ชาลี อินทรวิจิตร

ชาลี อินทรวิจิตร (6 กรกฎาคม พ.ศ. 2465 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564) เป็นผู้ประพันธ์คำร้อง ผู้กำกับภาพยนตร์ ได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้ประพันธ์คำร้อง-ผู้กำกับภาพยนตร์) ประจำปีพุทธศักราช 2536 มีผลงานประพันธ์คำร้องเพลงที่มีชื่อเสียง ได้แก่ สดุดีมหาราชา, แสนแสบ, ท่าฉลอม, สาวนครชัยศรี, ทุ่งรวงทอง, มนต์รักดอกคำใต้, แม่กลอง, เรือนแพ, จำเลยรัก หลงเงา ไม่อยากให้โลกนี้มีความรัก รักเธอเสมอ กรุงเทพ ป่าลั่น บ้านเรา ฉันรอจูบจากเธอ ฯลฯ

ชาลี อินทรวิจิตร
ชาลี อินทรวิจิตร.jpg
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด6 กรกฎาคม พ.ศ. 2465
สง่า อินทรวิจิตร
จังหวัดสมุทรสาคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (98 ปี)
โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสศรินทิพย์ ศิริวรรณ (2490 - 2530)
ธิดา อินทรวิจิตร (2540 - 2564)[1]
อาชีพนักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์
ปีที่แสดงพ.ศ. 2489 - 2564
ศิลปินแห่งชาติพ.ศ. 2536 - สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์ ดนตรี-ประพันธ์คำร้อง)
พระสุรัสวดีเพลงประกอบยอดเยี่ยม

พ.ศ. 2507 - ลูกทาส
นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม

พ.ศ. 2527 - คาดเชือก
ThaiFilmDb

ประวัติแก้ไข

เดิมชื่อ สง่า อินทรวิจิตร เกิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2465 ที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร จบการศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟรุ่นแรก แผนกการเดินรถ คุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ เคยกล่าวไว้ในตอนหนึ่งของหนังสือ "คอนเสิร์ตเชิดชูครูเพลง ครั้งที่ 2 ชาลี อินทรวิจิตรว่า" " ชาลีฯ ก่อนเล่นละครเป็นนักร้องลูกศิษย์ครูล้วน ควันธรรม ก่อนเป็นนักร้องเขาเป็นนักเรียนวิศวกรรมรถไฟรุ่นแรก พร้อมที่จะเป็นนายสถานีรถไฟผู้เคาะโทรเลขได้สมบูรณ์แบบ แต่เขาเลือกมาเคาะจังหวะเพลงและเป็นศิษย์รุ่นแรกแถวหน้าของครูล้วนฯ ร้องเพลงได้กระทบยอดไหล่กับสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์"

ชาลี อินทรวิจิตร มีผลงานประพันธ์คำร้องเพลงเกือบ 1,000 เพลง มีผลงานการแสดง เช่น สวรรค์มืด (2501), จอมใจเวียงฟ้า (2505), ไอ้ผาง ร.ฟ.ท. (2525) และกำกับภาพยนตร์อีกจำนวนมาก เช่น ปราสาททราย (2512), กิ่งแก้ว (2513) และ สื่อกามเทพ (2514) เป็นต้น

สมรสกับนักแสดงหญิง ศรินทิพย์ ศิริวรรณ แต่หายไประหว่างการถ่ายทำเรื่อง อีจู้กู้ปู่ป้า ของ กำธร ทัพคัลไลย เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2530 จนถึงปัจจุบันยังไม่พบตัว ภายหลังเหตุการณ์นั้น ชาลี ได้แต่งเพลงเพื่อระลึกถึง โดยใช้ทำนองเพลง Aubrey ของเดวิด เกตส์แห่งวงเบรด (Bread) ใช้ชื่อเพลงว่า เมื่อเธอจากฉันไป ขับร้องโดย พรพิมล ธรรมสาร

