อุดมเดช รัตนเสถียร
นายอุดมเดช รัตนเสถียร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี พรรคเพื่อไทย และอดีตประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล)[1] และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์
อุดมเดช รัตนเสถียร ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
ประธานคณะกรรมการ ประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กันยายน พ.ศ. 2554 – 9 มกราคม พ.ศ. 2556 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | วิทยา แก้วภราดัย |
ถัดไป | อำนวย คลังผา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ |
ก่อนหน้า | อนุสรณ์ วงศ์วรรณ |
ถัดไป | วิฑูรย์ นามบุตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 มกราคม พ.ศ. 2502 (62 ปี) จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พรรคเพื่อไทย |
คู่สมรส | พัชรา รัตนเสถียร |
ศาสนา | พุทธ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
ประวัติแก้ไข
อุดมเดช รัตนเสถียร เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2502 ที่จังหวัดนนทบุรี[2] เป็นบุตรของร้อยเอก ชโลม รัตนเสถียร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี กับพรรณี รัตนเสถียร ชีวิตครอบครัว สมรสกับ นาง พัชรา รัตนเสถียร (สกุลเดิม: กลิ่นสุคนธ์) มีบุตรชาย 2 คนคือ ภัทร รัตนเสถียร และ ภัทรัตน์ รัตนเสถียร
การศึกษาแก้ไข
อุดมเดช รัตนเสถียร สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม และระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นอกจากนั้นยังได้ผ่านการอบรมหลักสูตรการเมืองการปกครองระดับสูงจากสถาบันพระปกเกล้า รุ่น 1
ด้านการเมืองแก้ไข
นายอุดมเดช ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2535/1 สังกัดพรรคพลังธรรม ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้ย้ายมาสมัครในสังกัดพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทยตามลำดับ
อุดมเดช รัตนเสถียร เป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่ม 16[3]
นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่ง อาทิ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2537 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2538 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2548 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2551[4]
ต่อมาในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) และได้ลาออกในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556[5]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 25[6]
หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีมติให้ดำเนินคดีอาญาต่อเขา เนื่องจากไม่ตรวจทานร่างรัฐธรรมนูญ [7]
ในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 สภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติถอดถอนเขาออกจากตำแหน่งส่งผลให้เขา ถูกห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองและทางราชการ เป็นเวลา 5 ปี [8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- มหาวชิรมงกุฎไทย
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 [9]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ พท.มีมติตั้ง "อุดมเดช รัตนเสถียร" นั่ง ปธ.วิปรัฐบาล
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ แหยงกลุ่ม 16 ไม่กล้าแตะ ‘ราเกซ’
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)
- ↑ http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMU56Y3dNakkwT0E9PQ==&catid=01
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9590000090423
- ↑ http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9590000110349
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย