อภิชาติ สุภาแพ่ง
อภิชาติ สุภาแพ่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสินิตย์ เลิศไกร) อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายถาวร เสนเนียม)[1][2] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นอดีตประธานคณะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23
อภิชาติ สุภาแพ่ง | |
---|---|
ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2563 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
ประวัติ
แก้อภิชาติ สุภาแพ่ง หรือ ส.ส.เล็ก[3] เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498[4]บุตรนาย โลบ สุภาแพ่ง สมาชิก กลุ่มผาด สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ สาขานโยบายสาธารณะ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี และระดับปริญญาเอก สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มีพี่ชายได้แก่นาย กัมพล สุภาแพ่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24
งานการเมือง
แก้อภิชาติ สุภาแพ่ง เคยรับราชการครู และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสมุทรธาราม จากนั้นเริ่มเข้าสู่งานการเมือง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองเพชรบุรี 1 สมัย เป็นสมาชิกสภาจังหวัดเพชรบุรี 3 สมัย ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 โดยการชักชวนของนายอลงกรณ์ พลบุตร และในการเลือกตั้งครั้งนั้น เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก ด้วยการเอาชนะอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่หลายสมัย นายปิยะ อังกินันทน์ และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2554
อภิชาติ สุภาแพ่ง เคยได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23
ในปี 2562 อภิชาติ สุภาแพ่ง ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[5] ในภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายถาวร เสนเนียม) และเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสินิตย์ เลิศไกร)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ ครม.ไฟเขียวแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ก.คมนาคม 4 ตำแหน่ง
- ↑ สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 13 สิงหาคม 2562
- ↑ ศึกคนเพชร "ชทพ.-พปชร." บางกลอยการเมือง
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ปชป.สิ้นมนต์ขลัง คนเพชรบุรีเทคะแนน พปชร.เข้าวินทั้ง3เขต
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