 16 ถนนเจนจบทิศ ตำบลหนองสองห้อง อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น[4] ต่อมาได้ย้ายที่ทำการพรรคมาอยู่ที่ 54/1 ซอยลาดปลาเค้า 60 ถนนลาดปลาเค้า แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร[5] กระทั่งวันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 9 นาฬิกา 19 นาที จึงได้ทำการยกเสาเอกเพื่อก่อสร้างที่ทำการสำนักงานใหญ่ของพรรคไทยสร้างไทย ย่านถนนเทิดราชัน แขวงสีกัน เขตดอนเมือง[6][7]
ประวัติ แก้
พรรคไทยสร้างไทยเป็นพรรคการเมืองที่พัฒนามาจาก กลุ่มไทยสร้างไทย กลุ่มการเมืองที่มี คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์เป็นแกนนำ ได้ส่งผู้สมัครลงรับสมัครเลือกตั้งครั้งแรกใน การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565[8] อย่างไรก็ตาม สมาชิกพรรคบางส่วนได้ย้ายกลับไปสังกัดพรรคเพื่อไทย[9][10]
ในวันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2565 พรรคไทยสร้างไทยได้เตรียมจัดประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1/2565 ที่ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ โดยมีวาระการประชุมที่สำคัญคือการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 50 คนแทนชุดเก่าจำนวน 8 คนที่พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะเนื่องจากนายสอิสร์ โบราณ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคกลางที่ประชุม พร้อมกับแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค โดยยกเลิกฉบับปี 2564 ทั้งฉบับและใช้ฉบับปี 2565 แทนโดยทำการเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์พรรค ย้ายที่ทำการพรรคมาอยู่ที่ทำการพรรคในปัจจุบันคือ 54/1 ซอยลาดปลาเค้า 60 ถนนลาดปลาเค้า แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน รวมถึงอุดมการณ์และนโยบายพรรค โดยมีกระแสข่าวว่า คุณหญิงสุดารัตน์ ซึ่งเป็นประธานพรรคจะเป็นหัวหน้าพรรค นาวาอากาศตรีศิธา ทิวารี จะเป็นเลขาธิการพรรค[11] ซึ่งที่ประชุมมติเลือก คุณหญิงสุดารัตน์ เป็นหัวหน้าพรรค และ นาวาอากาศตรีศิธา เป็นเลขาธิการพรรคตามกระแสข่าว[12][13]
วันที่ 24 มกราคม 2566 พ.ต.ท กุลธน ประจวบเหมาะ รองหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย เปิดตัว ส.ส.เขตตะวันตก ราชบุรี-กาญจนบุรี-ประจวบ-สุพรรณบุรึ ซึ่งบางส่วนย้ายมาจากพรรคเพื่อไทย[14][15] ต่อมาในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566 พรรคไทยสร้างไทยได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคแทนตำแหน่งที่ว่างพร้อมกับยกเลิกข้อบังคับพรรคฉบับปี 2565 ทั้งฉบับและประกาศใช้ข้อบังคับพรรคฉบับปี 2566 แทน ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกฐากร ตัณฑสิทธิ์ อดีตเลขาธิการกสทช. เป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่แทนนาวาอากาศตรีศิธาที่ลาออกจากตำแหน่งเพื่อไปลงสมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในนามของพรรค นอกจากนี้ยังมีมติเลือกนายดล เหตระกูล อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้าที่ย้ายมาสังกัดพรรคไทยสร้างไทยเป็นรองหัวหน้าพรรค[16][17]
บุคลากรภายในพรรค แก้
หัวหน้าพรรค แก้
ลำดับ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | ตำแหน่งสำคัญ |
1 | สอิสร์ โบราณ | 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 | 9 กันยายน พ.ศ. 2565 | ||
2 | คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ | 9 กันยายน พ.ศ. 2565 | ปัจจุบัน |
เลขาธิการพรรค แก้
ลำดับ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | ตำแหน่งสำคัญ |
1 | วัลลภ ไชยไธสง | 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 | 9 กันยายน พ.ศ. 2565 | ||
2 | นาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี | 9 กันยายน พ.ศ. 2565 | 31 มีนาคม พ.ศ. 2566 |
| |
3 | ฐากร ตัณฑสิทธิ์ | 31 มีนาคม พ.ศ. 2566 | ปัจจุบัน |
