ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์

พลเอก ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ อดีตประธานที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย และที่ปรึกษาด้านการรักษาความปลอดภัยของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในการชุมนุมเมื่อปี พ.ศ. 2551 ปัจจุบันเป็นประธานและผู้ก่อตั้งองค์กรอุณาโลม

พลเอก ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์
เกิดปฐมพงษ์ เกษรศุกร์
1 ธันวาคม พ.ศ. 2490 (76 ปี)
อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
สัญชาติไทย
ชื่ออื่นบิ๊กแป๊ะ
การศึกษาโรงเรียนโยธินบูรณะ
โรงเรียนเตรียมทหาร
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
มหาวิทยาลัยเอมมอรี
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
อาชีพทหารบก
มีชื่อเสียงจากประธานที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย
แนวร่วมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
คู่สมรสคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์
บุตรแก้วฟ้า เกษรศุกร์
บิดามารดาพันโทยุทธศิลป์ เกษรศุกร์
มาลี เกษรศุกร์
ญาติกองบัญชาการกองทัพไทย
องค์กรอุณาโลม
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
เว็บไซต์http://www.unalome.com/ เว็บไซต์องค์กรอุณาโลม

ประวัติ แก้

เกิดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2490 ที่ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง มีชื่อเล่นว่า "แป๊ะ" จึงถูกสื่อมวลชนเรียกว่า "บิ๊กแป๊ะ" เป็นบุตรชายของพลโท ยุทธศิลป์ เกษรศุกร์ อดีตผู้บังคับการกรม สังกัดกองพลเสือดำ ในช่วงสงครามเวียดนาม กับ นางมาลี เกษรศุกร์ พี่ชายชื่อ นาวาอากาศตรี พงษ์ณรงค์ เกษรศุกร์ อดีตนักบินเอฟ 5 เอ ที่เสียชีวิตจากการถูกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) ยิงตกที่ เขาค้อ เมื่อปี พ.ศ. 2519

การศึกษา แก้

จบจากโรงเรียนโยธินบูรณะ โรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 7 (ด้วยการสอบเข้าได้เป็นที่หนึ่ง) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) รุ่นที่ 18 หลักสูตรทหารราบและกระโดดร่มที่สหรัฐอเมริกา ปริญญาโทรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเอมมอรี (เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา) โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 49 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปรอ.) รุ่นที่ 38

รับราชการ แก้

  • เริ่มรับราชการที่กรมผสมที่ 31 (ร.31 รอ) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เรื่อยมาจนถึงรองเสนาธิการทหารบก ในด้านวิชาการเป็นผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
  • ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาสิทธิประโยชน์ของกำลังพลในกองทัพเรือ
  • ก่อนจะเกษียณอายุราชการในตำแหน่งประธานที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย


  • รับราชการครั้งแรกที่ กรมผสมที่ ๓๑ (ร.๓๑ รอ.)
  • รร.จปร.
  • ฝสธ.รมว.กห.
  • ลก.ทบ.
  • รอง มทภ.๓
  • ผช.เสธ.ทบ.ฝขว.
  • รอง เสธ.ทบ. (๑)

หลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

การเมืองภาคประชาชน แก้

ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2551 พล.อ.ปฐมพงษ์เป็นผู้ที่นำนายทหารให้การคุ้มครอง นายสุนัย มโนมัยอุดม อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จากสนามบินสุวรรณภูมิ ขณะเดินทางกลับจากต่างประเทศ ให้รอดพ้นจากการจับกุมของตำรวจตามหมายจับที่ภายหลังศาลตัดสินว่า เป็นหมายจับที่มิชอบด้วยกฎหมาย จากนั้นได้แต่งเครื่องแบบเต็มยศขึ้นเวทีของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหลายครั้ง พร้อมได้แสดงจุดยืนว่าอยู่ข้างพันธมิตรฯ ในเหตุการณ์การสลายการชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภา 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 พล.อ.ปฐมพงษ์ ซึ่งเกษียณอายุราชการแล้วมีบทบาทเป็นผู้เจรจากับผู้บังคับบัญชาตำรวจก่อนจะมีเหตุการณ์ และถูกผลักจนได้รับบาดเจ็บรักษาตัวที่โรงพยาบาลด้วย

ปัจจุบัน พล.อ.ปฐมพงษ์ เป็นประธานและผู้ก่อตั้งองค์กรอุณาโลม ซึ่งเป็นองค์กรอิสระทำหน้าที่ปลูกฝังอุดมการณ์รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และให้ข้อเสนอแนะรัฐบาลด้านการทหารและการพัฒนากองทัพ

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 แก้

ชีวิตส่วนตัว แก้

พล.อ.ปฐมพงษ์ เคยผ่านการสมรสมาก่อนกับภริยาเก่า มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ก่อนจะหย่าร้างกันไป โดยในปัจจุบัน พล.อ.ปฐมพงศ์ สมรสกับ คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยที่ไม่มีบุตรด้วยกัน[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 14 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ลับ ลวง พราง ภาค 2 ซ่อนรูปปฏิวัติหัก "เหลี่ยม" โหด ISBN 978-974-02-0597-5 โดย วาสนา นาน่วม :สำนักพิมพ์มติชน
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๑๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๒๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๑๕ มีนาคม ๒๕๑๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ ๓๐๔๔, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