ประยุทธ์ จันทร์โอชา
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ม.ป.ช. ม.ว.ม. ท.จ.ว. ร.ม.ก. (เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2497) ชื่อเล่น ตู่ เป็นทหารบกและนักการเมืองชาวไทย[2] ปัจจุบันดำรงตำแหน่งองคมนตรี นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 29 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[3] ผู้บัญชาการทหารบก[4][5] และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ซึ่งก่อรัฐประหารใน พ.ศ. 2557 และเป็นคณะทหารที่ปกครองประเทศไทย ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 จนถึง 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562[6]
ประยุทธ์ จันทร์โอชา | |
---|---|
ประยุทธ์ใน พ.ศ. 2565 | |
องคมนตรี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 (0 ปี 287 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 29 | |
ดำรงตำแหน่ง 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566[a] (8 ปี 363 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
รอง | |
ก่อนหน้า | นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล (รักษาการ) |
ถัดไป | เศรษฐา ทวีสิน |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (4 ปี 53 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
รัฐมนตรีช่วย | ชัยชาญ ช้างมงคล |
ก่อนหน้า | ประวิตร วงษ์สุวรรณ |
ถัดไป | สุทิน คลังแสง |
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557[b] – 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 (5 ปี 55 วัน) | |
รอง | |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | ยุบเลิกตำแหน่ง |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 30 กันยายน พ.ศ. 2557 (3 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา |
ถัดไป | พลเอก อุดมเดช สีตบุตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 มีนาคม พ.ศ. 2497 ค่ายสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | อิสระ |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | รวมไทยสร้างชาติ (2566)[c] |
คู่สมรส | นราพร โรจนจันทร์ (สมรส 2527) |
บุตร |
|
บุพการี |
|
ญาติ | ปรีชา จันทร์โอชา (น้องชาย) |
ศิษย์เก่า | วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า |
อาชีพ |
|
ทรัพย์สินสุทธิ | 130 ล้านบาท (พ.ศ. 2566) |
ลายมือชื่อ | |
ชื่อเล่น | ตู่ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2519 – 2557 |
ยศ | พลเอก |
บังคับบัญชา |
|
สงคราม/การสู้รบ | เหตุปะทะชายแดนไทย–เวียดนาม |
หลังจากได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารบกใน พ.ศ. 2553 พลเอก ประยุทธ์ มีลักษณะเป็นผู้นิยมกษัตริย์และเป็นฝ่ายตรงข้ามกับทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี[7] พลเอก ประยุทธ์ ถือเป็นสายแข็งในกองทัพ เขาเป็นหนึ่งในผู้นำการปราบปรามของทหารต่อการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 และเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553[8][9] ต่อมาเขามุ่งวางตนเป็นกลาง โดยพูดคุยกับญาติผู้ประท้วงที่เสียชีวิตในเหตุการณ์[10] และร่วมมือกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์[11] ซึ่งชนะการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 ระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งเริ่มในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เขาอ้างว่ากองทัพเป็นกลาง[12] และจะไม่รัฐประหาร ทว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พลเอก ประยุทธ์ ก่อรัฐประหาร[13] สุเทพ เทือกสุบรรณเปิดเผยว่า ตนกับประยุทธ์วางแผนโค่นทักษิณด้วยตั้งแต่ พ.ศ. 2553[14]
วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเอกฉันท์เลือกเขาเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งสมาชิกสภานั้นถูก คสช. เลือกมาทั้งหมด[15] คสช. สั่งปราบปรามผู้เห็นแย้ง ห้ามการอภิปรายสาธารณะเกี่ยวกับประชาธิปไตยและการวิจารณ์รัฐบาล จำกัดเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทยอย่างหนัก[16] ใน พ.