พรรคความหวังใหม่

พรรคการเมืองไทย

พรรคความหวังใหม่ (อังกฤษ: New Aspiration Party; ย่อว่า ควม.) เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย พรรคก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2533 โดย พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด อดีตผู้บัญชาการทหารบก และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[2] พรรคความหวังใหม่ชนะการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2539 และจัดตั้งรัฐบาลผสมโดยมีพลเอกชวลิตเป็นนายกรัฐมนตรี การเกิดวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีต่อรัฐบาลลดน้อยลง และพลเอกชวลิตถูกบีบให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

พรรคความหวังใหม่
ผู้ก่อตั้งชิงชัย มงคลธรรม (ครั้งที่สอง)
หัวหน้าชิงชัย มงคลธรรม
รองหัวหน้า
  • วิเศษ สุริโย
  • โสภณ สมประสงค์ บิวโดอิน
  • พูลลาภ บุญสม
เลขาธิการพงษ์ศักดิ์ กุลเมือง
รองเลขาธิการ
  • บุญเลิศ ภูวิเลิศ
  • สัญญา ด่านวันดี
  • ทองสุข หวังสมบัติเจริญ
เหรัญญิกดุษฎี ตีระนันทน์
นายทะเบียนสมาชิกณัฏฐ์พิชา เกษษา
โฆษกธัญพร ศิวบวรวัฒนา
กรรมการบริหาร
  • ทัศพงษ์ เข่งพิมล
  • นิธิศ นมจันทร์
  • อับดุลการิม ยูโซะ
  • นิภาพรรณ โอทอง
นายกรัฐมนตรีชวลิต ยงใจยุทธ
(พ.ศ. 2539–2540)
คำขวัญเลิกทาสทางความคิด ติดอาวุธทางปัญญา นำพาชาติพ้นภัย
ก่อตั้ง11 ตุลาคม พ.ศ. 2533
แยกจากพรรคไทยรักไทย
(7 พฤษภาคม พ.ศ. 2545)
ยุบรวมกับพรรคไทยรักไทย
(25 เมษายน พ.ศ. 2545)
ที่ทำการ
จำนวนสมาชิก  (ปี 2566)9,288[1]
สีสีเหลืองพราว
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

ผลจากวิกฤตเศรษฐกิจ พลเอกชวลิตได้นำพรรคความหวังใหม่จัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคไทยรักไทยที่นำโดยทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นพรรคที่มี ส.ส. มากที่สุดในสภาหลังการเลือกตั้งเมื่อวันเสาร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 หลังจากนั้นไม่นาน พรรคความหวังใหม่ได้รวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย และพลเอกชวลิตได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลของทักษิณ

รายชื่อนายกรัฐมนตรี แก้

ประวัติ แก้

พรรคความหวังใหม่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2533 เป็นลำดับที่ 26/2533[3] ในขั้นต้นมีนายวีระ สุวรรณกุล เป็นหัวหน้าพรรคคนแรกและมีนางสาวปราณี มีอุดร เป็นเลขาธิการพรรคคนแรกต่อมาในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2533 ได้มีการจัดประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกของพรรคที่ประชุมมีมติเลือก พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีต ผู้บัญชาการทหารบก และอดีต ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าพรรค [4]

พรรคความหวังใหม่ ลงเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยมี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นหัวหน้าพรรค ร่วมด้วยนักการเมืองหลายคน เช่น นายเสนาะ เทียนทอง นายจาตุรนต์ ฉายแสง และ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา มีสัญลักษณ์พรรคคือ ดอกทานตะวัน และมีคำขวัญพรรคว่า ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง ได้เป็นฝ่ายค้าน และหลังจากนั้นไม่นานก็เกิด เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และ พรรคความหวังใหม่ เป็นหนึ่งในบรรดา 4 พรรคการเมือง ที่เรียกกันในช่วงเวลานั้นว่า พรรคเทพ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ร่วมกันคัดค้าน การขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร

พรรคความหวังใหม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2539 ได้ที่นั่ง ส.ส. จำนวน 125 ที่นั่ง โดยเฉือนชนะ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคคู่แข่งสำคัญไปเพียง 2 ที่นั่ง ส่งผลให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี

