โรงเรียนโยธินบูรณะ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
โรงเรียนโยธินบูรณะ เป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2478 มีนายภักดิ์ ฉวีสุข เป็นครูใหญ่ท่านแรก (พ.ศ. 2478-2479) และนายสันทัด เมี้ยนกำเนิด เป็นผู้อำนวยการท่านแรก (พ.ศ. 2513-2519) เดิมตั้งอยู่เลขที่ 1162 แยกเกียกกาย ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร แต่ต่อมาพื้นที่บริเวณดังกล่าวถูกใช้ในการก่อสร้างสัปปายะสภาสถานซึ่งเป็นอาคารรัฐสภาไทยแห่งใหม่ในปัจจุบัน จึงได้ย้ายมาทำการเรียนการสอนบนที่ตั้งแห่งใหม่ที่เลขที่ 1313 ถนนประชาราษฎร์ สาย 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
โรงเรียนโยธินบูรณะ Yothinburana School Yothinburana School | |
---|---|
![]() | |
ที่ตั้ง | |
![]() | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ย.บ. / YB |
ประเภท | รัฐบาล |
คำขวัญ | โยธิน ถิ่นคนดี ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต (ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก) |
สถาปนา | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2478 |
ผู้ก่อตั้ง | จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม และ คุณครูภักดิ์ ฉวีสุข |
เขตการศึกษา | สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1000100203 |
ผู้อำนวยการ | นายสมเกียรติ ผ่องจิต |
เพลงประจำโรงเรียน | มาร์ชโยธินบูรณะ,สายเลือดเดียวกัน,โยธินฯ,รักโยธินฯ,ถิ่นรวมใจ,แดนในฝัน,รำวงโยธินฯ,ลูกโยธินฯ,อำลา-อาลัย |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย |
จำนวนนักเรียน | 3,310 (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2562)[1] |
สี | ██████ ชมพู-น้ำเงิน |
ต้นไม้ | ด |
เว็บไซต์ | www2.yothinburana.ac.th |

ประวัติโรงเรียน แก้ไข
ก่อนที่จะมาเป็นโยธินบูรณะ แก้ไข
เมื่อชุมชนรอบโรงเรียนวัดสะพานสูงมีการขยายตัวขึ้น มีผู้คนเข้ามาศึกษามาก จึงไม่สามารถขยายโรงเรียนได้อีก ทำให้โรงเรียนคับแคบ ครูใหญ่ในขณะนั้น ครูภักดิ์ ฉวีสุข จึงได้ไปปรึกษากับ หลวงสุนทรอัศวราช (เลขานุการประจำตัวหลวงพิบูลสงคราม และผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) ให้ไปทำรายงานเสนอแก่อำมาตย์ตรี หลวงพิลาศวรรณสาร(พนักงานตรวจการศึกษาแขวงพระนครเหนือ) สนองต่อกระทรวงธรรมการดำเนินการเจรจาขอที่ดิน 3 แห่งจากกระทรวงกลาโหม ได้แก่ คุณครูภักดิ์ ฉวีสุข ครูใหญ่โรงเรียนมัธยมวัดสะพานสูง ได้ปรึกษากับ หลวงสุนทรอัศวราช (เลขานุการประจำตัวหลวงพิบูลสงคราม และผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) ซึ่งเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยและได้รับคำแนะนำให้ทำรายงานเสนอต่ออำมาตย์ตรี หลวงพิลาศวรรณสาร (พนักงานตรวจการศึกษาแขวงพระนครเหนือ) สนองต่อกระทรวงธรรมการดำเนินการเจรจาขอที่ดิน 3 แห่งจากกระทรวงกลาโหม คือ
- ที่ดินกรมทหารสื่อสาร กองพันที่ 2
- ที่ดินริมกองทหารสื่อสาร กองพันที่ 1 ด้านเหนือ
- ที่ดินระหว่างถนนสะพานแก้ว (ถนนสามเสน กับโรงเลื่อยล่ำซำ{โรงเลื่อยไม้ไทยในปัจจุบัน}) ตรงข้ามกรมทหารม้ารักษาพระองค์
ในที่สุดกระทรวงกลาโหม (สมัยพันเอกหลวงพิบูลสงคราม รักษาการแทนปลัดกระทรวงกลาโหม) ได้รับอนุญาตให้กระทรวงธรรมกาปลูกสร้างโรงเรียนได้บริเวณฝ่ายซ้ายของถนนสะพานแก้ว ตรงข้ามกรมทหารพันม้า (กรมทหารม้ารักษาพระองค์) โดยมีเนื้อที่ประมาณ 9 ไร่เศษ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2477
