กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ
พลเอก กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ นักการเมืองและอดีตทหารบกชาวไทย ประธานที่ปรึกษาพรรคไทยศรีวิไลย์ อดีตผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ชวน หลีกภัย) เคยเป็นอดีตเลขาธิการพรรคความหวังใหม่ และประธานที่ปรึกษาพรรคประชาสันติ และพรรคต้นตระกูลไทย รวมถึงอดีตกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่[1]
กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ | |
---|---|
เลขาธิการพรรคความหวังใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง 7 กันยายน 2545 – 14 มกราคม 2546 | |
ก่อนหน้า | นันทกาล ตาลจินดา |
ถัดไป | พลตรี พีรพงศ์ สรรพพากย์พิสุทธิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 เมษายน พ.ศ. 2489 อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | พรรคไทยศรีวิไลย์ |
คู่สมรส | ดร.บวรพรรณ รัฐประเสริฐ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() |
สังกัด | สำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2514 - 2543 |
ยศ | ![]() |
บังคับบัญชา | สำนักงานทหารพัฒนา |
สงคราม/การสู้รบ | สงครามเวียดนาม |
ประวัติ แก้
กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2489 ที่ตำบลมะขามหย่ง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรชายของ นายบุญยืน รัฐประเสริฐ (แซ่เตียว) กับ นางสุพรรณี รัฐประเสริฐ (นามสกุลเดิม ยศไกร)
การศึกษา แก้
จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา, โรงเรียนสารวิทยา, โรงเรียนอำนวยศิลป์, โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 7, โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 18, โรงเรียนศูนย์รักษาความปลอดภัย หลักสูตรการต่อต้านการก่อวินาศกรรม, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 41, ปริญญาโท พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต ทางรัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ด้านการศึกษาวิชาทหารกิตติศักดิ์จบโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 7, โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 18, โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 57, นักยุทธศาสตร์รุ่นที่ 1 จากกรมยุทธการทหาร และวิทยาลัยเสนาธิการทหาร รุ่นที่ 32
กิตติศักดิ์จบโรงเรียนเตรียมทหาร และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ซึ่งรุ่นเดียวกับ
- พล.อ. สพรั่ง กัลยาณมิตร
- พล.ร.อ. บรรณวิทย์ เก่งเรียน
- พล.อ.อ. สมหมาย ดาบเพ็ชร
- พล.ต.อ. อำนวย เพชรศิริ
- พล.อ. ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์
ชีวิตส่วนตัว กิตติศักดิ์มีชื่อเล่นว่า "อู๊ด" จึงมักถูกเรียกว่า"เสธ.อู๊ด" สมรสกับ ดร.บวรพรรณ รัฐประเสริฐ (นามสกุลเดิม วีระปรีย) บุตรสาวของ พล.อ. ประลอง วีระปรีย กับคุณหญิงวัลลีย์ วีระปรีย (เสนาณรงค์) มีบุตรชาย 2 คนคือ [2]
- บวรศักย์ รัฐประเสริฐ
- บวรสิทธิ์ รัฐประเสริฐ
การทำงาน แก้
การรับราชการ กิตติศักดิ์เคยได้รับโปรดเกล้าเป็นนายทหารราชองครักษ์เวร เคยเป็นผู้บังคับบัญชาสำนักงานทหารพัฒนา ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2536 - 30 กันยายน พ.ศ. 2539 เมื่อครั้งมียศ พลตรี[3] เป็นผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (อัตรา "พลโท") และได้รับโปรดเกล้าฯเป็น พลเอก เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และเข้าโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดเมื่ออายุได้ 53 ปี โดยมีตำแหน่งสุดท้ายเป็นเลขานุการส่วนตัวและหน้าห้องของ ชวน หลีกภัย ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
บทบาทในทางการเมือง พล.อ. กิตติศักดิ์ เคยลงรับเลือกตั้งในพื้นที่เขต 1 กรุงเทพมหานคร (เขตบางซื่อ, เขตดุสิต, เขตราชเทวี) ในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง จากนั้นได้ไปช่วยเหลือ ชิงชัย มงคลธรรม ฟื้นฟูพรรคความหวังใหม่ ขึ้นอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2545 และได้ลาออกไปเมื่อต้นปี พ.ศ. 2546
จากนั้นได้เข้าร่วมกับทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เข้าร่วมการชุมนุมทั้งในปี พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2551 หลังจากนั้นได้เข้าร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ของทางกลุ่มพันธมิตรฯ โดยมีชื่อเป็นกรรมการบริหารพรรคด้วย
ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ที่ประชุมของพรรคการเมืองใหม่ ได้มีมติส่ง กิตติศักดิ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต 6 กรุงเทพมหานคร (เขตบึงกุ่ม, เขตคลองสามวา, เขตคันนายาว, เขตหนองจอก ) ในการเลือกตั้งแทนที่ ทิวา เงินยวง ส.ส.เก่าของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ถึงแก่กรรมไป ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่ทางพรรคการเมืองใหม่ได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งด้วย
แต่ทว่าในวันรุ่งขึ้น พล.อ. กิตติศักดิ์ ได้ประกาศถอนตัว เนื่องจากอ้างว่า สำรวจคะแนนเสียงแล้วไม่ดี และไม่ต้องการแข่งกับผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย คือ ก่อแก้ว พิกุลทอง เนื่องจากได้รับข้อหาผู้ก่อการร้ายในระหว่างเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ซึ่งเรื่องนี้ได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ต่อมามากมาย[4][5]
ต่อมา พล.อ. กิตติศักดิ์ได้ลาออกจากพรรคการเมืองใหม่และยุติบทบาททั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแล้ว เพราะเหตุความไม่โปร่งใสในการเป็นกรรมการบริหารพรรคของสมาชิกบางคน[6][7]เป็นปัจจุบันมีตำแหน่งเป็น ประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ (ปปช.ภาคประชาชน) และเป็นวิทยากรประจำรายการ ห่วงบ้านห่วงเมือง เป็นประจำทุกวันศุกร์ เวลา 21.00-22.00 น. ทางช่องไททีวี
ต่อมาในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคประชาสันติ[8] โดยลงสมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 2 ของพรรค[9]
ต่อมาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 10/2558 มีขอเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ซึ่งในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พล.อ. กิตติศักดิ์ ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นกรรมาธิการวิสามัญและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญฯในเวลาต่อมา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้
- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.)[12]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[13]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[14]
- พ.ศ. 2529 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[15]
- พ.ศ. 2551 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2539 – เหรียญกาชาดสรรเสริญ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้
- เวียดนามใต้ :
- พ.ศ. 2514 - เหรียญเกียรติยศกองทัพเวียดนามใต้ ชั้นที่ 1[16]
- พ.ศ. 2514 - เหรียญปฏิบัติการกิจการพลเรือน ชั้นที่ 1 ประดับใบโอ๊ค[17]
- พ.ศ. 2514 - เหรียญรณรงค์เวียดนามใต้[16]
- พ.ศ. 2514 - เหรียญพัฒนาชนบท ชั้นที่ 2[16]
- พ.ศ. 2514 - เหรียญชูเกียรติทหารผ่านศึก ชั้นที่ 2[16]
- พ.ศ. 2514 - เหรียญรางวัลบริการเยาวชนและกีฬา ชั้นที่ 2[16]
ดูเพิ่ม แก้
อ้างอิง แก้
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่
- ↑ พล.อ.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ จากไทยรัฐ
- ↑ "รายนามผู้บังคับบัญชา สำนักงานทหารพัฒนา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-31. สืบค้นเมื่อ 2010-07-07.
- ↑ การเมืองใหม่ ส่ง กิตติศักดิ์ ลงเลือกตั้งซ่อมสส.กทม. เก็บถาวร 2010-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเอ็มไทย
- ↑ "กิตติศักดิ์" ถอนตัวลงเลือกตั้งซ่อมเขต 6 เก็บถาวร 2010-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากกรุงเทพธุรกิจ
- ↑ จดหมายเปิดผนึกถึง......."คนดีชอบแก้ไข" คำชี้แจงจากเจ้าตัว ใน โอเคเนชั่น
- ↑ มั่ว คำชี้แจงของเจ้าตัว ใน เฟซบุ๊ก
- ↑ สรุปบัญชีโยกย้ายนักการเมืองล่าสุด[ลิงก์เสีย]
- ↑ รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พร้อมนโยบายของพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์ สำนักงาน กกต. สืบค้นวันที่ 3 มิถุนายน 2554
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๗, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๖ มิถุนายน ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๐, ๑ กันยายน ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๙, ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๑ มกราคม ๒๕๓๐
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 https://www.facebook.com/photo/?fbid=10224898579344422&set=a.3563752045146&comment_id=973954647020097&reply_comment_id=1470208560411329¬if_id=1690467113733508¬if_t=comment_mention&ref=notif
- ↑ https://www.facebook.com/photo/?fbid=10225132933123120&set=a.1511064409238