ประวิทย์ รุจิรวงศ์
ประวิทย์ รุจิรวงศ์ นักธุรกิจชาวไทย[1] และอดีตนักการเมืองท้องถิ่น ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
นายประวิทย์ เกิดเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2484 เป็นบุตรชายของ พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ และคุณหญิงน้อย รุจิรวงศ์
จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล, โรงเรียนโยธินบูรณะและสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน จากนั้นได้เดินทางไปฝึกงานต่อยังประเทศอังกฤษเป็นระยะเวลา 3 ปี[2]
เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และดำรงตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร เป็นคนที่ 7 ด้วย ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 ถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 [3] จากนั้นได้ลงเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2533 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยได้คะแนนมาเป็นลำดับที่สาม ได้ทั้งหมด 60,947 คะแนน[4]
นายประวิทย์ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557 มีการพระราชทานเพลิงศพขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 เวลา 17.00 น. ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)[6]
- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ บวรวงศ์ (มวลชนพัฒนาฯ พ.ศ. 2510) บริษัทเก็บค่าต๋งเหล้าเมื่อ 18 ปีที่แล้ว
- ↑ "ข้อมูลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครปี พ.ศ. 2547". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-07-18.
- ↑ รายนามประธานสภากรุงเทพมหานคร
- ↑ สถิติ คะแนนที่ได้รับเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม.
- ↑ "คอลัมน์: ฮอต-ทูเดย์". ไทยโพสต์. 28 August 2014. สืบค้นเมื่อ 31 August 2014.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