ศ. 2562 รัฐสภาลงมติเลือกเขาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย ในวาระที่สอง เขาถูกวิจารณ์ในเรื่องการจัดการกับผลกระทบของโควิด-19 การกู้เงินจำนวนมาก ตลอดจนการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 พรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อพลเอก ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เขาได้รับคะแนนไว้วางใจเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา จึงได้เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 แต่ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 เขาได้ย้ายไปสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์ของพรรค และเป็นผู้ได้รับเสนอชื่อให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นนายกรัฐมนตรีในบัญชีของพรรคในการเลือกตั้งปีดังกล่าว ก่อนจะประกาศวางมือทางการเมืองในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน และสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีในเดือนกันยายน ต่อมาเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พลเอก ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งองคมนตรี[17][18]
ปฐมวัย
ประยุทธ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2497 ณ ค่ายสุรนารี[19] จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรชายของพันเอก (พิเศษ) ประพัฒน์ จันทร์โอชา และเข็มเพชร จันทร์โอชา มารดาซึ่งรับราชการครู[20][21] เป็นบุตรชายคนโตจากพี่น้องทั้งหมดสี่คน[22] คนหนึ่งคือ พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
เขาสำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 จากโรงเรียนสหะกิจวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยเทคโนโลยีลพบุรี)[23] ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี แต่เรียนได้เพียงปีเดียวก็ลาออกเนื่องด้วยบิดาเป็นนายทหารจำต้องโยกย้ายไปในหลายจังหวัด และได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ในสมัยที่ศึกษาอยู่ที่นี่เขาเคยถูกนำเสนอประวัติผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ในฐานะเด็กเรียนดีอีกด้วย[24] จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และในปี พ.ศ. 2514 ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร จนสำเร็จเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 (ตท.12) และในปี พ.ศ. 2519 เป็นนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23 และหลักสูตรชั้นนายร้อย รุ่นที่ 51 ในปีเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2524 หลักสูตรชั้นนายพัน รุ่นที่ 34 ในปี พ.ศ. 2528 หลักสูตรหลักประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 63 และเป็นศิษย์เก่า และในปี พ.ศ. 2550 เข้าเรียนหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 20
รับราชการทหาร
ประยุทธ์รับราชการทหารอยู่ที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ หรือ "ทหารเสือราชีนี" มาโดยตลอด โดยเริ่มมาจากตำแหน่งผู้บังคับกองพัน จนถึงผู้บังคับการกรม จากนั้นจึงย้ายไปอยู่ที่กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ และรับตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 1 เขาเป็นสมาชิก "บูรพาพยัคฆ์" ในกองทัพ เช่นเดียวกับพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและอดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและอดีตรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ซึ่งทั้งสองยังเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก
- 28 เมษายน พ.ศ. 2530 - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เป็น ราชองครักษ์เวร[25]
- พ.ศ. 2533 – ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารบกที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 พัน 2 รอ.)
- พ.ศ. 2541 – ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 รอ.)
- พ.ศ. 2546 – ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ผบ.พล.ร.2 รอ.)
- พ.ศ. 2549 – แม่ทัพภาคที่ 1 (มทภ.1)
- พ.ศ. 2551 – เสนาธิการทหารบก (เสธ.ทบ.)
- พ.ศ. 2552 – นายทหารราชองครักษ์พิเศษ[26]
- พ.ศ. 2552 – รองผู้บัญชาการทหารบก (รอง ผบ.ทบ.)
- พ.ศ. 2553 – ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.)[27]
บทบาททางการเมือง
วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เมื่อเกิดรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) พลตรีประยุทธ์เป็นผู้รับคำสั่งตรงจากพลโท อนุพงษ์ เผ่าจินดา แม่ทัพภาคที่ 1 พลตรีประยุทธ์ได้เลื่อนชั้นยศเป็น "พลโท" และรับตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ระหว่างวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551 ถึง 14 กันยายน พ.ศ. 2551 เขาดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและรองผู้อำนวยการกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในเหตุการณ์ นปช. ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 สมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช, วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2552 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาธิการทหารบก[28] และต่อมาเป็นรองผู้บัญชาการทหารบก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2553, วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2552 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 เนื่องจากดำรงตำแหน่งเป็นเสนาธิการทหารบกในขณะนั้นจนสิ้นสุดการประกาศสถานการณ์ในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552
