โรงเรียนอำนวยศิลป์
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
โรงเรียนอำนวยศิลป์ (Amnuay Silpa School) เป็นโรงเรียนเอกชน ประเภทสหศึกษา ตั้งอยู่ที่ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร เปิดสอนระดับอนุบาล ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โรงเรียนก่อตั้งในปี พ.ศ. 2469 เดิมเป็นโรงเรียนชายล้วนในช่วงแรก จิตร ทังสุบุตร เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นเจ้าของโรงเรียน ภายหลังเขาจัดตั้งมูลนิธิเพื่อการศึกษาที่ไม่แสวงหากำไร มูลนิธิอำนวยศิลป์
ในอดีตโรงเรียนมีความเจริญก้าวหน้าในสาขาอาชีพต่าง ๆ ถึงปี 2528 เมื่ออาภรณ์รัตน์ รัตนทารส เข้ามารับช่วงบริหารงาน โรงเรียนอำนวยศิลป์มีนักเรียนมากที่สุดถึงกว่า 7,000 คน จนต้องจัดการเรียนการสอนเป็นวันละ 2 รอบ (ภายหลังลดจำนวนนักเรียนเหลือ 1,500 คน) ต่อมาเมื่อเพชรชุดา (รัตนทารส) เกษประยูร เข้ามาบริหาร มีความเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนเครื่องแบบนักเรียน การทำโครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียน การจับมือกับ Bell Education Trust จากประเทศอังกฤษ และการก่อสร้างอาคารเรียนชั้นมัธยมใหม่มูลค่า 60 ล้านบาท เริ่มสร้างตุลาคม พ.ศ. 2547 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2549[1]
ปัจจุบันโรงเรียนอำนวยศิลป์ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสภาโรงเรียนนานาชาติ (Council of International Schools หรือ CIS) เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 นับเป็นโรงเรียนสองภาษาแห่งแรกของไทยที่ได้รับการรับรองนี้ และยังเป็นศูนย์สอบหลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จัดการสอบ IGCSE/A Level สำหรับการศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานจากมหาวิทยาลัย Exeter สหราชอาณาจักรให้เป็นโรงเรียนการคิด (Thinking School) และต่อมาได้เลื่อนสถานะเป็นโรงเรียนการคิดระดับความเชี่ยวชาญขั้นสูง (Advanced Thinking School) แห่งที่ 21 ของโลก[2]
โรงเรียนอำนวยศิลป์ มีนักเรียนเก่าของโรงเรียนเคยดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีของไทย 5 ท่าน คือ 1.พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ 2.นายอานันท์ ปันยารชุน 3.พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ 4.พลเอกสุจินดา คราประยูร และ 5.นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แก้- พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรีไทย
- พลเอก สุจินดา คราประยูร อดีตนายกรัฐมนตรีไทย อดีตผู้บัญชาการทหารบก
- อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีไทย
- ชาลี อินทรวิจิตร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้ประพันธ์คำร้อง-ผู้กำกับภาพยนตร์) ประจำปี พ.ศ. 2536
- อำนาจ สอนอิ่มสาตร์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกวุฒิสภา และนักจัดรายการวิทยุ
- นคร ถนอมทรัพย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ประพันธ์และขับร้อง) ประจำปี พ.ศ. 2555
- พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรีไทย อดีตผู้บัญชาการทหารบก และ อดีตรักษาราชการผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีไทย
- บัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- สมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี
- พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก อดีตผู้บัญชาการทหารบก
- พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี อดีตผู้บัญชาการทหารบก
- พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผู้บัญชาการทหารบก
- พลเรือเอก กำธร พุ่มหิรัญ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ
- พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก
- ศาสตราจารย์(พิเศษ) เภสัชกร ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา และ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร
- ปิยะ อังกินันทน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี 6 สมัย
- สรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรรายการโทรทัศน์และผู้ประกาศข่าว
- รองศาสตราจารย์นเรศร์ เกษะประกร คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์
- พิสุทธิ์ ทรัพย์วิจิตร นักร้อง นักแต่งเพลง
- ชาติชาย งามสรรพ์ นักแสดง
- ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ นักแสดง
- สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขต 3 สังกัดพรรคภูมิใจไทย
- ยอดกมล เรืองเดช (อาจารย์ยอด) (ชื่อเดิม:ปรีชา) อดีตนักจัดรายการวิทยุ นักเล่านิทานธรรมะ ทางช่องยูทูบ:อาจารย์ยอด
- กอบโชค คล้ายสำริด (เฉื่อย ระเบิดเถิดเทิง) นักแสดงตลก
อ้างอิง
แก้- ↑ "เพชรชุดา รัตนทารส เกษประยูร : Education Innovator". โพซิชันนิงแมก.
- ↑ ""อำนวยศิลป์" รร.สองภาษาแห่งแรกไทย คว้ามาตรฐานสภารร.นานาชาติ". สยามรัฐออนไลน์.