ชาลี อินทรวิจิตร ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เมื่อเวลา 00:45 น. สิริรวมอายุได้ 98 ปี หลังเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชด้วยโรคหัวใจและเบาหวาน[2][3] ในการนี้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พร้อมหีบทองลายสลัก ฉัตรเบญจาตั้งประดับ เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศ โปรดเกล้าฯให้ พล.อ.อ.เกษม อยู่สุข​ หัวหน้าสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ เชิญพวงมาลาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมี นางพรพิมล มั่นฤทัย เป็นประธานในพิธี ณ ศาลา 9-11 วัดธาตุทอง

ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชทานแทนพระองค์ไปในการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ ชาลี อินทรวิจิตร ณ วัดธาตุ​ทอง ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2565[4][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]

ผลงานแสดงภาพยนตร์แก้ไข

  • รักยม (2512)
  • สื่อกามเทพ (2514)
  • เหนือพญายม (2514)
  • โสมสลัว (2517)
  • ปล้นครั้งสุดท้าย (2518)
  • ผีเพื่อนรัก (2521)
  • ลูกทาส (2522)
  • รักข้ามคลอง (2524)
  • คุณรักผมไหม (2525)
  • ดาวพระเสาร์ (2525)
  • เพชรตัดหยก (2525) รับบท เฒ่าชือผ่า
  • ไอ้ผาง ร.ฟ.ท. (2525)
  • ยอดพยัคฆ์นักเพลง (2526) รับบท ชาลี
  • มังกรห้าเล็บ (2526)
  • พยัคฆ์ยี่เก (2526) รับบท หมอทองดี
  • ข้ามากับพระ (2527)
  • ยุทธการกระดูกอ่อน (2527)
  • เด็กปั้ม (2527)
  • ไอ้หนุ่มรถอีแต๋น (2527)
  • ที่รักจ๋า (2527)
  • คาดเชือก (2527)
  • ที่รัก เธออยู่ไหน (2528)
  • เขยบ้านนอก (2528) รับบท รัฐมนตรีสุพจน์
  • หยุดโลกเพื่อเธอ (2528) รับบท โออาชิ
  • นวลฉวี (2528)
  • วัยเรียนเพี้ยนรัก (2528)
  • รัตนาวดี (2528)
  • คนดีที่บ้านด่าน (2528)
  • ทับทิมโทน (2528)
  • เครื่องแบบสีขาว (2529)
  • สิ้นสวาท (2529) รับบท พ่อพชร
  • แรงหึง (แรงเงา) (2529) รับบท ผู้อำนวยการกระทรวง (พ่อของนพนภา)
  • ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท (2529) รับบท ชิดชงค์
  • ปัญญาชนก้นครัว (2530)
  • ด้วยเกล้า (2530)
  • ไฟหนาว (2530)
  • เรารักกันนะ (2530)
  • เมียนอกหัวใจ (2530)
  • พี่เลี้ยง (2531)
  • วิวาห์ไฟ (2531)
  • นางกลางไฟ (2531)
  • เรือนแพ (2532)
  • เทวดาตกสวรรค์ (2532)
  • พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ (2532)
  • ถึงคราวจะเฮง (2533)
  • บุญชู 5 เนื้อหอม (2533) รับบท อธิการบดี
  • ส.อ.ว.ห้อง 2 รุ่น 44 (2533)
  • บุญชู 6 โลกนี้ดีออกสุดสวยน่ารักน่าอยู่ ถ้าหงุ่ย (2534) รับบท พ่อของทองดี
  • เจาะเวลาหาโก๊ะ (2534)
  • บุญชู 7 รักเธอคนเดียวตลอดกาลใครอย่าแตะ (2536) รับบท พ่อค้าขายของชำ
  • กอดคอกันแหวว (2536)
  • อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 (2539)
  • ไม้ที พู่กัน แอนด์โซ่ยตี๋ (2539)
  • ลับแลคนมหัศจรรย์ (2540)
  • เสือ โจรพันธุ์เสือ (2541)
  • โรงแรมผี (2545) รับบท ทนายบุญเพิ่ม