คณะกรรมการบริหารพรรค แก้
บทบาททางการเมือง แก้
พรรคไทยสร้างไทย เริ่มดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2564 โดยจัดกิจกรรมปล่อยขบวนคาราวาน “สร้างไทย 77 จังหวัด” เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2564[21] รวมถึงการเปิดตัวนโยบายต่างๆ อาทิ นโยบายบำนาญประชาชน[22] กระทั่งวันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2565 ได้มีรายงานข่าวว่าทางพรรคไทยสร้างไทยตัดสินใจส่งนาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี ลงชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมกับเปิดตัวผู้สมัคร ส.ก. ทั้ง 50 เขตในวันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565[23]
ในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565 พรรคไทยสร้างไทยได้เปิดตัว นาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี เป็นว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ทั้ง 50 คน[8] จากการเลือกตั้งครั้งดังกล่าว พรรคไทยสร้างไทยได้ที่นั่ง ส.ก. 2 ที่นั่ง[24]
ในเดือนกรกฎาคม 2565 หลังมีข่าวสมาชิกพรรคหลายคนย้ายกลับไปสังกัดพรรคเพื่อไทย[9][10] คุณหญิงสุดารัตน์แถลงว่า ไม่เป็นปัญหา และจะเดินหน้าผลักดันร่างพระราชบัญญัติบำนาญประชาชนต่อไป[25]
28 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ได้มีกระแสข่าวว่าพรรคสร้างอนาคตไทยและพรรคไทยสร้างไทย นัดแถลงข่าวเพื่อประกาศการรวมพรรคในวันถัดมา[26] การแถลงข่าวในวันนั้นมีผลสรุปคือ ทั้งสองพรรคตกลงร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมืองระหว่างกัน แต่ยังไม่มีการควบรวมพรรคแต่ประการใด[27]โดยเหตุผลหลักคือเงื่อนไขทางกฎหมาย จึงไม่สามารถควบรวมพรรคได้ในขณะนั้น รวมไปถึงการตกลงเรื่องตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคที่ยังไม่ลงตัว[28]
ในเดือนมกราคม 2566 มีการประกาศชื่อสมาชิกเพื่อไทยบางส่วนย้ายมาพรรคไทยสร้างไทย ได้แก่ พันธ์ศักดิ์ เพชรพิทักษ์ชน อดีต สส.พรรคเสรีรวมไทย[29] ประจวบคีรีขันธ์ [30] อนุดิษฐ์ นาครทรรพ อดีต สส เพื่อไทย เขตสายไหม [31] [32][33] การุณ โหสกุล อดีต สส เพื่อไทย เขตดอนเมือง [34]
21 กรกฎาคม พรรคก้าวไกลประกาศให้สิทธิ์การเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแก่พรรคเพื่อไทย หลังจากไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่ก็ได้มีการยุติบันทึกความเข้าใจของ 8 พรรคร่วม พรรคไทยสร้างไทยจึงประกาศจุดยืนว่า จะไม่มีการสลับขั้ว ไม่ย้ายฝั่ง และไม่เป็นที่เหยียบยืนให้กับเผด็จการอย่างเด็ดขาด เพื่อที่จะยุติการสืบทอดอำนาจของระบบเผด็จการ และจะเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญคืนอำนาจให้ประชาชน จากการเลือกตั้ง ส.ส.ร. ซึ่งพรรคได้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่สภาแล้ว โดยจะไม่แก้ไขหมวด 1 และหมวด 2[35]
5 ตุลาคม 2566 คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวขอบคุณพรรคก้าวไกล กรณีที่มอบประธานกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเดิมเป็นโควตาของพรรคก้าวไกลให้กับพรรคไทยสร้างไทยเป็นเวลา 2 ปี โดยให้ฐากร ตัณฑสิทธิ์ ทำหน้าที่เป็นประธาน เพื่อมุ่งหวังให้พรรคร่วมฝ่ายค้าน ซึ่งมีพรรคก้าวไกลเป็นแกนหลัก ร่วมกันทำงาน ด้วยบรรยากาศที่เป็นไปได้ด้วยดีนั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน ในคณะกรรมาธิการที่ดี และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนโดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในมิติต่างๆ[36]
การเลือกตั้ง แก้
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคไทยสร้างไทยได้ส่งผู้สมัครทั้งแบบแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อ ได้จำนวน สส.แบบแบ่งเขต 5 คน และบัญชีรายชื่อ 1 คน นั่นคือคุณหญิงสุดารัตน์ ต่อมาพรรคไทยสร้างไทยประกาศร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับ พรรคก้าวไกล[37]
