อุทยานแห่งชาติเขาค้อ

อุทยานแห่งชาติเขาค้อ เป็นอุทยานแห่งชาติในท้องที่อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอเขาค้อ และอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์

Khao Kho National Park
อุทยานแห่งชาติเขาค้อ
แผนที่
ที่ตั้งอำเภอเขาค้อ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
พิกัด16°40′00″N 100°58′00″E / 16.6667°N 100.9667°E / 16.6667; 100.9667
พื้นที่483 km2 (302,000 rai)[1]
จัดตั้ง19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555[2]
ผู้เยี่ยมชม33,609[3] (2562)
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ประวัติ แก้

อุทยานแห่งชาติเขาค้อจัดตั้งอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 อยู่ในพื้นที่ของจังหวัดเพชรบูรณ์ บริเวณเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาโปลกหล่น ซึ่งเดิมนั้นเป็นวนอุทยานน้ำตกธารทิพย์ เดิมมีเนื้อที่ประมาณ 14 ตารางกิโลเมตร หรือ 8,750 ไร่

ลักษณะภูมิประเทศ แก้

มีลักษณะเป็นภูเขาทอดยาวตามแนวทิศเหนือไปทิศใต้ ตอนบนสุดเป็นภูเขาสูงชัน มีความสูง จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 155 เมตร จนถึง จุดสูงสุด 1,593 เมตร และเนื่องจากภูเขาในแถบนี้เป็นภูเขาที่การจากการยกตัวในอดีตทำให้มีลักษณะเป็นภูเขาหินทรายยอดราบ หรือมีที่ราบอยู่บานยอดเขา เช่น แหล่งท่องเที่ยวของเพชรบูรณ์ “ภูทับเบิก” เป็นภูสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,786 เมตร และบริเวณตอนใต้ของพื้นที่สำรวจในเขตอำเภอเขาค้อ และอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ (บริเวณเขาย่า) จะมีลักษณะเป็นสันเขายาวลาดลงทางทิศเหนือ – ตะวันตก แต่บริเวณเชิงเขาค้อ ในเขตอำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอเขาค้อ (ทางส่วนตะวันตก) จะเป็นหน้าผาสลับซับซ้อน อันเนื่องมาจากการกัดเซาะ เพราะบริเวณขอบเขานั้น เป็นหินทรายที่ยังจับตัวกันไม่แน่น ทำให้ง่ายต่อการกัดเซา[5]

เขาค้อเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำลำธาร มากมายหลายสายซึ่งทางด้านทิศตะวันออก จะไหลลงสู่แม่น้ำป่าสัก ส่วนทางด้านทิศตะวันตกจะไหลลงสู่ แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน[6]

ลักษณะภูมิอากาศ แก้

ฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายน-กลางเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิค่อนข้างหนาวเย็น ฤดูร้อน ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 21.93 องศาเซลเซียส อากาศค่อนข้างร้อนช่วงกลางวัน ฤดูฝน ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนค่อนข้างสูง ถึงประมาณ 1,425.75 มิลิเมตรต่อปี มีฝนตกปีละ 126 วัน จะมีฝนตกชุก 70% ของทั้งปี

ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า แก้

อุทยานแห่งชาติเขาค้อมีทั้งป่าธรรมชาติและป่าปลูก (เป็นป่าปลูกกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่) ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังหรือป่าแดง ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า มีพันธุ์ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ยาง สัก ประดู่ แดง มะค่าโมง เต็ง รัง ตะเคียนทอง สนเขา ก่อ สมุนไพร กล้วยไม้ป่าต่างๆ นอกจากนี้ยังพบสัตว์ป่า เช่น ช้างป่า เสือไฟ หมูป่า กระจง เม่น กระต่ายป่า ค่าง อีเห็น ตะกวด ไก่ป่า ลิงลมหรือนางอาย งูชนิดต่าง ๆ และนกชนิดต่าง ๆ มากกว่า 100 ชนิด[7][8]

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "เขาค้อ". กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. สืบค้นเมื่อ 14 July 2021.
  2. "พระราชกฤฐีกา กำหนดบริเวณที่ดินป่าโคกซำซาง ป่าเขาโปลกหล่น ป่าเขาปางก่อ และป่าวังชมภู ในท้องที่ตำบลนาซำ ตำบลหินฮาว ตำบลวังบาล คำบลบ้านเนิน อำเภอหล่มเก่า ตำบลน้ำก้อ ตำบลน้ำชุน ตำบลบุ่งน้ำเต้า ตำบลบุ่คล้า อำเภอหล่มสัก ตำบลแคมป็สน ตำบลทุ่งสมอ ตำบลเขาค้อ ตำบลริมสีม่วง ตำบลสะเดาะพง ตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ และตำบลท่าพล ตำบลป่าเลา อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (43 Kor): 1–3. 18 May 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-28. สืบค้นเมื่อ 15 January 2021.
  3. "สถิตินักท่องเที่ยวที่เข้าไปในอุทยานแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศง2562". กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2019. สืบค้นเมื่อ 16 February 2021, no.97 Khao Kho N.P.{{cite web}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  4. "Protected areas". UNEP-WCMC. 2020. สืบค้นเมื่อ 4 October 2021.
  5. "Khao Kho National Park". GibbonWoot (managing company). 2021. สืบค้นเมื่อ 20 July 2021, Thai National Parks website is NOT an official government website of the Department of National Parks. T.A.T. license 12/02497.{{cite web}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  6. "NATIONAL PARKS in THAILAND: Khao Kho National Park" (PDF). Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. 2015. p. 35. สืบค้นเมื่อ 26 May 2017.
  7. "Khao Khor National park". Avibase - The World Bird Database. สืบค้นเมื่อ 20 October 2021.
  8. "Khao Kho NP--Khao Ya Ranger Station - Pha Khoy Ther". Birdlife. สืบค้นเมื่อ 20 October 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้