ต่อมาเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารบกต่อจาก พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ที่เกษียณอายุราชการในเดือนตุลาคม 2553[29] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะลงนามแต่งตั้งให้เขาเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึง 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ทำหน้าที่เป็นหนึ่งในนายทหารที่ควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553[30]ในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 พลเอก ประยุทธ์ ได้ออกคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ 141/2553 เรื่อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจ ออกคำสั่งยึด หรือ อายัด สินค้าหรือวัตถุอื่นใดที่ก่อให้เกิดความแตกแยก ผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548[31]คำสั่งดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากจนต้องยกเลิกในที่สุด โดยพลเอก ประยุทธ์ ต้องการจับกุมผู้ที่ขายหนังสือหรือซีดีและดีวีดีที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อย่างไรก็ตามมีแม่ค้าที่ขายรองเท้าที่มีรูปหน้าของนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีถูกจับกุม 2 ราย[32][33]
เขายังเป็นหนึ่งในคณะดำเนินคดีระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อปี 2554[34]และในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด[35]
ฮิวแมนไรตส์วอตช์ระบุว่า เขาขัดขวางการสืบสวนวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งมีผู้เสียชีวิตในปี 2553[36] และต่อมาเมื่อเดือนมิถุนายน 2554 เขาขอให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงให้ "คนดี" ในการเลือกตั้งปีนั้น ซึ่งถูกตีความอย่างกว้างขวางว่าเป็นการให้สัมภาษณ์โจมตียิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยโดยตรง[36] และในระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 เขาก็ได้เสนอให้มีการจัดตั้ง "สภาประชาชน" ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง[36]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ผลปรากฎว่าพรรคก้าวไกลซึ่งประกาศแก้กฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยได้คะแนนนำ ส่งผลให้ภายใต้รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา พรรคการเมืองที่ประกาศว่าจะแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์และหัวหน้าพรรคการเมืองที่แสดงตนว่าต้องการยกเลิกความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย กลับได้รับการเลือกตั้งคะแนนนำมาเป็นอันดับหนึ่ง ในขณะที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 มีบุคคลที่มีคดีความถูกฟ้องร้องในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย อย่างน้อยสามราย
การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2557 และนายกรัฐมนตรีสมัยแรก
วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เขาประกาศกฏอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร อีก 2 วันต่อมาเขาก่อรัฐประหาร ในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)[37] ต่อมาวันที่ 26 พฤษภาคม มีพิธีสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้า คสช. พระบรมราชโองการดังกล่าวถูกมองว่าเป็นหัวใจสร้างความชอบธรรมแก่รัฐประหาร[38] ในประกาศ คสช. ฉบับที่ 10/2557 ให้อำนาจเขาเสมือนนายกรัฐมนตรี[39] หลังรัฐประหาร เขาแต่งตั้งตัวเองเป็นกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ และเป็นกรรมการโดยตำแหน่งในฐานะนายกรัฐมนตรี[d] เขาจัดรายการ "ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน" รายสัปดาห์[79]
ในการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินต่อ ปปช. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2557 เขาแจ้งทรัพย์สิน 128.6 ล้านบาท หนี้สิน 650,000 บาท[80][81] ทรัพย์สินรวมรถยนต์เมอร์ซีเดส เบนซ์ และบีเอ็มดับเบิลยู อย่างละ 1 คน นาฬิกาหรู 9 เรือน มูลค่า 3 ล้านบาท[82] มีเครื่องเพชรมูลค่า 200,000 ดอลลาร์สหรัฐและปืนพกหลายกระบอก[83] เขารายงานว่าได้โอนทรัพย์สิน 466.5 ล้านบาทให้ญาติแล้ว ทั้งนี้เงินเดือนในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกได้เงินเดือนรวมปีละ 1.4 ล้านบาท[84][85]