11 กรกฎาคม 2566 คุณหญิงสุดารัตน์ประกาศลาออกจาก สส.บัญชีรายชื่อ ทำให้ฐากรขยับมาเป็น สส.บัญชีรายชื่อแทน [38]
ผลการเลือกตั้งทั่วไป แก้
การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ที่นั่งเปลี่ยน | ผลการเลือกตั้ง | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
2566 | 6 / 500
|
345,295 | 2.22% | 6 | ฝ่ายค้าน | สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ |
ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แก้
การเลือกตั้ง | ผู้สมัคร | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ผลการเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|
2565 | ศิธา ทิวารี | 73,720 | 2.75% | พ่ายแพ้ |
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร แก้
การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ที่นั่งเปลี่ยน | ผลการเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|
2565 | 2 / 50
|
241,975 | 10.45% | 2 | เสียงส่วนน้อย |
ข้อวิจารณ์ แก้
คำร้องคัดค้านการเป็น สส. แก้
15 มิถุนายน พ.ศ. 2566 มีเอกสารที่นำเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ประกาศผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ครั้งที่ 1 ปรากฎว่ามี ว่าที่ ส.ส. ที่ประกาศผลรับรอง 329 คน ขณะที่มี 71 เขต ที่มีเรื่องร้องคัดค้าน มีรายงานว่า เอกสารดังกล่าวอาจเป็นเอกสารสรุปของฝ่ายปฏิบัติการ แจ้งเรื่องร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ที่ยังไม่ได้นำเสนอต่อที่ประชุม กกต.[39] โดยพรรคไทยสร้างไทยถูกร้องคัดค้านทั้งสิ้น 2 คน ดังนี้
ลำดับ | รายชื่อ สส. | เขตที่ลงเลือกตั้ง |
---|---|---|
1 | สุภาพร สลับศรี | ยโสธร เขต 1 |
2 | หรั่ง ธุระพล | อุดรธานี เขต 3 |
แต่ถึงกระนั้น กกต. ก็ประกาศรับรอง สส. ทั้ง 500 คนก่อน โดยได้ชี้แจงว่าจะดำเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง
อ้างอิง แก้
- ↑ "อัปเดต 82 พรรคการเมือง ที่ยังดำเนินการอยู่". Thai PBS.
- ↑ 2.0 2.1 “ไทยสร้างไทย” แถลง 5 จุดยืนทางการเมือง ค้านแก้ ม.112 ยึดมั่น 3 สถาบันหลัก
- ↑ เลือกตั้ง 2566 : สุดารัตน์ประกาศ ไทยสร้างไทยไม่เป็นที่เหยียบยืนให้เผด็จการ ไม่ร่วมงานคนทำรัฐประหาร หนุนพรรคที่ประชาชนเลือกลำดับ 1 ตั้งรัฐบาลให้สำเร็จ
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคไทยสร้างไทย
- ↑ ""เจ๊หน่อย" ประกาศตั้ง "พรรคไทยสร้างไทย" เปิดใจ ภารกิจสำคัญทางการเมือง". www.thairath.co.th. 2021-07-04.
- ↑ "'เก่ง การุณ' โผล่ร่วมพิธียกเสาเอกที่ทำการ 'ไทยสร้างไทย' ปิดปากแจงย้ายพรรค". Thaipost. 2022-04-06.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""ไทยสร้างไทย"ลงหลักปักฐานสร้างอาคารที่ทำการพรรคย่านดอนเมือง". thansettakij. 2022-04-06.
- ↑ 8.0 8.1 "'หญิงหน่อย' เปิดตัวผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ-ส.ก. ลั่นจะสร้างประวัติศาสตร์ชนะถล่มทลายอีกครั้ง". Thaipost. 2022-03-30.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 9.0 9.1 "'สามารถ แก้วมีชัย' ทิ้งไทยสร้างไทย กลับ 'เพื่อไทย' ลั่นไม่หนีไปไหนอีก ขอผนึกกำลังต่อสู้เผด็จการ". มติชนออนไลน์. 2021-12-14.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 10.0 10.1 ""เพื่อไทย" เปิดตัว "พงศกร -ประภัสร์" ร่วมดันเป้าหมายแลนด์สไลด์". Thai PBS. 2022-07-08. สืบค้นเมื่อ 2022-07-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ จับตาประชุมใหญ่ไทยสร้างไทย 'สุดารัตน์' นั่งหัวหน้า 'ศิธา' เลขาฯพรรค
- ↑ “สุดารัตน์” ผงาด นั่ง หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย “ศิธา” เป็นเลขาฯ
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคไทยสร้างไทย
- ↑ "เกาะติดการเมือง เลือกตั้ง66 ก้าวไกลเตรียมเปิดนโยบายเรือธง". posttoday. 2023-01-26.