พรรคความหวังใหม่ มีฐานเสียงส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชนบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอีสาน หลังจากพล.อ.ชวลิต ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี จากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำเป็นอย่างมากในปี พ.ศ. 2540 จากการประกาศลดค่าเงินบาท และทำให้ระหว่างปี พ.ศ. 2540–2544 พรรคความหวังใหม่ต้องเปลี่ยนสถานะไปเป็น พรรคฝ่ายค้าน

การยุบรวมกับพรรคไทยรักไทย แก้

หลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทยขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคความหวังใหม่ได้เข้าร่วมรัฐบาล หลังจากนั้นไม่นาน มีการควบรวมพรรคความหวังใหม่ เข้ากับพรรคไทยรักไทย[5][6] โดยที่สมาชิกพรรคความหวังใหม่ส่วนใหญ่ไปเข้าร่วมกับพรรคไทยรักไทยพร้อมกับ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรค

พรรคความหวังใหม่ยุคหลัง พ.ศ. 2545 แก้

นายชิงชัย มงคลธรรม และสมาชิกอีกจำนวนหนึ่ง ได้จดทะเบียนพรรคความหวังใหม่ขึ้นมาอีกครั้งเป็นลำดับที่ 6/2545 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 โดยมีนายโยธินทร์ เพียรภูเขา และนางสาวนันทกาล ตาลจินดา เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรกพร้อมคณะกรรมการบริหารพรรคชุดแรกอีกจำนวน 7 คนรวมเป็น 9 คน มีที่ทำการพรรคแห่งแรกอยู่ที่แขวงลาดยาว เขตจตุจักร[7] ปัจจุบัน พรรคความหวังใหม่ ยังคงดำเนินกิจการทางการเมืองอยู่ โดยที่มีหัวหน้าพรรคคือ นายชิงชัย มงคลธรรม โดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารพรรคชุดเดิม และได้เปลี่ยนสัญลักษณ์พรรคใหม่ ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 ทางพรรคก็ได้ส่งผู้สมัครลงในพื้นที่อีสาน แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งเลยแม้ที่นั่งเดียว รวมทั้งการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2550 ด้วย ต่อมาในการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. กรุงเทพมหานคร เขต 6 เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 พรรคความหวังใหม่ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง คือ นายอนุสรณ์ สมอ่อน หมายเลข 3 แต่ได้รับคะแนนเพียง 684 คะแนน และ ในปี พ.ศ. 2554 พรรคความหวังใหม่ได้ส่ง นายอธิวัฒน์ บุญชาติ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง และ พิธีกรรายการทีวี ลงสมัครรับเลือกตั้ง ในเขต 9 บุรีรัมย์

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. โดยได้รับหมายเลขประจำพรรค คือ หมายเลข 34 ซึ่งการเลือกตั้งในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ เข้ามาทำหน้าที่ประธานที่ปรึกษาพรรค[8] แต่ผลปรากฏว่าไม่ได้รับเลือกตั้งทั้งในระบบเขต และระบบบัญชีรายชื่อ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2566 ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่ไม่ได้รับเลือก

บุคลากร แก้

รายชื่อหัวหน้าพรรค แก้

พรรคความหวังใหม่ (ครั้งที่ 1)
ลำดับที่ ชื่อ เริ่ม สิ้นสุด
1 วีระ สุวรรณกุล 11 ตุลาคม พ.ศ. 2533 16 ตุลาคม พ.ศ. 2533
2 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2533 28 มีนาคม พ.ศ. 2545
พรรคความหวังใหม่ (ครั้งที่ 2)
1 โยธินทร์ เพียรภูเขา 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 30 สิงหาคม พ.ศ. 2545
2 ชิงชัย มงคลธรรม 7 กันยายน พ.ศ. 2545 ปัจจุบัน