ผลงานแสดงละครโทรทัศน์แก้ไข

  • ดวงตาสวรรค์ (2515)
  • บุญชู สระอูยาว (2541)
  • มะนาวหวาน (2542)

คอนเสิร์ตแก้ไข

  • คอนเสิร์ต เชิดชูครูเพลง ครั้งที่ 2 ชาลี อินทรวิจิตร (2536)
  • คอนเสิร์ต รักเธอเสมอ (24 กันยายน 2554)
  • คอนเสิร์ต 89 ปี ชาลี อินทรวิจิตร (25 - 26 สิงหาคม 2555)
  • คอนเสิร์ต เพลงคู่ ครูเพลง (7 ตุลาคม 2555)
  • คอนเสิร์ต เพลงทำนอง...สองครู (29-30 มิถุนายน 2556)
  • คอนเสิร์ต 100 ปี กาญจนะผลิน (7 กันยายน 2557)
  • คอนเสิร์ต ที่สุดที่ดี เพื่อพี่รี่ สวลี ผกาพันธุ์ (8 สิงหาคม 2558)
  • คอนเสิร์ต 93 ปี ชาลี อินทรวิจิตร เพลงหนังคู่แผ่นดิน (5 มิถุนายน 2559)

ผลงานเพลงประกอบภาพยนตร์แก้ไข

  • ทุ่งมหาราช (2513)
  • จำเลยรัก (2521)
  • ดอกแก้ว (2523)
  • ค่าของคน (2524)
  • ไอ้หนึ่ง (2525)
  • น้ำเซาะทราย (2529)
  • ฉันรักผัวเขา (2530)
  • คู่กรรม (2531)
  • ความรัก (2531)
  • เรือนแพ (2532)
  • ครูจันทร์แรม (2535)
  • หอบรักมาห่มป่า (2537)

ผลงานกำกับภาพยนตร์แก้ไข

  • ความรักเจ้าขา (2512)
  • สายใจ (2512)
  • ปราสาททราย (2512)
  • กิ่งแก้ว (2513)
  • สื่อกามเทพ (2514)
  • สวนสน (2515)
  • ขอบฟ้าเขาเขียว (2516)
  • ใครจะร้องไห้เพื่อฉัน (2517)
  • ประทีปอธิษฐาน (2517)
  • ผยอง (2518)
  • โซ่เกียรติยศ (2518)
  • นางสาวลูกดก (2519)
  • มันทะลุฟ้า (2520)
  • ขอเช็ดน้ำตาให้ตัวเอง (2521)
  • เกวียนหัก (2521)
  • ชั่วฟ้าดินสลาย (2523)
  • ฝนตกแดดออก (2523)
  • เจ้าพายุ (2523)
  • สายใจ (2524)
  • ไอ้หนึ่ง (2525)
  • มันมาจากโลกันต์ (2525)
  • เพลงรักก้องโลก (2526)
  • ยันต์สู้ปืน (2527)
  • ลูกสาวคนใหม่ (2527)
  • น้ำเซาะทราย (2529)
  • ความรัก (2531)
  • ยิ้มนิดคิดเท่าไหร่ (2532)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. ย่าง 99 ปี ชาลี อินทรวิจิตร ครูเพลงอมตะ เตือนมหันตภัย “การพนัน”
  2. "ชาลี อินทรวิจิตร เสียชีวิตแล้ว ปิดตำนานศิลปินแห่งชาติ 5 แผ่นดิน". ประชาชาติ. 2021-05-05. สืบค้นเมื่อ 2021-05-05.
  3. สิ้นศิลปินแห่งชาติ "ครูชาลี อินทรวิจิตร"
  4. "หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ ครูชาลี อินทรวิจิตร". เฟซบุ๊ก. 2021-11-20. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า 4 เล่ม 115 ตอน 8 4 พฤษภาคม 2541
  6. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า 19 เล่ม 114 ตอน 29 16 ธันวาคม 2540

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข