อลงกรณ์ พลบุตร (เกิด 27 ธันวาคม พ.ศ. 2499) รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ คนที่หนึ่ง อดีตรองหัวหน้าตามภารกิจพรรคประชาธิปัตย์[1]

อลงกรณ์ พลบุตร
อลงกรณ์ ใน พ.ศ. 2553
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าบรรยิน ตั้งภากรณ์
สงคราม กิจเลิศไพโรจน์
ถัดไปภูมิ สาระผล
ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์
รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศคนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
13 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
2 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 6 กันยายน พ.ศ. 2558
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 ธันวาคม พ.ศ. 2499 (67 ปี)
อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2534–ปัจจุบัน)
คู่สมรสคมคาย พลบุตร
ลายมือชื่อ
ชื่อเล่นจ้อน

ประวัติ

แก้

อลงกรณ์ เกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ที่จังหวัดเพชรบุรี[2] มีชื่อเล่นว่า " จ้อน " เป็นบุตรนายเพิ่มพล พลบุตร อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองเพชรบุรี นางละออ พลบุตร ด้านครอบครัวสมรสกับนางคมคาย พลบุตร (สกุลเดิม: เฟื่องประยูร) อดีต สส.จันทบุรี บุตรีของสนิท เฟื่องประยูร เมื่อปี พ.ศ. 2538 มีบุตร-ธิดารวม 3 คน คือ สภาวรรณ พลบุตร ธัชธรรม พลบุตร และพิมพ์สภา พลบุตร

การศึกษา

แก้

การทำงาน

แก้

หลังจากเรียนจบปริญญาตรี นายอลงกรณ์เข้าป่าไปทำงานเหมืองของครอบครัว 1 ปี จึงเข้ากรุงเทพฯ เพราะพ่อแม่ และเพื่อนฝูง ต้องการให้นำวิชาที่เรียนไปใช้ประโยชน์ โดยเมื่อเข้ากรุงเทพฯ นายอลงกรณ์ได้เข้าทำงานที่หนังสือพิมพ์เสียงปวงชนซึ่งขณะนั้นมี นายกำแหง ภริตานนท์ เป็นผู้ควบคุม จากนั้นย้ายไปทำงานที่หนังสือพิมพ์บ้านเมืองและหนังสือพิมพ์แนวหน้าตามลำดับ

เมื่อเข้าทำงานที่แนวหน้า นายอลงกรณ์เป็นคนแรกที่เปิดหน้าเศรษฐกิจภาคภาษาไทย เมื่อปี 2526 ทำหน้าที่หัวหน้าข่าวเศรษฐกิจ และ บก.ข่าวในประเทศ มีบทบาทเป็นตัวตั้งตัวตีในการต่อสู้เพื่อปลดแอกสื่อ 2 เรื่อง คือต่อสู้เพื่อปลดโซ่ตรวนหนังสือพิมพ์ คือ ปร.42 และพยายามปลดแอกอาชีพหนังสือพิมพ์ นายอลงกรณ์เป็นผู้ร่วมก่อตั้งสหภาพแรงงานนักหนังสือพิมพ์เพื่อปกป้องคนหนังสือพิมพ์ และเป็นเลขาธิการสหภาพคนแรก ระหว่างอยู่ที่แนวหน้านายอลงกรณ์รับเป็นอาจารย์พิเศษของหลายมหาวิทยาลัย อาทิ ม.ธรรมศาสตร์ ม.จุฬาลงกรณ์ ม.กรุงเทพ และ ม.หอการค้า เป็นต้น

ต่อมานายอลงกรณ์เดินทางไปอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกา 2 ปี โดยทำงานด้าน อิมพอร์ตเอกซ์พอร์ตสิ่งทอ และกลับมาจัดตั้งบริษัท เทเลเพรส เพื่อผลิตรายการข่าวโทรทัศน์ให้กับช่อง 5 ถือเป็นผู้ผลิตข่าวโทรทัศน์รุ่นที่ 2 ต่อจาก บริษัทแปซิฟิค ของ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล และขณะเดียวกันนายอลงกรณ์รับเป็นรองผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ข่าวสด อีกด้วย

งานการเมือง

แก้

การทำรัฐประหารของคณะ รสช. ในปี พ.ศ. 2534 เป็นจุดพลิกผันให้นายอลงกรณ์ตัดสินใจลงเล่นการเมือง โดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรครั้งแรกแต่สอบตกได้คะแนน 4 หมื่นคะแนน

