อาทิตย์ กำลังเอก
พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก (31 สิงหาคม พ.ศ. 2468 – 19 มกราคม พ.ศ. 2558) เป็นนายพลชาวไทย เป็นผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ท่านเป็นผู้มีอิทธิพลอย่างยิ่งในสมัยรัฐบาลของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์
อาทิตย์ กำลังเอก | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ดำรงตำแหน่ง 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2526 – 30 กันยายน พ.ศ. 2529 | |
ก่อนหน้า | พลเอก สายหยุด เกิดผล |
ถัดไป | พลเอก สุภา คชเสนี |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2525 – 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 | |
ก่อนหน้า | พลเอก ประยุทธ จารุมณี |
ถัดไป | พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ |
รักษาการหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา | |
ดำรงตำแหน่ง 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2541 | |
ก่อนหน้า | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ถัดไป | กร ทัพพะรังสี |
หัวหน้าพรรคปวงชนชาวไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 – 21 มกราคม พ.ศ. 2535 | |
ก่อนหน้า | ระวี วันเพ็ญ |
ถัดไป | พล เริงประเสริฐวิทย์ |
ประธานที่ปรึกษาพรรคสามัคคีธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 21 มกราคม พ.ศ. 2535 – 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 | |
ก่อนหน้า | สถาปนาตําแหน่ง |
ถัดไป | ตําแหน่งถูกยุบ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 สิงหาคม พ.ศ. 2468 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 19 มกราคม พ.ศ. 2558 (89 ปี) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ถ.ราชวิถี แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวีกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ปวงชนชาวไทย (2531–2535) สามัคคีธรรม (2535) ชาติพัฒนา (2535–2543) |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงประภาศรี กำลังเอก (3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 - 11 มีนาคม พ.ศ. 2526) นางพรสรร กำลังเอก (พ.ศ. 2533 - 19 มกราคม พ.ศ. 2558) |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2487–2529 |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก[1] |
บังคับบัญชา | กองบัญชาการทหารสูงสุด, กองทัพบกไทย |
ผ่านศึก | สงครามมหาเอเชียบูรพา สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม |
ประวัติ
แก้สื่อมวลชนเรียกเล่น ๆ ว่า "บิ๊กซัน" เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของร.ต. พิณ และสาคร กำลังเอก ชีวิตครอบครัวสมรสกับ ท่านผู้หญิงประภาศรี กำลังเอก (3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 - 11 มีนาคม พ.ศ. 2526) [2]บุตรธิดา 3 คน คือ
- พล.อ. ฐิติวัจน์ กำลังเอก ราชองครักษ์พิเศษ[3]กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง[4] ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ บริษัท เอ็ม.ซี.เอส.สตีล จำกัด (มหาชน) และสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
- พ.ต.อ. ทินภัทร กำลังเอก (เสียชีวิต)
- พล.ท. คุณหญิงเวณิกา ทวีชัยการ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
และสมรสครั้งที่ 2 กับนางพรสรร กำลังเอก (พ.ศ. 2533 - 31 มกราคม พ.ศ. 2558) ธิดาของ ดร.ถาวร พรประภา กับ ดร.อุษา พรประภา[5] มีบุตรบุญธรรม 1 คน คือ ร.อ. ประพุทธ กำลังเอก (พระประพุทธ พุทฺธิพโล)
การศึกษา
แก้สำเร็จชั้นประถมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนพรหมวิทยามูล เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร (โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร ในปัจจุบัน) เลขประจำตัว 3827 สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยม 6 ในปี พ.ศ. 2484 และโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร เข้าศึกษาโรงเรียนเตรียมทหารบก รุ่นที่ 5 (ตทบ. 5) ระหว่าง พ.ศ. 2487 - 2491 รุ่นเดียวกับ [6]
ตำแหน่งทางทหารและการเมือง
แก้พล.อ. อาทิตย์ เคยได้รับฉายาว่า "วีรบุรุษสะพานมัฆวาน" จากกรณีที่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประชาชนเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 โดยที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้นได้สั่งห้ามทหารทำร้ายประชาชนโดยเด็ดขาดและเปิดทางให้ขบวนประท้วงเดินข้ามสะพานมัฆวานรังสรรค์ไปจนถึงทำเนียบรัฐบาลได้โดยดีโดย พล.อ. อาทิตย์ เป็นหนึ่งในกลุ่มทหารเหล่านั้น ขณะนั้นยังมียศเพียงร้อยเอก[7] [8]
ในเหตุการณ์กบฏเมษาฮาวาย พ.ศ. 2524 พล.อ. อาทิตย์ ขณะที่ยศ "พลตรี" มีตำแหน่งเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 2 ถือเป็นกำลังสำคัญในการปราบกบฏทำให้ได้เลื่อนยศและตำแหน่งสู่แม่ทัพภาคที่ 1 และผู้บัญชาการทหารบกในเวลาต่อมา[8]
พล.อ. อาทิตย์ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2525 ต่อจาก พล.อ. ประยุทธ จารุมณี ที่เกษียณอายุราชการจากนั้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2526 ต่อจากพล.อ. สายหยุด เกิดผล โดยดำรงตำแหน่งทั้งสองควบคู่กัน
ขณะนั้นพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง โดย สมหมาย ฮุนตระกูล ลดค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 ถึง 14.8% จาก 23 บาท เป็น 27 บาท ต่อ ดอลลาร์สหรัฐ พล.อ. อาทิตย์ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างรุนแรง[9] ทำให้เกิดความบาดหมางจน พล.อ. อาทิตย์ ไม่ได้รับการต่ออายุราชการและถูกปลดจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกอย่างกะทันหันเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 ทำให้เหลือตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียวและแต่งตั้งพล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ดำรงตำแหน่งแทน [10]
หลังเกษียณอายุราชการในตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ. อาทิตย์ เข้าสู่การเมือง โดยก่อตั้ง พรรคปวงชนชาวไทย สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2[11][12] ในขณะนั้นเกิดความตึงเครียดระหว่างรัฐบาล กับคณะนายทหารทั้งสามเหล่าทัพ ซึ่งนำโดยกลุ่มทหาร จปร. 5 พลเอกชาติชายจึงแต่งตั้ง พล.อ. อาทิตย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[13] เพื่อคานอำนาจโดยมีข่าวลือว่าพลเอกอาทิตย์จะปลดนายทหาร จปร. 5 ออกจากตำแหน่งทั้งหมดกลุ่มนายทหารจึงชิง รัฐประหาร เสียก่อน แต่ยังไม่ทันได้ปฏิบัติหน้าที่ก็ถูกจี้จับตัวโดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นำโดยพล.อ. สุจินดา คราประยูร ขณะกำลังเดินทางไปเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณตนที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534[10]