- ↑ ""สารวัตรต้น" โชว์ดูดเสื้อแดงประจวบฯ-ราชบุรี หนุน "ไทยสร้างไทย"". mgronline.com. 2023-01-25.
- ↑ "พรรคไทยสร้างไทย ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 ..." thainews.prd.go.th.
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและกรรมการบริหารพรรคไทยสร้างไทย
- ↑ "สมาชิกพรรค". พรรคไทยสร้างไทย.
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและกรรมการบริหารพรรคไทยสร้างไทย
- ↑ "ธิดารัตน์ ยิ่งเจริญ ลาออกสมาชิกพรรค ทิ้งเก้าอี้โฆษกไทยสร้างไทย เตรียมชี้แจง". THE STANDARD. 2023-10-10.
- ↑ "สุดคึกคัก "พรรคไทยสร้างไทย" ปล่อยขบวนคาราวาน "สร้างไทย 77จังหวัด"". มติชนออนไลน์. 2021-12-10. สืบค้นเมื่อ 6 Jan 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""วัฒนา" โต้ "นายกฯ" ยัน "คุณหญิงหน่อย" ชู "นโยบายบำนาญประชาชน" หวังตอบแทนผู้สูงอายุ มั่นใจทำได้". สยามรัฐ. 2022-01-05.
- ↑ "เคาะแล้ว! 'ไทยสร้างไทย' ดัน 'ศิธา ทิวารี' ชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม". Thaipost. 2022-03-22.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เช็กผลเลือกตั้ง ส.ก. "เพื่อไทย" คว้า 20 ที่นั่ง". pptvhd36.com. 2022-05-23. สืบค้นเมื่อ 2022-07-09.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""ไทยสร้างไทย" เมินคนไหลออก ยันไม่ใช่ปัญหา ลุยคาราวานสร้างความสุขภาคอีสานต่อเนื่อง". ผู้จัดการออนไลน์. 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ พรรคหญิงหน่อย-พรรคสมคิด ดีลลงตัว นัดแถลงควบรวมพรรคพรุ่งนี้
- ↑ ไม่ถึงขั้นควบรวม สร้างอนาคตไทย-ไทยสร้างไทย จับมือทำการเมือง หาทางออกประเทศ
- ↑ จุดจบรวมพรรคสมคิด-สุดารัตน์ สร้างอนาคตไทยแตก ลอยแพผู้สมัคร ส.ส.
- ↑ "เสื้อแดงประจวบฯ ประกาศหนุน "ไทยสร้างไทย" หลังอกหักจากเพื่อไทย". เนชั่นทีวี. 2023-01-20.
- ↑ "เลือกตั้ง66 "เสื้อแดง"แฉยับ "เพื่อไทย"คัดผู้สมัครลงสมัครส.ส.แบบทางด่วน". เนชั่นทีวี. 2023-01-28.
- ↑ Thongsak (2023-01-26). "ตามคาด! อนุดิษฐ์นัดแถลงทิ้งเพื่อไทยไปซบหญิงหน่อย".
- ↑ "อนุดิษฐ์" โบกมือลาพรรคเพื่อไทย เสียงสั่นเครือขอบคุณ "ทักษิณ", สืบค้นเมื่อ 2023-01-28
- ↑ PCC, property re (2023-01-27). "อนุดิษฐ์ ปิดฉาก 16 ปี กับพรรคเพื่อไทย เครือข่ายทักษิณ". ประชาชาติธุรกิจ.
- ↑ "'เก่ง การุณ' กับบ้านหลังใหม่ ไทยสร้างไทย เกมเดิมพันอนาคต ส.ส." THE STANDARD. 2023-01-30.
- ↑ ""ไทยสร้างไทย" ยัน "ไม่สลับขั้ว-ย้ายฝั่ง" ไม่เป็นที่เหยียบยืนให้เผด็จการ". www.thairath.co.th. 2023-08-08.
- ↑ ""หญิงหน่อย" ขอบคุณ ก้าวไกล แบ่งโควตา ประธานกมธ.วิทยาศาสตร์ฯ ให้ไทยสร้างไทย". www.thairath.co.th. 2023-10-05.
- ↑ Thongsak (2023-05-17). "'ไทยสร้างไทย' พร้อมหารือ 'ก้าวไกล' ตั้งรัฐบาล".
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (นายฐากร ตัณฑสิทธิ์)
- ↑ "เปิดชื่อ 71 ว่าที่ ส.ส. กกต.จ่อแขวน เหตุร้องคัดค้าน". Thai PBS.