ในการลงสมัคร ส.ส. ครั้งที่ 2 นายอลงกรณ์ประสบความสำเร็จได้เป็น ส.ส.สมัยแรก ด้วยคะแนนเสียงกว่า 74,000 คะแนน ในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2535/2 และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งปี พ.ศ. 2538 ด้วยคะแนนกว่า 1 แสนคะแนนเป็นที่หนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี

ต่อมาในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2539 นายอลงกรณ์สอบตกอีกครั้งแบบไม่คาดฝันแม้จะได้คะแนนกว่า 9 หมื่นคะแนน และในระหว่างนั้นนายชวน หลีกภัย ได้ให้นายอลงกรณ์ ดำรงตำแหน่ง เลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และเลขานุการของนายกรัฐมนตรี

นายอลงกรณ์ เป็นนักการเมืองที่มีฐานเสียงในจังหวัดเพชรบุรี โดยมีพี่น้องทำงานการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี คือ นายอติพล พลบุตร (พี่ชาย) เคยดำรงตำแหน่งรองนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบุรี และ นายอิทธิพงษ์ พลบุตร (น้องชาย) อดีตสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี นายอดุลย์ พลบุตร (พี่ชาย) รับราชการสังกัดกรมการปกครอง

นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้รับฉายาว่า "มิสเตอร์เอทานอล"[3][4] จากการเป็นผู้ผลักดันให้โครงการเอทานอลเกิดขึ้นในประเทศไทยโดยผ่านความเห็นชอบตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2543 และส่งเสริมเอทานอลอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นอลงกรณ์ ยังเป็นผู้รับผิดชอบ โครงการยุทธศาสตร์ประเทศไทย (Thailand Strategy Project , TSP)[5] ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลทางวิชาการใน 19 ยุทธศาสตร์หลัก เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการพัฒนานโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ และจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนทรรศนะกับชุมชนวิชาการ และประชาชนที่สนใจทั่วไป ผ่านทางเว็บไซต์ www.thailandstrategy.com เก็บถาวร 2013-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และเอกสารเผยแพร่ของโครงการ

ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายอลงกรณ์มีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบการทุจริตของรัฐบาลหลายอย่าง เช่น การตรวจสอบการทุจริตในโครงการเช่าซอฟต์แวร์ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) หรือ การทุจริตในสนามบินหนองงูเห่า เป็นต้นจนได้รับการคัดเลือกจากสื่อมวลชนประจำรัฐสภาให้เป็น"ดาวเด่นแห่งปีของรัฐสภา ประจำปี 2546"พร้อมกับได้รับฉายา"มือปราบรัฐสภา" แต่นายอลงกรณ์ก็ต้องเผชิญกับการถูกฟ้องและถูกแจ้งจับกว่า 20 คดีข้อหาหมิ่นประมาทจากคดีที่เขาเข้าไปตรวจสอบการทุจริตและโดนฟ้องทางแพ่งเกือบหมื่นล้านบาท

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้ง ครม.เงา ขึ้นเป็นครั้งแรก นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ ให้ทำหน้าที่ รองนายกรัฐมนตรีเงา ดูแลตรวจสอบ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงพลังงาน[6]

นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ[7] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ[8] และได้รับเลือกตั้งอีกสมัย

หลังจากนั้นนายอลงกรณ์ ได้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึง 5 สิงหาคม 2558 และสมาชิกสภาสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศคนที่ 1 ในเวลาต่อมา

นายอลงกรณ์ เคยประกาศตัวลงสมัครเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์มาแล้วในปี 2561 แต่ไม่ได้รับเลือก รวมถึงประกาศตัวลงสมัครในปี 2566[9]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

อลงกรณ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 6 สมัย

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

การดำรงตำแหน่งอื่นๆ

แก้
  • ที่ปรึกษาของสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย 2 สมัย พ.ศ. 2540 – 2542, พ.ศ. 2542 – 2544
  • ประธานสโมสรเอทานอลแห่งประเทศไทย ปี 2544 - 2545
  • ประธานมูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือก แห่งประเทศไทย ปี 2545 – ปัจจุบัน
  • ที่ปรึกษาชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2546 – ปัจจุบัน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  3. blog ของนายอลงกรณ์
  4. บทวิเคราะห์ : ทีมเศรษฐกิจ ครม.อภิสิทธิ์ 1 จากเวปไซต์ของกระทรวงพาณิชย์[ลิงก์เสีย]
  5. "โครงการยุทธศาสตร์ประเทศไทย Thailand Strategy Project (TSP)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-25. สืบค้นเมื่อ 2007-11-14.
  6. "เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-31.
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
  8. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  9. เปิดโปรไฟล์ อลงกรณ์ พลบุตร ผู้ท้าชิง หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อีกครั้ง
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๔, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้