ผาด อังกินันทน์

ผาด อังกินันทน์ ยังเป็นต้นตระกูลการเมืองค่ายอังกินันทน์และเป็นผู้ก่อตั้ง “กลุ่มนายผาดอังกินันทน์” หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า “กลุ่มผาด[1]

ผาด อังกินันทน์
นายกเทศมนตรีเมืองเพชรบุรี
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2491 – พ.ศ. 2500
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี
ดำรงตำแหน่ง
15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
หัวหน้ากลุ่มนายผาดอังกินันทน์
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2491 – 14 มิถุนายน พ.ศ. 2511
ก่อนหน้าก่อตั้งกลุ่ม
ถัดไปยุทธ อังกินันทน์
(หัวหน้ากลุ่มผาด)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 พฤษภาคม พ.ศ. 2454
อำเภอเมืองเพชรบุรี
จังหวัดเพชรบุรี
ประเทศไทย
เสียชีวิต13 มิถุนายน พ.ศ. 2511
(57 ปี)
อำเภอเมืองเพชรบุรี
จังหวัดเพชรบุรี
ประเทศไทย
สาเหตุการเสียชีวิตโรคภัยไข้เจ็บ
พรรคการเมืองพรรคสหภูมิ
พรรคชาติสังคม
บุตรปิยะ อังกินันทน์
ยุทธ อังกินันทน์
อาชีพทนายความ
นักการเมือง

ประวัติ แก้

ผาด เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 ณ ตำบลต้นมะม่วง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ในวัยเยาว์ ด.ช.ผาดเข้ารับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนสตรีเพชรบุรีเบ็ญจมเทพอุทิศ(ปัจจุบันคือ โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี) และเข้าศึกษาต่อจนจบชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนตัวอย่างประจําจังหวัดเพชรบุรี (โรงเรียนคงคาราม) หลังจากนั้นได้ติดตาม ขุนอังกินันทนพงศ์ ซึ่งเป็นทนายความที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบุรีในสมัยนั้น คอยทําหน้าที่ช่วยเขียนคําฟ้องและประกันตัวจําเลยในคดีอาญา

การที่ ขุนอังกินันทนพงศ์ ให้นายผาดติดตามไปทํางานด้วย ก็เพื่อมุ่งหมายวางรากฐานให้นายผาดได้ซึมซับการเป็นนักกฎหมาย เช่นเดียวกับตนและ นายทองพูน อังกินันทน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 3 ของจังหวัดเพชรบุรี(บิดานายภิมุข อังกินันทน์ และ นายพลกูล อังกินันทน์) ซึ่งนายทองพูนเป็นพี่ชายต่างมารดาของนายผาด เดิมรับราชการเป็นจ่าศาลที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วลาออกจากราชการไปเป็นทนายความตามความต้องการของขุนอังกินันทนพงศ์

สมัยหนุ่ม ๆ นายผาดมีนิสัยชอบเที่ยวเตร่เฮฮา โปรดการเล่นพนันกีฬาไก่ชน โดยไก่ชนตัวโปรดมีอยู่ 2 ตัว ที่ซื้อมาจากเจ๊กในตลาดเมืองเพชรบุรี ตัวหนึ่งราคา 400 บาท ส่วนอีกตัวราคา 200 บาท ซึ่งไก่ชนทั้ง 2 ตัวนี้ลงสนามคราใดจะตีชนะทุกครั้ง ไม่เคยสร้างความผิดหวังให้แก่เจ้าของเลย นายผาดจึงตั้งชื่อไก่ชน 2 ตัวนี้ว่า “เจ้า 400” กับ “เจ้า 200”

นอกจากการพนัน นายผาดยังมีบุคลิกเป็นลูกผู้ชายเต็มตัว ชอบกีฬามวยไทย เคยขึ้นชกกับ ‘เสงี่ยม จุฑาเพชร’ นักมวยชื่อดัง และสามารถล้มเสงี่ยมมาแล้ว อีกทั้งยังเป็นนักกีฬาเทนนิส เคยเข้าแข่งขันเทนนิสได้แชมป์ของภาค 7 มาแล้วเช่นกัน

ช่วงวัยหนุ่ม นายผาดถูกตาต้องใจ “บุญยวด กําเนิดศิริ”  บุตรีคหบดีตระกูลใหญ่ของเมืองเพชรที่มีฐานะมั่นคง แต่ถูกญาติฝ่ายหญิงกีดกันความรัก เนื่องจากไม่อยากให้ “บุญยวด” ชอบพอกับนักเลงหัวไม้ ทั้งยังเป็นหลักอะไรไม่ได้ เนื่องจากนายผาดขณะนั้นชอบเล่นการพนัน ทำอะไรก็ยังไม่เป็นชิ้นเป็นอัน

แต่เมื่อคู่กันแล้ว ไม่แคล้วกัน ทั้งสองมีใจต่อกันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว นายผาดต้องใช้วิธีนำบันไดพาดหน้าต่างบ้าน แล้วให้ “บุญยวด” ปีนลงมาและพาหนีไปอยู่ด้วยกันที่บ้าน เถ้าแก่เทียนไล้ ใหญ่กว่าวงษ์ ผู้กว้างขวางแห่งอำเภอบ้านแหลม

การเมือง แก้

ผาด อังกินันทน์ เป็นทนายความก่อนที่จะลงมาเล่นการเมืองและได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบุรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดเพชรบุรี[2]

ผาด เข้าสู่วงการเมืองท้องถิ่น โดยได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาเทศบาลเมืองเพชรบุรี และได้รับเลือกให้เป็นนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบุรี ติดต่อกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 เป็นต้นมา คู่แข่งคนสําคัญคือ ร.อ. หลวงบําราบประทุษฐ (นิล จุฑานนท์) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี คนที่ 2 และเคยเป็นนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบุรี (ระหว่างปี พ.ศ. 2485-พ.ศ. 2486)

ต่อมาปี พ.ศ. 2500 นายผาดได้ทิ้งสนามการเมืองท้องถิ่น ไปลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคสหภูมิ โดยให้นายอรุณ ภิงคารวัฒน์ ลงกุมบังเหียนนั่งเก้าอี้นายกเทศมนตรีเมืองเพชรบุรีแทน[3]

ก่อตั้งกลุ่มนายผาดอังกินันทน์ แก้

กลุ่มมนายผาดอังกินันทน์หรือกลุ่มผาดในปัจจุบันได้ก่อตั้งพร้อมกับวันที่ผาด อังกินันทน์เข้าสู่วงการเมืองท้องถิ่นในปี พ.ศ. 2491 โดยสมาชิกสภาเทศบาลกลุ่มผาดในขณะนั้นมีนายปิยะและนายยุทธ อังกินันทน์ บุตรชายหัวแก้วหัวแหวนของนายผาด, นายภิมุข อังกินันทน์(บุตรนายทองพูน อังกินันทน์), นายโลบ สุภาแพ่ง (บิดา ดร.กัมพล-นายอภิชาติ สุภาแพ่ง), นายจินดา(จู) พรรณรายน์, นายเฉลิม ใหญ่กว่าวงษ์ ฯลฯ

เสียชีวิต แก้

นายผาด ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ที่ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ขณะมีอายุ 57 ปี ด้วยโรคภัยไข้เจ็บ ท่ามกลางความอาลัยรักของญาติพี่น้องและประชาชนชาวจังหวัดเพชรบุรี

อ้างอิง แก้