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติให้พลเอก ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี[86] ในการลงมติดังกล่าว ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อไม่ต้องอยู่ในห้องประชุมและไม่ต้องแสดงวิสัยทัศน์[87] ต่อมามีพิธีรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งในวันที่ 25 สิงหาคม 2557[88][89] พลเอก ประยุทธ์เป็นนายทหารอาชีพคนแรกที่เป็นนายกรัฐมนตรีนับแต่พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2549[90] เขายังเป็นผู้นำรัฐประหารคนแรกที่เป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่จอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514[91]
เดือนกันยายน 2557 เขาลงนามแก้ไขข้อกำหนดคุมวินัยผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยผ่อนคลายระเบียบเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน[92] เขายังเสนอ "ค่านิยม 12 ประการ" ส่งเสริมความคิดเรื่องความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน กตัญญู หาความรู้ รักษาประเพณีไทย มีวินัย มีเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ เขาว่าจะบรรจุลงในแผนปฏิรูปการศึกษาด้วย[93]
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เขาประกาศว่าเขามีอำนาจปิดสื่อ[94] ในเดือนมีนาคม เขาขู่ประหารชีวิตนักหนังสือพิมพ์ที่ "ไม่รายงานความจริง"[95] ความเห็นของเขาพลันถูกสหพันธ์นักหนังสือพิมพ์ระหว่างประเทศประณาม[96] เขาอธิบายว่า หากต้องการทำสำรวจความคิดเห็นก็ทำได้ แต่ถ้าการสำรวจนั้นค้าน คสช. จะห้าม[97]
วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 เขายกเลิกกฎอัยการศึก[98] จากนั้นเขาใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 44 ในการดูแลความสงบเรียบร้อยแทน
นโยบายเศรษฐกิจ
ในเดือนสิงหาคม 2557 หลังประยุทธ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เพียงสามวัน คสช. อนุมัติโครงการและงบประมาณรวมกว่า 1 แสนล้านบาท[99] วันที่ 25 ตุลาคม 2557 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ที่มีพลเอก ประยุทธ์ เป็นประธาน เห็นชอบโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2557/2558 จากเดิมธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจะจ่ายเป็น 80% ของราคาตลาด เพิ่มเป็น 90% ของราคาตลาด นโยบายดังกล่าวถูกเรียกว่า "จำนำยุ้งฉาง" และไทยรัฐ ยังว่าเป็น "ประยุทธ์นิยม"[100]
เขาอ้างว่าภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวของไทยไม่ได้เกิดจากรัฐบาลตน แต่เกิดจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลก เขาประกาศเป้าหมายยกระดับประเทศไทยจากประเทศรายได้ปานกลางเป็นประเทศรายได้สูงผ่านข้อริเริ่มประเทศไทย 4.0 ซึ่งต้องการเปลี่ยนเศรษฐกิจให้เป็นแบบเน้นมูลค่าและนวัตกรรม โครงการธงคือ ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมอย่างการบิน การรักษาสุขภาพและพลังงานทดแทน[101] เขายังสนับสนุนการช่วยเหลือเกษตรกร เพิ่มการส่งออกยางสู่ประเทศจีน และการทำเหมืองโพแทซเพื่อลดค่าปุ๋ย[102]
ศาสนาพุทธ
ศาสนาพุทธในประเทศไทยเข้ามาอยู่ในภายใต้การควบคุมของรัฐมากขึ้นในสมัยนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ สภาปฏิรูปแห่งชาติที่ คสช. ตั้งมีคณะกรรมการศาสนาด้วย ทั้งนี้ พระพุทธะอิสระเป็นผู้เรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปดังกล่าว ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงเช่น เสนอให้วัดเปิดเผยบัญชี[103] และให้พระสงฆ์ถือบัตรสมาร์ตการ์ด[104][105] ในปี 2559 ประยุทธ์ยับยั้งคำวินิจฉัยเสนอสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) เป็นสมเด็จพระสังฆราชของมหาเถรสมาคม[106] ต่อมาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งพระสงฆ์จากธรรมยุติกนิกายแทน[107]
ในปี 2560 เขาใช้อำนาจตามมาตรา 44 เปลี่ยนตัวหัวหน้าสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ[108] แต่เขาถอดออกจากตำแหน่งอย่างรวดเร็วหลังมีกลุ่มศาสนาเรียกร้อง[109] ในเดือนพฤษภาคม 2561 คสช. บุกวัดสี่แห่งเพื่อจับกุมพระสงฆ์หลายรูป[110][111] ซึ่งในจำนวนนั้นรวมพระพุทธะอิสระด้วย[112] โดยมีข้อหารวมทั้งคดีปลอมพระปรมาภิไธยในปี 2560[112][113][114] ทั้งหมดถูกจับสึกอย่างรวดเร็ว[115]
นายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง
