ปิยะ อังกินันทน์
ปิยะ อังกินันทน์ (5 ตุลาคม พ.ศ. 2476 - 25 กันยายน พ.ศ. 2562) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี 6 สมัย
ปิยะ อังกินันทน์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2476 อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี |
เสียชีวิต | 25 กันยายน พ.ศ. 2562 (85 ปี) โรงพยาบาลกรุงเทพ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี |
พรรคการเมือง | พรรคเพื่อไทย |
คู่สมรส | อุไร อังกินันทน์ สุคัณธา อังกินันทน์ (สมรสใหม่) |
ประวัติ
แก้นายปิยะ อังกินันทน์ เกิดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2476 เป็นบุตรชายของนายผาด อังกินันทน์ และ นางบุญยวด อังกินันทน์[1] และเป็นพี่ชายของนายยุทธ อังกินันทน์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง สมรสครั้งแรกกับนางอุไร (สิ่ม) อังกินันทน์ มีบุตร-ธิดา รวม 3 คน 1.นายสุขสันต์ (โป๋) อังกินันทน์ รองนายก อบจ. เพชรบุรี 2.นางปานจิต (น้อง) ชิ้นศิริ 3.นายชัยยะ(ปราย) อังกินันทน์ นายก อบจ. เพชรบุรี 2 สมัย และสมรสครั้งที่สองกับนางสุคัณธา (ตุ่ม) อังกินันทน์ มีบุตร-ธิดา 1 คน คือ นางสาวปิยะนาต (แจม) อังกินันทน์ ปลัดอำเภอ
วันที่ 26 กันยายน 2562 ประภัตร โพธสุธน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีน้ำหลวงพระราชทานอาบศพ พร้อมอัญเชิญโกศแปดเหลี่ยมพระราชทาน นายปิยะ อังกินันทน์ ณ วัดมหาธาตุฯ และเวลา 20.00 น.ได้มีพิธีพระราชทานพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมในพระบรมราชานุเคราะห์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว [2]
งานการเมือง
แก้ปิยะ เคยเป็นพนักงานธนาคาร ที่ธนาคารออมสิน สาขาท่ายาง ต่อมา เข้าสู่วงการการเมือง ด้วยการเป็น สมาชิกสภาจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2500 ก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคสหประชาไทย แต่ได้รับเลือกตั้งในครั้งต่อมา (พ.ศ. 2518) และได้รับเลือกเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2539 รวม 6 สมัย [3]
ปิยะ เคยร่วมก่อตั้งพรรคชาติประชาธิปไตย กับพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในปี พ.ศ. 2525[4] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้คุมเสียงในสภาของพรรค[5] หรือเทียบได้กับประธาน ส.ส.
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ปิยะ อังกินันทน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 6 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคสยามประชาธิปไตย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคชาติประชาธิปไตย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคกิจสังคม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ ในหลวงพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พร้อมโกศแปดเหลี่ยมให้แก่ “ปิยะ อังกินันทน์”
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 99 ตอนที่ 154 วันที่ 20 ตุลาคม 2525
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2526/A/171/86.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