หลัง พฤษภาทมิฬ พรรคปวงชนชาวไทยของพลเอกอาทิตย์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น พรรคชาติพัฒนา โดยมีพล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าพรรคในปี พ.ศ. 2543 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาประจำจังหวัดเลย[14]
วาระสุดท้ายของชีวิต
แก้พล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก ป่วยและรักษาตัวมาระยะหนึ่ง จนเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 จึงเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้ามาเป็นระยะ ๆ แล้วมีอาการติดเชื้อที่ปอด จนเมื่อเวลา 06.20 น. วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558 ได้ถึงแก่อนิจกรรมด้วยวัย 89 ปี 141 วัน
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลารับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พร้อมทั้งพระราชทานโกศแปดเหลี่ยม ฉัตรเบญจา ตั้งประกอบเป็นเกียรติยศ ณ ศาลาร้อยปีปิยมหาราชอนุสรณ์ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร พร้อมนี้พระราชทานพวงมาลาหลวง และพวงมาลาของพระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งหน้าโกศศพ พร้อมทั้งรับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์มีกำหนด 7 คืน
และเมื่อถึงวาระพระราชทานเพลิงศพ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ พล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559 เวลา 17.00 น.
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[15]
- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[16]
- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[17]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.)[18]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[19]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[20]
- พ.ศ. 2495 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[21]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[22]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[23]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[24]
- พ.ศ. 2502 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[25]
- พ.ศ. 2524 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[26]
เครื่องอิสริยาภรณ์สากล
แก้- สหประชาชาติ :
- พ.ศ. 2495 - เหรียญสหประชาชาติเกาหลี[27]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- เกาหลีใต้ :
- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2527 - ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา[30]
- มาเลเซีย :
- พ.ศ. 2527 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ยัง มูเลีย ปังกวน เนการา ชั้นที่ 2[31]
- เยอรมนี :
- พ.ศ. 2527 - เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 1 (พิเศษ)[32]
- ออสเตรีย :
- พ.ศ. 2527 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นมหาอิสริยาภรณ์เงิน (พร้อมสายสะพาย)[33]
- อินโดนีเซีย :
อ้างอิง
แก้- ↑ ได้รับพระราชทานยศนายพล
- ↑ แด่เธอผู้เป็นที่รัก พลเอกอาทิตย์ นิตยสารผู้จัดการ, กันยายน 2527
- ↑ ได้รับพระราชทานยศ ราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง
- ↑ "ตะวันลับฟ้า'พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-10. สืบค้นเมื่อ 2016-03-26.
- ↑ เสถียร จันทิมาธร. เส้นทางสู่อำนาจ มนูญ รูปขจร, อาทิตย์ กำลังเอก ใต้เงา เปรม ติณสูลานนท์. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. 306 หน้า. ISBN 974-323-825-5
- ↑ "ย้อนรำลึก พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก". ช่อง 9. 19 January 2015. สืบค้นเมื่อ 20 January 2015.
- ↑ 8.0 8.1 "ข่าวฟ้าวันใหม่ ถนอม-สำราญ 20 01 58 เบรก 1". ฟ้าวันใหม่. 20 January 2015. สืบค้นเมื่อ 20 January 2015.
- ↑ วีรชาติ ชุ่มสนิท. 24 นายกรัฐมนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ออลบุ๊คส์, 2549. หน้า 225. ISBN 974-94-5539-8
- ↑ 10.0 10.1 กองบรรณาธิการมติชน. 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน พ.ศ. 2521-2549. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2549. 424 หน้า. ISBN 974-323-889-1
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก รองนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อีกตำแหน่ง)
- ↑ "ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาประจำจังหวัดเลย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-07-07.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๒๖๕๙, ๕ เมษายน ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๘, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๘ ข หน้า ๒๔, ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๑๘๙๖, ๑ กรกฎาคม ๒๔๙๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๑๑๙๕, ๖ เมษายน ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๘, ๑๓ มกราคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๕, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, เล่ม 51 ตอนที่ 69 หน้า 2579, 19 สิงหาคม 2495
- ↑ http://theme.archives.go.kr/viewer/common/archWebViewer.do?bsid=200200002590&dsid=000000000001&gubun=search
- ↑ 29.0 29.1 29.2 29.3 29.4 29.5 นายพลของแผ่นดิน พล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก
- ↑ HEADQUARTERS DEPARTMENT OF THE ARMY WASHINGTON, DC, 27 January 1984
- ↑ SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1984
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 102 ตอนที่ 60 ฉบับพิเศษ หน้า 12, 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2528
- ↑ https://www.parlament.gv.at/dokument/XXIV/AB/10542/imfname_251156.pdf
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ชีวประวัติ อาทิตย์ เก็บถาวร 2009-02-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน