สุพัตรา มาศดิตถ์
คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์[1] อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เป็นบุตรสาวของนายสุรินทร์ มาศดิตถ์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นน้องสาวของนายสุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ อดีตผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
สุพัตรา มาศดิตถ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 6 มกราคม พ.ศ. 2544 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 มกราคม พ.ศ. 2493 อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
คู่สมรส | พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ |
ประวัติ
แก้คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ เกิดเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2493[2] สำเร็จการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยเป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และลาออกจากราชการมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช แทนนายสุรินทร์ ผู้เป็นบิดาซึ่งได้มรณภาพขณะที่เป็นพระภิกษุ[3]
ในรัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เธอได้รับแต่งตั้งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[4] และในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีอดีกสมัย (14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543) โดยเป็นรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทยที่มาจากการเลือกตั้ง[5] ต่อมาภายหลังได้วางมือทางการเมือง ใช้เวลากับการปฏิบัติธรรม และเดินทางไปปฏิบัติธรรมเผยแพร่พุทธศาสนาต่างประเทศ[6]
แม้ว่าจะหันหลังให้การเมือง แต่คุณหญิงสุพัตรา ยังมีบทบาทในการทำงานด้านสตรีกับพรรคประชาธิปัตย์อยู่บ้าง และต่อมาในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้หันกลับมาช่วยงานโดยไม่รับตำแหน่งทางการเมือง โดยทำหน้าที่ดูแลโครงการธนาคารต้นไม้ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)[7] และในที่สุดจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี รับผิดชอบงานด้านสังคม[8]
ชีวิตส่วนตัว คุณหญิงสุพัตรามีชื่อเล่นว่า "แอ๋ว" จึงเป็นที่มาของชื่อที่สื่อมวลชนนิยมเรียกว่า "คุณหญิงแอ๋ว" หรือ "หญิงแอ๋ว" สมรสกับ พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ อดีตประธานที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย โดยที่ไม่มีบุตรด้วยกัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่4 จตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.)[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/021/5.PDF
- ↑ ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แแทนราษฎร พ.ศ. 2540. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2540
- ↑ http://arc.nstru.ac.th/information/html/surin.htm[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ thaigov[ลิงก์เสีย]
- ↑ คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์กับหนังสือ "พ่อหลวงพ่อของแผ่นดิน"[ลิงก์เสีย]
- ↑ คุณหญิงสุพัตรา มาสดิตถ์บทบาทการดูแลธนาคารต้นไม้ชุมชน[ลิงก์เสีย]
- ↑ ตั้งอภิรักษ์-หญิงแอ๋วกุนซือนายกฯ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๗๓ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๒