รายชื่อเลขาธิการพรรค แก้

พรรคความหวังใหม่ (ครั้งที่ 1)
ลำดับที่ ชื่อ เริ่ม สิ้นสุด
1 ปราณี มีอุดร 11 ตุลาคม พ.ศ. 2533 22 ธันวาคม พ.ศ. 2534
2 พิศาล มูลศาสตรสาทร 22 ธันวาคม พ.ศ. 2534 9 เมษายน พ.ศ. 2538
3 สุขวิช รังสิตพล 9 เมษายน พ.ศ. 2538 [9] 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
4 เสนาะ เทียนทอง 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 [10] 27 เมษายน พ.ศ. 2542
5 จาตุรนต์ ฉายแสง 27 เมษายน พ.ศ. 2542 [11] 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
6 วันมูหะมัดนอร์ มะทา 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 [12] 28 มีนาคม พ.ศ. 2545
พรรคความหวังใหม่ (ครั้งที่ 2)
1 นันทกาล ตาลจินดา 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 30 สิงหาคม พ.ศ. 2545
2 พลเอก กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ 7 กันยายน พ.ศ. 2545 14 มกราคม พ.ศ. 2546
3 พลตรี พีรพงษ์ สรรพพากย์พิสุทธิ์ 5 เมษายน พ.ศ. 2546 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
4 จารึก บุญไชย 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
5 ธนวัสถ์ นิลธนะพันธุ์ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
6 วิทยา ปราบภัย 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 1 มกราคม พ.ศ. 2567
7 อัษฏางค์ แสวงการ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน

ผลการเลือกตั้ง แก้

ผลการเลือกตั้งทั่วไป แก้

การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ที่นั่งเปลี่ยน สถานภาพพรรค ผู้นำเลือกตั้ง
มี.ค. 2535
72 / 360
9,980,150 22.4%   72 ฝ่ายค้าน พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
ก.ย. 2535
51 / 360
6,576,092 14.2%   21 ร่วมรัฐบาล (2535-2537)
ฝ่ายค้าน (2537-2538)
2538
57 / 391
6,806,621 12.3%   6 ร่วมรัฐบาล
2539
125 / 393
16,585,528 29.1%   68 พรรคจัดตั้งรัฐบาล (2539-2540)
ฝ่ายค้าน (2540-2544)
2544
36 / 500
2,008,948 7.02%   89 ร่วมรัฐบาล
2548
0 / 500
88,951[13]   36 ไม่ได้รับเลือกตั้ง ชิงชัย มงคลธรรม
2549 การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
2550
0 / 500
159,117[14] ไม่ได้รับเลือกตั้ง
2554
0 / 500
21,195[15]
2557 การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
2562
0 / 500
9,074[16] ไม่ได้รับเลือกตั้ง
2566
0 / 500
10,892[17]

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แก้

การเลือกตั้ง ผู้สมัคร คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง
2535 มติ ตั้งพานิช 3,685   พ่ายแพ้

อ้างอิง แก้

  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566
  2. Hewison, Kevin (1997). Political change in Thailand. Routledge. p. 127. ISBN 0-415-14795-6.
  3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคความหวังใหม่)
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคความหวังใหม่เปลี่ยนแปลงชื่อพรรคภาษาอังกฤษ ภาพเครื่องหมายพรรคและเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค
  5. การยุบพรรคซบไทยรักไทย
  6. "ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การยุบพรรคความหวังใหม่เพื่อรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2024-01-26.
  7. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคความหวังใหม่
  8. พล.อ.ชวลิต หวนนั่งประธานที่ปรึกษา พรรคความหวังใหม่สืบค้นวันที่ 6 มิถุนายน 2554
  9. ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคความหวังใหม่เปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค
  10. ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคการเมืองเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคความหวังใหม่ (จำนวน 74 ราย)
  11. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคความหวังใหม่
  12. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคความหวังใหม่
  13. "ข้อมูลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ปี พ.ศ. 2548 - Open Government Data of Thailand". data.go.th.
  14. "ข้อมูลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ปี พ.ศ. 2550 - Open Government Data of Thailand". data.go.th.
  15. "ข้อมูลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ปี พ.ศ. 2554 - Open Government Data of Thailand". data.go.th.
  16. "เลือกตั้ง 2562 : กกต.เปิดคะแนนดิบ 81 พรรค 100 %". Thai PBS.
  17. "รายงานสด ผลการเลือกตั้ง 2566 แบบเรียลไทม์". รายงานสด ผลเลือกตั้ง 2566 (ภาษาอังกฤษ).