สุรเชษฐ์ มาศดิตถ์

สุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ อดีตผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช หลายสมัย

สุรเชษฐ์ มาศดิตถ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 (75 ปี)
อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (?—2565)
รวมไทยสร้างชาติ (2565—ปัจจุบัน)

ประวัติ

แก้

สุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ เกิดวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 เป็นบุตรคนโตของ นายสุรินทร์ มาศดิตถ์ อดีต ส.ส. นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กับนางสุดา มาศดิตถ์ (เทียมศรไชย) ก่อนหน้าเข้าสู่วงการเมืองนายสุรเชษฐ์ รับราชการในสังกัด กระทรวงสาธารณสุข

นายสุรเชษฐ์ มีน้องสาวคือ คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นรัฐมนตรีหญิงคนแรกที่มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

การศึกษา

แก้

สุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สาขาสุขศึกษา ปี 2524 และปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ปี 2538

การทำงาน

แก้

สุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ เริ่มรับราชการในตำแหน่งนักวิชาการสุขศึกษา สังกัดโรงพยาบาลพัทลุง ต่อมาเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช กระทั่งในปี พ.ศ. 2528 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดนครศรีธรรมราช เขตอำเภอพรหมคีรี และในปี พ.ศ. 2535 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องอีกหลายสมัย (พ.ศ. 2535/2, 2538, 2539, 2544, 2548, 2550, 2554)

เขาเคยเป็นที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ (ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์) ในรัฐบาลชวน 2 และเป็นประธานคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการ

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[1] ต่อมาในวันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เขาได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ โดยให้เหตุผลว่าไม่พอใจที่ทางพรรคเปิดตัวผู้สมัครคนอื่นในเขตของตัวเอง[2] ในวันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 นายสุรเชษฐ์ได้เดินทางไปสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ พร้อมกับนายพงศ์สินธุ์ เสนพงศ์ น้องชายของนายเทพไท เสนพงศ์[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. “สุรเชษฐ์” โบกมือลา ปชป.ยื่นออกเป็นสมาชิกพรรคแล้ว
  3. ไม่ได้มาคนเดียว! ‘น้องเทพไท’กราบลาพระแม่ธรณีบีบมวยผม สมัครซบ‘รทสช.’
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