นักหนังสือพิมพ์และนักวิจารณ์การเมืองหลายคนเชื่อว่าประยุทธ์ตั้งใจครองอำนาจต่อโดยใช้การเปลี่ยนแปลงในรัฐธรรมนูญปี 2560[116] โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้วุฒิสภามาจากการคัดเลือกของ คสช. และมีอำนาจลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี 5 ปี[117] พรรคการเมืองสามารถเสนอชื่อผู้ที่มิใช่ สส. และมิใช่สมาชิกพรรคเป็นนายกรัฐมนตรีได้[118] หลังการเลือกตั้งทั่วไปปี 2562 มีการตั้งรัฐบาลผสมที่มีพรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำ ในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในวันที่ 5 มิถุนายน สมาชิกวุฒิสภาทุกคนเลือกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ[119] ซึ่งเกือบทั้งหมดมาจากการแต่งตั้งของ คสช. เช่นเดียวกับมีพรรคร่วมรัฐบาลมากถึง 19 พรรค ซึ่งรวมพรรคเล็กพรรคน้อยหลายพรรคที่ได้ประโยชน์จากการตีความกฎหมายเลือกตั้งของ กกต. นานถึง 44 วัน[120] ประยุทธ์ยังมีพันธมิตรทางการเมืองทั้งในศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้ง กกต. และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ[121] ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งนั้น เกิดการประท้วงในประเทศโดยมีข้อเรียกร้องหนึ่งเพื่อให้เขาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังการสลายการชุมนุมด้วยรถฉีดน้ำผสมสารเคมีในเดือนตุลาคม 2563 หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์และข่าวสดอิงลิชเรียกร้องให้เขาลาออกด้วย[122][123] แต่ขณะเดียวกัน เขาโทษผู้ประท้วงว่ายิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจของประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อยู่แล้ว[124] เขายังนำกฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยกลับมาใช้หลังว่างเว้นไปตั้งแต่ปี 2561[125] ซึ่งมีผู้ต้องหาบางคนถูกจำคุกก่อนการพิจารณาคดีแล้วกว่า 200 วันด้วย[126] การประท้วงที่บ้านพักประจำตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ซึ่งเขายังพำนักอยู่นั้น ถูกปราบปรามด้วยรถฉีดน้ำ แก๊สน้ำตาและกระสุนยาง[127]
ในสมัยเขายังมีปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนอีกหลายกรณี รวมทั้งการเตรียมเสนอร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นความพยายามเพื่อปิดปากกลุ่มประชาสังคมและองค์กรนอกภาครัฐ[128] และยังสั่งให้ตรวจสอบองค์การนิรโทษกรรมสากลหลังรณรงค์ให้ยกเลิกกฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย[129] ประชาชนผู้วิจารณ์เขายังถูกดำเนินคดีด้วย[130]
ในการรับมือกับการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย เดือนเมษายน 2564 เขาออกกฎหมายรวบอำนาจของรัฐมนตรีมาอยู่ที่เขาคนเดียว[131] ในเดือนกันยายน 2564 เขาในฐานะประธานกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐออกประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ขยายเพดานเงินกู้จากไม่เกินร้อยละ 60 เป็นไม่เกินร้อยละ 70 ของจีดีพี[132] เขาประกาศและขยายเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563[133] โดยอ้างว่าแม้จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศจะลดลงแล้ว แต่ยอดผู้ป่วยทั่วโลกยังไม่ลดลง[134] อย่างไรก็ตาม แม้จะอ้างว่าใช้เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่มีการใช้กฎหมายนี้เพื่อควบคุมการชุมนุมทางการเมือง[135] โดยมีผู้ชุมนุมทางการเมืองถูกกล่าวหาตามกฎหมายดังกล่าวแล้วอย่างน้อย 1,464 คน จนถึงเดือนมิถุนายน 2565[136] ก่อนที่จะมีการยกเลิกประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งมีผลในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 รวมระยะเวลาสถานการณ์ฉุกเฉิน 2 ปี 6 เดือน 3 วัน[137]
จนถึงปี 2565 มีตัวเลขว่ารัฐบาลเขากู้เงินกว่า 4.42 ล้านล้านบาท ซึ่งทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นจาก 42.50% เป็น 60.58% แม้รัฐบาลจะอ้างความจำเป็นในการกู้เงินมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 แต่รัฐบาลมีการผ่อนปรนขีดจำกัดวินัยการคลังหลายเรื่อง ทั้งเพิ่มงบกลางหลายปีติดต่อกัน และขยายเพดานหนี้สาธารณะที่กฎหมายกำหนด[138] นอกจากนี้ยังมีการเปิดเผยเมื่อต้นปีว่า ยังมีหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่รอตั้งงบชำระหนี้อีกกว่า 1 ล้านล้านบาทซึ่งมีการกล่าวหาว่าเป็นการ "ซุกหนี้"[139]
