คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นคณะลำดับที่ 2 ต่อจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกเมื่อ พ.ศ. 2511
Faculty of Education Prince of Songkla University | |
สถาปนา | พ.ศ. 2510 |
---|---|
คณบดี | รศ.ดร.อาฟีฟี ลาเต๊ะ |
ที่อยู่ | อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000 |
สี | สีแสด |
สถานปฏิบัติ | โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โรงเรียนอนุบาลสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
เว็บไซต์ | edu.psu.ac.th |
ประวัติ
แก้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2509 โดยมีคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นคณะแรก ที่เปิดสอนในปี พ.ศ. 2510 โดยใช้อาคารเรียน ของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร ต่อมา คณะศึกษาศาสตร์ ได้เปิดสอนเป็นคณะที่สอง เมื่อปีที่ พ.ศ. 2511 รับนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 60 คน เป็นนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ จำนวน 35 คน และสาขาศิลปศาสตร์ จำนวน 25 คน ใช้อาคารเรียนร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่กรุงเทพมหานคร ต่อมาได้ย้ายมาเรียนที่ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2511 (ซึ่งมหาวิทยาลัยได้กำหนด วันดังกล่าว เป็น วันรูสะมิแล) มีอาจารย์จำนวน 11 คน โดยมี ศาสตราจารย์นพ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา เป็นคณบดีคนแรก คณะศึกษาศาสตร์ นับเป็นคณะแรกของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่เปิดสอน ในภาคใต้
ในระยะแรก คณะศึกษาศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ผลิตครูระดับปริญญาตรี ที่สอน ระดับมัธยมศึกษา ในเขต 14 จังหวัดภาคใต้ และเพื่อ ขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษา ในวิชาการศึกษา ออกไปสู่ส่วนภูมิภาคให้สอดคล้อง กับนโยบายของรัฐ ตามแผนพัฒนาภาคใต้ พร้อมกันนั้นจะร่วมมือกับชุมชนในการปรับปรุงการศึกษา และยกระดับวิทยฐานะ ของครูอาจารย์ให้สูงขึ้นด้วย ปีการศึกษา 2511 เป็นปีแรกที่ คณะศึกษาศาสตร์ เปิดทำการสอน ในสาขาวิชาเอกคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป ภาษาอังกฤษ ภาษาไทยและสังคมศาสตร์ ต่อมาคณะศึกษาศาสตร์ ขยายภารกิจเพื่อตอบสนอง ความต้องการของสังคม ตามศักยภาพและความพร้อม
ทำเนียบคณบดี
แก้คณบดี | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. ศ.ดร.นพ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา | พ.ศ. 2511 - 2515 |
2. ศ.จำเริญ เจตนเสน | พ.ศ. 2515 - 2517 และ พ.ศ. 2523 - 2527 |
3. รศ.ดร.ชำนาญ ณ สงขลา | พ.ศ. 2517 - 2521 |
4. ผศ.ปรีชา ป้องภัย | พ.ศ. 2521 - 2523 |
5. รศ.ดร.วัน เดชพิชัย | พ.ศ. 2527 - 2531 |
6. รศ.ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว | พ.ศ. 2531 - 2535 |
7. ผศ.ดร.อนันต์ ทิพยรัตน์ | พ.ศ. 2535 - 2539 |
8. ผศ.ดร.วิรัตน์ ธรรมาภรณ์ | พ.ศ. 2539 - 2543 |
9. รศ.ดร.สุวิมล เขี้ยวแก้ว | พ.ศ. 2543 - 2547 |
10. ผศ.ดร.วสันต์ อติศัพท์ | พ.ศ. 2547 - 2551 |
11. รศ.ดร.ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์ | พ.ศ. 2551 - 2554 |
12. ผศ.สมปอง ทองผ่อง (รักษาการ) | พ.ศ. 2554 - 2554 (4 เดือน) |
13. ผศ.ดร.ณัฐวิทย์ พจนตันติ | พ.ศ. 2554 - 2558 |
14. รศ.ดร.เอกรินทร์ สังข์ทอง | พ.ศ. 2558 - 2565 ( 2 สมัย) |
15. รศ.ดร.อาฟีฟี ลาเต๊ะ | พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน |
คณะผู้บริหาร
แก้คณะผู้บริหารคณะศึกษาศาสตร์ | ||
รายชื่อ | ตำแหน่ง | |
---|---|---|
1. รองศาสตราจารย์ ดร.เอกรินทร์ สังข์ทอง | คณบดี | |
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เครือศรี วิเศษสุวรรณภูมิ | รองคณบดีฝ่ายโรงเรียนอนุบาลสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | |
3. อาจารย์ ดร.เรชา ชูสุวรรณ | รองคณบดีฝ่ายบริหารและทรัพยากรบุคคล | |
4. อาจารย์ ดร.วรภาคย์ ไมตรีพันธ์ | รองคณบดีฝ่ายบัณฑิต นวัตกรรมและวิเทศสัมพันธ์ | |
5. อาจารย์จารึก อรรถสงเคราะห์ | รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ | |
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรีหญิง ดร.ธินัฐดา พิมพ์พวง | ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ | |
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐพงศ์ กาญจนฉายา | ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศ | |
8. อาจารย์ตูแวยูโซะ กูจิ | ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพ | |
9. อาจารย์ปานใจ แสงศิลา | ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายโรงเรียนอนุบาลสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | |
10. นางพึงใจ ปราโมทย์อนันต์ | เลขานุการคณะ |
ส่วนงาน
แก้ตามร่างข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการแบ่งส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. ... คณะศึกษาศาสตร์ มีการแบ่งส่วนงานระดับสาขาวิชาและเทียบเท่าสาขาวิชา ดังนี้
|
หลักสูตร
แก้
ระดับปริญญาตรี | ระดับประกาศนียบัตร | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
---|---|---|---|
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี)
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์) (หลักสูตร 5 ปี)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์) (หลักสูตร 5 ปี)
|
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (หลักสูตร 1 ปี)
|
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
|
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้