ต่อมาเจ้าหน้าที่กระทรวงธรรมการเสนอว่าที่ดินแปลงนี้กว้างขวาง ตั้งอยู่ในทำเลระหว่างกลางจากโรงเรียนวัดสะพานสูง และโรงเรียนมัธยมวัดจันทร์สโมสร จึงเห็นสมควรที่จะย้ายนักเรียนทั้ง 2 แห่งมารวมกัน เปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และต่อมาได้ขยายชั้นเรียนจนถึงระดับมัธยมบริบูรณ์ (ม.8 หรือ ม.ศ.5 ปัจจุบันคือมัธยมศึกษาปีที่ 6) ด้วยเหตุที่ย้ายนักเรียนจากทั้งสองแห่งมาเรียนรวมกันในสถานที่แห่งใหม่ ซึ่งได้อาศัยที่ดินของกระทรวงกลาโหม และตั้งอยู่ระหว่างกองทหารหลายหน่วยงานอีกทั้งโรงเรียนและชุมชนในเขตทหารได้มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน พร้อมกันนั้นได้ตั้งชื่อโรงเรียนแห่งใหม่นี้ว่า โรงเรียนมัธยมโยธินบูรณะ ส่วนอาจารย์ใหญ่นั้นคือ คุณครูภักดิ์ ฉวีสุข ผู้ที่ได้ออกความคิดเห็นที่จะย้ายเป็นคนแรก อาคารเรียนเป็นอาคารเรือนไม้ 3 ชั้น ชั้นละ 7 ห้อง รวม 21 ห้อง อนุมัติเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2477 เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2477 โดยโรงเรียนเพาะช่างเป็นผู้ดำเนินการในราคาทั้งสิ้น 21,000 บาท และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนอีกครั้งเป็น โรงเรียนโยธินบูรณะ สืบมาจนปัจจุบัน
ทำการเปิดเรียนเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2478 โรงเรียนมัธยมโยธินบูรณะแรกเริ่มเป็นนักเรียนชายล้วน จำนวน 516 คน ครู 22 คน จำนวนห้องเรียน 18 ห้อง เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปัจจุบัน นักเรียนชายล้วนรุ่นสุดท้ายของโรงเรียนโยธินบูรณะ คือ รุ่นที่ 61 โดยหลังจากนั้นโรงเรียนโยธินบูรณะเป็นโรงเรียนสหศึกษา โดยเริ่มรับนักเรียนหญิงในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในปีการศึกษา 2538 และรับนักเรียนหญิงในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในปีการศึกษา 2541
- ในปี พ.ศ. 2541 สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานศึกษา อนุมัติให้โรงเรียนโยธินบูรณะ เป็นโรงเรียนนำร่องแห่งแรกของประเทศไทย ในการเปิดสอนโครงการฯ ภาคภาษาอังกฤษ (English Program)
- ในปี พ.ศ. 2553 โรงเรียนโยธินบูรณะได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub) จากกระทรวงศึกษาธิการ และเปิดสอนโครงการหลักสูตรนานาชาติโรงเรียนโยธินบูรณะYothinburana International Program (YBIP) หลักสูตรของเคมบริดจ์
- ในปี พ.ศ. 2556 โรงเรียนโยธินบูรณะได้เปิดสอนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ Science and Mathematics Program (SMP.) ตามหลักสูตร สสวท. และ สอวน.
โรงเรียนโยธินบูรณะในปัจจุบัน มุ่งมั่นจัดระบบการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรม สู่คูณภาพมาตรฐานสากล ปัจจุบันโรงเรียนโยธินบูรณะเป็นโรงเรียนสหศึกษา มีนักเรียนทั้งชายและหญิงทุกระดับชั้น โดยเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6
เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้อนุมัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2552 เป็นเงิน 12,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ในชื่อ สัปปายะสภาสถาน บนพื้นที่ 119 ไร่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณมุมตะวันตกเฉียงใต้ของแยกเกียกกาย จึงทำให้สถานที่ราชการต่าง ๆ ในบริเวณนั้นต้องย้ายออกไปจากบริเวณดังกล่าว ซึ่งรวมถึงโรงเรียนโยธินบูรณะด้วย แต่ว่ารัฐบาลในสมัยนายสมัคร สุนทรเวช ได้มอบพื้นที่บนถนนประชาราษฎร์ สาย 1 ห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ 2 กิโลเมตร สร้างเป็นโรงเรียนโยธินบูรณะแห่งใหม่ให้แทน โดยได้เริ่มการเรียนการสอนในพื้นที่แห่งใหม่ในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
ข้อพิพาทในส่วนการบริหารงาน แก้ไข