ในเดือนสิงหาคม 2565 ส.ส. พรรคร่วมฝ่ายค้านในขณะนั้น มีความเห็นว่ารัฐธรรมนูญห้ามมิให้บุคคลดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรวมกันเกิน 8 ปี ซึ่งประยุทธ์เริ่มดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ 24 สิงหาคม 2557 แล้ว จึงได้ร่วมกันลงชื่อและยื่นคำร้องไปยังชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น เพื่อให้พิจารณาส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยการนับวาระการดำรงตำแหน่งของประยุทธ์ ต่อมาชวนได้ส่งคำร้องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย จนกระทั่งเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์รับคำร้อง และมีมติเสียงข้างมากออกคำสั่งให้ประยุทธ์หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี[140] ส่งผลให้พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีลำดับที่ 1 ดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรีแทน[141] ต่อมาในวันที่ 30 กันยายน ศาลฯ วินิจฉัยว่าให้เริ่มนับวาระนายกรัฐมนตรีตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2560 มีผลใช้บังคับ นั่นคือประยุทธ์สามารถดำรงตำแหน่งได้จนถึงวันที่ 5 เมษายน 2568 ทำให้ประยุทธ์ได้กลับมาปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีตามเดิม[142]
ในวันที่ 23 ธันวาคม 2565 ประยุทธ์ประกาศรับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีในบัญชีของพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566[143] โดยได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคและเปิดตัวอย่างเป็นทางการในการประชุมใหญ่วิสามัญของพรรค ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566[144] ซึ่งที่ประชุมใหญ่ยังมีมติจัดตั้งคณะกรรมการเพิ่ม โดยคณะกรรมการบริหารพรรคได้กำหนดชื่อคณะกรรมการชุดดังกล่าวว่า "คณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์พรรคการเมือง" และแต่งตั้งประยุทธ์เป็นประธานคณะกรรมการชุดนี้ อีกทั้งวางตัวให้เป็นผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อลำดับที่หนึ่งของพรรคอีกด้วย[145] แต่เมื่อถึงเวลาสมัครรับเลือกตั้ง กลับไม่ปรากฏเขาในบัญชีรายชื่อ ส.ส. ของ รทสช. แต่อย่างใด[146] ทั้งนี้มีการเปิดตัวประยุทธ์ในฐานะบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ พร้อมกับการเปิดตัวผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตของพรรค ในการประชุมใหญ่สามัญของพรรค ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2566 และในงานดังกล่าว ประยุทธ์ได้ประกาศให้ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรค ซึ่งเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคในลำดับที่ 2 เพื่อรองรับในกรณีที่พลเอก ประยุทธ์ ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ประยุทธ์จะหมดวาระในวันที่ 5 เมษายน 2568[147] ส่งผลให้ในการเลือกตั้งครั้งนี้พรรครวมไทยสร้างชาติมีบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคจำนวน 2 คน[148]
หลังจากเสร็จสิ้นการเลือกตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2566 ประยุทธ์ได้ประกาศวางมือทางการเมืองและลาออกจากสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์ของพรรคไปโดยปริยาย[1] และในวันที่ 22 สิงหาคมปีเดียวกัน เขาได้สิ้นสุดวาระการเป็นนายกรัฐมนตรี หลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง เศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่[149][150] อย่างไรก็ตาม เขายังคงปฏิบัติหน้าที่ในทำเนียบรัฐบาลต่อในฐานะนายกรัฐมนตรีรักษาการ โดยในวันที่ 24 สิงหาคม เศรษฐาได้เข้าพบกับประยุทธ์ที่ทำเนียบรัฐบาล[151] ซึ่งถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ เข้าพบนายกรัฐมนตรีรักษาการ[152] และผลงานสุดท้ายของประยุทธ์ในฐานะนายกรัฐมนตรีนั้น คือการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการพระราชทานอภัยลดโทษให้ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม[153] ก่อนเดินทางออกจากทำเนียบรัฐบาลในวันเดียวกัน[154] โดยในทางพฤตินัยเขาและคณะรัฐมนตรีชุดเดิมได้รักษาการในตำแหน่งจนถึงวันที่ 5 กันยายน ก่อนที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณ เป็นอันเสร็จสิ้นการเข้ารับหน้าที่ในวันเดียวกัน[155][156]
อนึ่ง ประยุทธ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่มีวาระต่อเนื่องยาวนานที่สุดเป็นอันดับสอง รองจาก จอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่ถ้านับทุกวาระรวมกันจะเป็นอันดับสามรองจากจอมพล ป. และจอมพล ถนอม กิตติขจร
องคมนตรี
วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พลเอก ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งองคมนตรี[17][18] โดยพลเอก ประยุทธ์ ได้เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่ง ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม[157]
ข้อวิจารณ์
ส่วนนี้ของบทความอาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป |
คำพูดต่อสาธารณะ
