ยุทธ อังกินันทน์
ยุทธ อังกินันทน์ (6 เมษายน พ.ศ. 2479 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566) เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี 7 สมัย และอดีตนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบุรีหลายสมัย
ยุทธ อังกินันทน์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 เมษายน – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | สุจินดา คราประยูร |
ก่อนหน้า | อาชว์ เตาลานนท์ โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม | |
ดำรงตำแหน่ง 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | ไพฑูรย์ แก้วทอง เสริมศักดิ์ การุญ |
ถัดไป | ประสงค์ บูรณ์พงศ์ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี | |
ดำรงตำแหน่ง 24 เมษายน พ.ศ. 2526 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (17 ปี 199 วัน) | |
หัวหน้ากลุ่มผาด | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มิถุนายน พ.ศ. 2511 – พ.ศ. 2526 | |
ก่อนหน้า | ผาด อังกินันทน์ |
ถัดไป | บุปผา รอบรู้ |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2544 – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 | |
ก่อนหน้า | บุปผา รอบรู้ |
ถัดไป | พลยุทธ อังกินันทน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 เมษายน พ.ศ. 2479 อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี |
เสียชีวิต | 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 (86 ปี) อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี |
สาเหตุการเสียชีวิต | โรคหัวใจล้มเหลว |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2526–2535) ชาติพัฒนา (2535 - ?) |
คู่สมรส | บุปผา รอบรู้ |
บุตร | 6 |
บุพการี |
|
ประวัติ
แก้ยุทธ อังกินันทน์ เกิดเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2479 เป็นบุตรของนายผาด อังกินันทน์ กับนางบุญยวด อังกินันทน์ และเป็นน้องชายของนายปิยะ อังกินันทน์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท สาขา รัฐศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาเอก การปกครอง สาขา รัฐศาสตร์ สมรสกับนางบุปผา รอบรู้ (อังกินันทน์) มีบุตร-ธิดา รวม 6 คน หนึ่งในนั้น คือ นายยุทธพล อังกินันทน์[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา และ นาย พลยุทธ อังกินันทน์ อดีตรองนายกเทศมนตรี เมืองเพชรบุรี และ หัวหน้ากลุ่ม ผาด อังกินันทน์
สุขภาพและการเสียชีวิต
แก้ยุทธได้ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบด้วยโรคชราที่บ้าน “อังกินันทน์” สิริอายุ 86 ปี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เมื่อเวลาประมาณ 20.05 น. ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว หลังจากรักษาตัวมาอย่างต่อเนื่องด้วยโรคไตวาย และหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยมีกำหนดรดน้ำศพในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เวลา 14.00 น. ที่วัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน) ต. คลองกระแชง อ. เมือง จ. เพชรบุรี ส่วนพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมในวันที่ 19 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เวลา 18.30 หรือ 19.00 น. จากนั้นจะสวดพระอภิธรรมในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เวลา 19.00 น. จนถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
งานการเมือง
แก้อดีตเคยเป็นพนักงานบัญชีที่ธนาคารกรุงไทย สาขาเพชรบุรี ต่อมาได้ทำงานการเมืองท้องถิ่นด้วยการเป็นสมาชิกสภาเทศบาล จนถึงนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบุรี ก่อนที่จะลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2526 ได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2539 ก่อนที่จะวางมือทางการเมืองระดับชาติ และกลับมาทำงานการเมืองท้องถิ่นอีกครั้ง จนได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบุรียาวจนถึง 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 [2]
ยุทธ อังกินันทน์ เคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร[3] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในรัฐบาลชวน หลีกภัย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ยุทธ อังกินันทน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 7 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[6]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[7]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ ยุทธพล เฝ้าให้กำลังใจพ่อ ยุทธ อังกินันทน์ ลั่นขอทำหน้าที่ลูกที่ดีจนวันสุดท้าย
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-11-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑, ๘ มีนาคม ๒๕๑๕
- ↑ รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๖ จากเว็บไซต์ thaisouts
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒ ตุลาคม ๒๕๒๑