ในปี พ.ศ. 2550 นายวิชัย รูปขำดี ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนโยธินบูรณะ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษา และกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อให้ตรวจสอบการเรียกรับผลประโยชน์จากผู้ปกครองในการรับนักเรียน ซึ่งได้รับการร้องเรียนจากผู้ปกครองจำนวนมากเกี่ยวเนื่องกับการรับนักเรียน ม.1 และ ม.4 โดยในภาคปกติจะต้องบริจาคคนละ 30,000-50,000 บาท ส่วนภาคภาษาอังกฤษ ไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท และใบเสร็จที่ออกให้เป็นของคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ซึ่ง ผอ. โรงเรียนโยธินบูรณะได้ชี้แจงว่ามีการนำเงินไปทำโครงการต่าง ๆ เช่น ปรับปรุงห้องเรียน ปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัย ฯลฯ แต่นายวิชัยกล่าวต่อว่าทางโรงเรียนไม่ได้แจ้งจำนวนนักเรียนที่รับเพิ่ม รวมถึงไม่แจ้งจำนวนเงินที่ได้รับบริจาค และรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่างๆ และเห็นว่าเป็นการกระทำที่ผิด ซึ่งไม่เป็นไปตามประกาศ ศธ.ที่ไม่ให้เรียกรับเงิน[2]
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน แก้ไข
- คติธรรมประจำโรงเรียน "ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต" แปลว่า "ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก" [3]
- ตราประจำโรงเรียน
- คบเพลิง แสงสว่างของคบเพลิง หมายถึง ความรุ่งโรจน์แห่งปัญญา สอดคล้องกับคติธรรมประจำโรงเรียนว่า "ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต"
- กงจักร รูปกงจักรเกี่ยวกับคบเพลิง หมายถึง การก้าวไปข้างหน้า โดยอาศัยปัญญาเป็นเครื่องนำทางและพร้อมที่จะฟันฝ่าอุปสรรคทั้งปวงให้สิ้นไป
- กระหนกลายไทย กระหนกลายไทยล้อมรอบคบเพลิง กงจักร อักษรย่อ ย.บ. และคติธรรมของโรงเรียนนั้น หมายถึง ลูกโยธินบูรณะทุกคนจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรม ในขอบเขตของขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไทย
- คำขวัญประจำโรงเรียน "เรียนเด่น เล่นดี สามัคคี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม"
- เอกลักษณ์ของโรงเรียน "โยธินถิ่นคนดี"
- สีประจำโรงเรียน
- สีชมพู หมายถึง ความร่าเริง แจ่มใส ความรักสามัคคี และเสียสละ
- สีน้ำเงิน หมายถึง ความมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีวินัย และคุณธรรม
รายนามอาจารย์ใหญ่และผู้อำนวยการโรงเรียน แก้ไข
ลำดับ | รายนามอาจารย์ใหญ่[4] | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | |
1 | นายภักดิ์ ฉวีสุข | พ.ศ. 2478 | พ.ศ. 2479 | |
2 | นายเปรื่อง สุเสวี | พ.ศ. 2479 | พ.ศ. 2487 | |
3 | นายเชื้อ สาริมน | พ.ศ. 2487 | พ.ศ. 2491 | |
4 | นายสนอง สุขสมาน | พ.ศ. 2491 | พ.ศ. 2495 | |
5 | ขุนศิลปการณ์พิศิษฏิ์ (ประเสริฐ จุลฤกษ์) | พ.ศ. 2495 | พ.ศ. 2498 | |
6 | นายโปร่ง ส่งแสงเดิม | พ.ศ. 2498 | พ.ศ. 2501 | |
7 | นายเจษฏิ์ ปรีชานนท์ | พ.ศ. 2501 | พ.ศ. 2507 | |
8 | นายสุวัฒน์ กาญจวสิต | พ.ศ. 2507 | พ.ศ. 2510 | |
9 | นายจรันต์ เศรษฐบุตร | พ.ศ. 2510 | พ.ศ. 2513 | |
ลำดับ | รายนามผู้อำนวยการ | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | |
10 | นายสันทัด เมี้ยนกำเนิด | พ.ศ. 2513 | พ.ศ. 2519 | |
11 | นายสุวิต โรจน์ชีวะ | พ.ศ. 2519 | พ.ศ. 2520 | |
12 | นายถนอม ทัฬหพงศ์ | พ.ศ. 2520 | พ.ศ. 2527 | |
13 | นายรังสรรค์ สุนทรนันท์ | พ.ศ. 2527 | พ.ศ. 2534 | |
14 | นายดุสิต พูนพอน | พ.ศ. 2534 | พ.ศ. 2535 | |
15 | นายสมพงษ์ รุจิรวรรธน์ | พ.ศ. 2535 | พ.ศ. 2540 | |
16 | นายวิชัย พละเดช | พ.ศ. 2540 | พ.ศ. 2541 | |
17 | นายปรีชา สนแจ้ง (อธิบดีกรมสามัญศึกษา รักษาราชการแทนผู้อำนวยการ) |
พ.ศ. 2541 | พ.ศ. 2541 | |
18 | นายวิศรุต สนธิชัย | พ.ศ. 2541 | พ.ศ. 2546 | |
19 | นายธำรงค์ แพรนิมิตร | พ.ศ. 2546 | พ.ศ. 2549 | |
20 | นายมานพ นพศิริกุล | พ.ศ. 2549 | พ.ศ. 2551 | |
21 | ดร.วิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์ | พ.ศ. 2551 | พ.ศ. 2554 | |
22 | นายพิชยนันท์ สารพานิช | พ.ศ. 2554 | พ.ศ. 2558 | |
23 | นายอดิศักดิ์ วิไลลักษณ์ | พ.ศ. 2558 | พ.ศ. 2562 | |
24 | นายณรงค์ คงสมปราชญ์ | พ.ศ. 2562 | พ.ศ. 2564 | |
25 | นายสมเกียรติ ผ่องจิต | พ.ศ. 2564 | ปัจจุบัน |
รายนามศิษย์เก่าโรงเรียนโยธินบูรณะ แก้ไข
- นายแผน วรรณเมธี อดีตเลขาธิการอาเซียน และ เลขาธิการสภากาชาดไทย
- พลเอกวรพงษ์ สง่าเนตร สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- พลเอกปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ อดีตประธานที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย
- พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข องคมนตรี อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศของไทย
- พลอากาศเอก อานนท์ จารยะพันธุ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และ รองผู้บัญชาการทหารอากาศ
- พลตำรวจโทสัณฐาน ชยนนท์ อดีตผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจนครบาล (ผบ.ชน.)
- พลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- พลเรือตรี จตุพร ศุขเฉลิม อดีตรองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1
- ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา นักร้องเพลงลูกกรุง
- โจจิรัฏฐ์ รินทรวิฑูรย์ ผู้ประกาศข่าว ไทยทีวีสีช่อง 3
- เจษฎาภรณ์ ผลดี นักแสดงชายและพีธีกร
- พิเชษฐ์ไชย ผลดี นักแสดงชายและพีธีกร
- ณปภัช วัฒนากมลวุฒิ นักร้องสังกัดค่ายกามิกาเซ่ วงโฟร์-มด
- ธนดล นิลนพรัตน์ นักร้อง ดีเจ วีเจ และพิธีกรรายการโทรทัศน์
- ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ นักร้องและนักแสดง
- ปวริศร์ มงคลพิสิฐ นักร้องและนักแสดง
- ประวิทย์ รุจิรวงศ์ อดีตประธานสภากรุงเทพมหานคร
- พศิน เรืองวุฒิ นักแสดงชาวไทย
- ศักดา คงเพชร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- สนอง รักวานิช อดีตเทรนเนอร์มวยไทยและมวยสากลที่มีชื่อเสียง
- สมบูรณ์ จีระมะกร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา 3 สมัย
- นพดล ปัทมะ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- ศิริ สาระผล ผู้ประกาศข่าว สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
- ฉัตรฑริกา สิทธิพรม รองชนะเลิศอันดับ 2
มิสไทยแลนด์เวิลด์ 2557 นักแสดง
- ดร.นิรุทธ์ พรมบุตร อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า / อดีตผู้ช่วยคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล / อดีตอาจารย์พิเศษ โครงการ English Program โรงเรียนโยธินบูรณะ/อาจารย์พิเศษ โครงการ English Program โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ณัฐวิญญ์ วัฒนกิติพัฒน์นักแสดงและนายแบบชาวไทย
- กฤตนัย อาสาฬห์ประกิต นักแสดงในสังกัด จีเอ็มเอ็มทีวี
- เกียรติภูมิ บันลือชัยฤทธิ์ นักแสดงในสังกัดสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7และช่อง 7 เอชดี
- ณัฐทิชา จันทรวารีเลขา นักแสดงและสมาชิกวงBNK48
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ "ข้อมูลนักเรียน โรงเรียนโยธินบูรณะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-19.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ ร้อง กมธ.ศึกษาฯช่วยตรวจสอบแป๊ะเจี๊ยะ
- ↑ "วิสัยทัศน์ พันธกิจ - โรงเรียนโยธินบูรณะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-19.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "ทำเนียบผู้บริหาร - โรงเรียนโยธินบูรณะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-29. สืบค้นเมื่อ 2014-01-17.
แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข
- เฟซบุ๊กโรงเรียนโยธินบูรณะ
- สมาคมศิษย์เก่าโยธินบูรณะ เก็บถาวร 2013-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน www.yothin-alumni.com
- เว็บไซต์โรงเรียนโยธินบูรณะ www.yothinburana.ac.th
- เว็บไซต์โครงการภาคภาษาอังกฤษโยธินบูรณะ เก็บถาวร 2012-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน www.epyothin.net
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนโยธินบูรณะ
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°48′50″N 100°31′15″E / 13.81386°N 100.52073°E