ศักดา คงเพชร
ศักดา คงเพชร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สังกัดพรรคเพื่อไทย แกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา[1]
ศักดา คงเพชร | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 18 มกราคม – 28 ตุลาคม 2555 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สุรพงศ์ อึ้งอัมพรวิไล |
ถัดไป | เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 มีนาคม พ.ศ. 2504 อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
คู่สมรส | จิตรา คงเพชร |
ประวัติ แก้
ศักดา คงเพชร เกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2504[2] เป็นบุตรของนายประวิทย์ กับนางบัวเรียน คงเพชร จบการศึกษาชั้นมัธยมปลายจากโรงเรียนโยธินบูรณะ และปริญญาตรีทางด้านศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
ศักดา คงเพชร สมรรสกับนางจิตรา คงเพชร (สกุลเดิม อินทร์โสม) สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด[3]
การทำงาน แก้
ศักดา คงเพชร เริ่มเข้าสู่งานการเมืองในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคชาติไทย ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 จึงย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ กระทั่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมา ในนามของพรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย[4]
ศักดา คงเพชร เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา) และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (2)[5] แต่จากการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน โดยสำนักเอแบคโพล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 เขาเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนไม่รู้จัก เป็นลำดับที่ 8[6] จนกระทั่งในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน เขาถูกปรับออกจากตำแหน่งดังกล่าว
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แก้
ศักดา คงเพชร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลงานของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยผลงานที่สำคัญคือ การจัดตั้งสถาบันอาชีวศึกษาเกษตร จำนวน 4 แห่ง เพื่อขยายโอกาสให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สามารถเปิดสอนในระดับปริญญาตรีได้[7] รวมทั้งการสานต่อการสืบสวนกรณีการทุจริตจัดซื้อครุภัณฑ์อาชีวศึกษา ในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา ซึ่งมีนางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ เป็นรัฐมนตรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิง แก้
- ↑ เปิดประวัติรมต.ใหม่ ครม. "ยิ่งลักษณ์ 2" เก็บถาวร 2014-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก มติชน
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายศักดา คงเพชร[ลิงก์เสีย]
- ↑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรที่ได้รับเลือกตั้งทั่วไปของจังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่างปี 2476 - ปัจจุบัน เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดร้อยเอ็ด
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
- ↑ "เปิดชื่อ 10 อันดับรัฐมนตรีที่ปชช.พอใจและ 10 อันดับรมต. โลกลืม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-09. สืบค้นเมื่อ 2013-02-10.
- ↑ ตามติดผลงาน... รมต. 'ศักดา คงเพชร' กับภารกิจขับเคลื่อน 'อาชีวศึกษา'
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
แหล่งข้อมูลอื่น แก้
- ประวัติจาก พรรคเพื่อไทย เก็บถาวร 2012-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน