แยกเกียกกาย เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนประชาราษฎร์ สาย 1, ถนนทหาร และถนนสามเสน ในพื้นที่แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

สี่แยก เกียกกาย
แผนที่
ชื่ออักษรไทยเกียกกาย
ชื่ออักษรโรมันKiak Kai
รหัสทางแยกN369 (ESRI), 097 (กทม.)
ที่ตั้งแขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนประชาราษฎร์ สาย 1
» บางโพ
ถนนทหาร
» สะพานแดง
ถนนสามเสน
» บางกระบือ
ถนนทหาร
» ท่าน้ำเกียกกาย

คำว่า "เกียกกาย" เป็นศัพท์โบราณที่ใช้เรียกกองทหารส่วนดูแลเสบียง หรือเทียบได้กับกองพลาธิการ ในยุคปัจจุบัน รอบ ๆ แยกเกียกกายเป็นแหล่งที่ตั้งของค่ายทหารต่าง ๆ ในส่วนของกองทัพบก เช่น กองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์, กองพันทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์, กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน, กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ สถานีวิทยุกระจายเสียง ศูนย์การทหารม้า (วิทยุยานเกราะ) เป็นต้น ซึ่งหลายแห่งได้เป็นหน่วยที่ได้เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ความเปลี่ยนแปลงของประเทศชาติในหลายยุคสมัย เช่น การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475, เหตุการณ์ 6 ตุลา, กบฏเมษาฮาวาย หรือกบฏ 9 กันยา เป็นต้น[1][2]

และเคยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนโยธินบูรณะ ที่อยู่ฝั่งถนนสามเสน ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ คือ สัปปายะสภาสถาน แม้จะมีการคัดค้านไม่เห็นด้วยจากนักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน แต่ทว่าไม่สำเร็จ ทำให้ที่สุดทางโรงเรียนต้องย้ายออกไปตั้ง ณ ที่แห่งใหม่ คือ บริเวณสะพานพระราม 7 บนถนนประชาราษฎร์สาย 1 ซึ่งอยู่ถัดออกไปทางทิศเหนือในพื้นที่แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ [3]

รูปแบบของทางแยก

แก้
  • ถนนระดับดินผ่านตลอดของถนนทุกสายเมื่อเลี้ยวซ้ายเข้าถนนที่อยู่ติดกัน
  • สัญญาณไฟจราจรของรถในถนนระดับดินที่ต้องการตรงไปและเลี้ยวขวา

อ้างอิง

แก้
  1. ตันติวิทยาพิทักษ์, วันชัย (2017-06-24). "24 มิถุนายน 2475 ยุทธการพลิกแผ่นดินสยาม". 101.
  2. chronomist (2010-01-28). "เมื่อ 'ป๋าเปลว' มีเรื่องมาเล่า รู้แล้วเหยียบไว้". โอเคเนชั่น.
  3. เหมียวฟื้น (2016-01-31). "พาทัวร์โรงเรียนโยธินบูรณะแห่งใหม่ ยิ่งใหญ่อลังการอย่างกับห้างก็มิปาน!!". CatDumb. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-23. สืบค้นเมื่อ 2018-03-08.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°47′50″N 100°31′17″E / 13.797303°N 100.521347°E / 13.797303; 100.521347