มีการแนะนำว่า บทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนควรย้ายไปโครงการวิกิคำคม (อภิปราย) เนื่องจากการจัดรูปแบบเนื้อหาไม่ตรงตามนโยบายของวิกิพีเดียที่เป็นสารานุกรม และอาจเข้ากับโครงการวิกิคำคมมากกว่า |
รองศาสตราจารย์ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ กล่าวถึงพลเอก ประยุทธ์ ว่า เขามักปรากฏทางโทรทัศน์แห่งชาติและแลกเปลี่ยนปัญหาและวิธีแก้ไข เขาต้องการพิสูจน์กับประชาชนว่าเขาเป็น "นายรู้ไปหมด" ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าเพราะเขาต้องการส่งสารว่าเขาฉลาดกว่ายิ่งลักษณ์ ปวินยกตัวอย่างภูมิปัญญาของพลเอก ประยุทธ์ ดังนี้ เขาว่าชาวใต้ควรลดการปลูกยางเพื่อแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ, เขาว่าถ้าคนไทยทุกคนช่วยกันเก็บผักตบชวาจากแม่น้ำแล้วมันจะสูญพันธุ์, เขาว่าอุทกภัยเป็นภัยธรรมชาติ และว่าคนไทยสมัยก่อนปลูกบ้านบนที่สูง บ้างยกพื้นสูง บ้างอาจซื้อเรือ, เขาว่าการบ้านยากเกินไปสำหรับนักเรียน และว่าตนยังทำการบ้านนักเรียน ป. 1 ไม่ได้, เขาให้ชาวนาลดการปลูกข้าวหรือปลูกพืชชนิดอื่นหรือเปลี่ยนงานเกษตรเพื่อแก้ปัญหาราคาข้าว, เขากล่าวถึงปัญหาความยากจนโดยว่า โทษตัวเอง ขยันแล้วหรือยัง, เขาแนะนำคนไทยไม่ให้ช็อปปิงเพราะคนไทยเป็นหนี้จากสถาบันการเงิน เป็นต้น[158]
วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557 พลเอก ประยุทธ์ แถลงเรื่องนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ 2 คนซึ่งถูกฆ่าที่เกาะเต่าเมื่อวันที่ 15 กันยายน ว่า "ปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวมีอยู่เสมอ พวกเขาคิดว่าประเทศของเราสวยงามและปลอดภัย ก็เลยทำอะไรที่อยากทำ พวกเขาใส่บิกินี่และเดินไปไหนก็ได้ พวกเขาคิดว่าใส่บิกินี่แล้วปลอดภัยเหรอ...เว้นแต่ว่าไม่สวย" ฝ่ายแอนดรูว์ โรซินเดล (Andrew Rosindell) คณะกรรมาธิการวิสามัญการต่างประเทศของสภาสามัญชน กล่าวว่า "เมื่อผู้ที่รักของผู้เสียหายกำลังอาลัยอาวรณ์ความสูญเสีย เป็นสิ่งไม่เหมาะสมและไม่ละเอียดอ่อนที่มีผู้กล่าวหาผู้ที่ถูกพรากชีวิตไป ยิ่งไม่ต้องเอ่ยถึงนายกรัฐมนตรีของประเทศซึ่งเกิดการฆ่านั้น"[159] อีกสองวันถัดมาพลเอก ประยุทธ์ ได้กล่าวขอโทษต่อกรณีนี้[160]
- วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เว็บไซต์ประชาไทรายงานว่า พล.อ. ประยุทธ์กล่าวตอนหนึ่งว่า จะส่งเสริมให้คนทั้งโลกกินข้าว ขนมจีน กินขนมปังแล้วจะอ้วน[161] วันเดียวกัน เว็บไซต์รัฐบาลไทยรายงานว่า พล.อ. ประยุทธ์ว่า อุทกภัยในภาคใต้เป็นเรื่องปกติ ปีหนึ่งเกิดสี่ครั้ง เกิดจากน้ำเหนือไหลผ่านภาคกลางลงสู่ภาคใต้[162] ในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ
- วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เขากล่าวตอนหนึ่งว่า ถ้าอยากมีรถไฟทางคู่ มีรถใหม่ มีรถความเร็วสูงเหมือนต่างประเทศ ให้หาเงินมา[163]
- วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 พล.อ. ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งว่า "ผมทำมากกว่าไอ้รัฐบาลบ้านั่น [รัฐบาลยิ่งลักษณ์] อีก จะบอกให้ และรู้มากกว่าที่เขารู้อีก ผมไม่โง่ขนาดนั้นหรอก"[164]
- วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 พล.อ. ประยุทธ์ใช้คำว่า "ครอก" กับชาวอุยกูร์ที่ถูกส่งกลับประเทศจีน[165]
- วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เมื่อถูกถามว่ารัฐบาลจะรับผิดชอบอย่างไรต่อกรณีอุทยานราชภักดิ์ เขาตอบว่า ทำไมต้องรับผิดชอบ รัฐบาลขณะนั้น (รัฐบาลยิ่งลักษณ์) ทำไมไม่รับผิดชอบสิ่งที่เป็นปัญหาของประเทศชาติ[166]
- วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ประยุทธ์กล่าวถึงกรณีนักวิชาการยื่นหนังสือขอให้หยุดริดรอนเสรีภาพทางวิชาการและห้ามนักศึกษาทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัยว่า ตอนรัฐบาลที่แล้วไปอยู่ไหนกัน และ "เดี๋ยวถ้าใครหาปืนมายิง โยนระเบิดใส่ก็ตายไปแล้วกัน"[167]
- วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 พล.อ. ประยุทธ์กล่าวว่า "จะมาบอกว่าเป็นนายกฯแล้วต้องอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าพวกคุณเลือกผมมา คุณจะสั่งผมอย่างไรผมจะทำให้ แต่นี่ไม่ได้เลือกผมสักคน"[168]
- วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559 เขากล่าวเรื่องการแต่งกายของหญิง โดยเปรียบว่าหญิงเหมือนขนมหวานที่ต้องอยู่ในห่อจึงน่าสนใจ พอน่ากินแล้วค่อยเปิดดู ถ้าเปิดหมดแล้วจะไม่น่ากิน[169]
- วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เขากล่าวถึงไฟป่าที่ดอยสุเทพ และป่าพรุโต๊ะแดง โดยว่าเกิดจากประชาชนที่มีรายได้น้อยเข้าไปในป่าและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ใช้ความคิดแบบโบราณ[170]
- วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เขากล่าวถึงปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนตอนหนึ่งว่า แล้วออกกันหมดหรือยัง [คนที่ทำผิดตามประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ] มีกักอยู่หรือเปล่า ก็ไม่มี แล้วอยู่ไหน ที่เหลือมีความผิด ก็เข้าศาลกระบวนการยุติธรรม แล้วก็ประกันออกมา มีที่ไหนเหลืออยู่ ถามสิ แล้วตอนไปก็ออกมาไม่ได้ซ้อมไม่ได้อะไร ก็ถ่ายรูปไว้หมด เข้าไปก็มีหมอมาตรวจร่างกายออกมาก็มีหมอมาตรวจอีก ผมทำขนาดนี้แล้วท่านยังมาหาว่าผมทำนี่ทำโน้นได้อย่างไร ไปเป็นปากเป็นเสียงให้กับคนชอบทำความผิดได้อย่างไร[171]
- เดือนพฤศจิกายน 2564 เขาถูกวิจารณ์ว่าลอกสุนทรพจน์ตอนหนึ่งของ บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 44 ในประเด็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม[172]
การขายที่ดิน
วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เขาขายที่ดิน 9 แปลงให้บริษัท 69 พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เป็นเงิน 600 ล้านบาท ซึ่งสำนักข่าวอิศรารายงานว่า บริษัทดังกล่าวตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 หนึ่งสัปดาห์ก่อนการขาย มีบริษัท ทรงวุฒิ บิสซิเนส จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม วินเทค โปรฟิท คอมปะนี ลิมิเต็ด ไทรเด้นท์ ทรัส ลิมิเต็ด ไทรเด้นท์ แซมเบอร์ได้รับโอนหุ้นจากบริษัท ทรงวุฒิ บิสซิเนส จำกัด ซึ่งที่ตั้งของบริษัทนั้นเป็นตู้ไปรษณีย์แห่งหนึ่งในหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน ต่อมามีการเพิ่มทุนและจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้ง มีกรรมการเป็นกรรมการบริษัทในเครือทีซีซีแลนด์ของเจริญ สิริวัฒนภักดี[173]
การถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบ
วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 พลเอก ประยุทธ์ นำคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62 เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่[174][175] แต่หลังจากนั้น ในวันที่ 25 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ก่อนการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา รศ.ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ได้หารือกับชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา โดยได้ตั้งข้อสังเกตว่าพลเอก ประยุทธ์ ถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จึงเป็นประเด็นสงสัยถึงความสมบูรณ์ของความเป็นนายกรัฐมนตรีของพลเอก ประยุทธ์ และคณะรัฐมนตรีชุดนี้ โดยภายหลังออกจากสภา ปิยบุตรก็ได้โพสต์คลิปการถวายสัตย์ปฏิญาณของพลเอก ประยุทธ์ จากข่าวในพระราชสำนักลงในทวิตเตอร์ไว้เป็นหลักฐานอีกด้วย[176] ทำให้มีผู้ยื่นคำร้องในเรื่องนี้ต่อผู้ตรวจการแผ่นดินถึง 2 ราย โดยผู้ตรวจการแผ่นดินได้เสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ 1 กรณี[177] แต่ศาลมีมติไม่รับคำร้องดังกล่าว[178] นอกจากนี้ประเด็นนี้ยังนำไปสู่การเปิดอภิปรายทั่วไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 เพื่อซักถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายสัตย์ปฏิญาณของพลเอก ประยุทธ์ เมื่อวันที่ 18 กันยายน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายก่อนปิดสมัยประชุมสภาอีกด้วย[179]
การพักบ้านหลวง
ในเดือนธันวาคม 2563 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการที่ประยุทธ์อาศัยอยู่ในบ้านพักประจำตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกต่อไปแม้เกษียณอายุราชการไปแล้วไม่ขัดต่อกฎหมาย[180][181]
คดีเหมืองทองอัครา
เมื่อปี 2559 ประยุทธ์ในฐานะหัวหน้า คสช. ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 44 ปิดเหมืองทองอัครา โดยบริษัทคิงส์เกตเคยยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลไทยชดใช้เงินกว่า 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (30,000 ล้านบาท) แต่ไม่เป็นผล ในปี 2563 ทั้งรัฐบาลไทยและคิงส์เกตเข้ากระบวนการอนุญาโตตุลาการที่สิงคโปร์ ซึ่งจนถึงปี 2564 รัฐบาลใช้งบประมาณในการต่อสู้คดีแล้วกว่า 389 ล้านบาท[182] และมีข่าวลือออกมาอยู่เนือง ๆ ว่ารัฐบาลไทยแพ้คดีและต้องชดใช้เงิน[183] ด้านนักการเมืองฝ่ายค้านกล่าวว่า ประยุทธ์แอบเจรจากับบริษัทฯ อาจมีการต่อรองผลประโยชน์ที่ทำให้เกิดผลเสียต่อประเทศชาติ เพราะรัฐบาลเป็นฝ่ายขอให้เก็บข้อมูลการเจรจาเป็นความลับ[184] ทั้งนี้ กระบวนการไต่สวนในคดีดังกล่าวยุติลงไปตั้งแต่ปี 2563 แล้ว และปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการประนีประนอมยอมความเพื่อหวังให้บริษัทคิงส์เกตถอนฟ้อง[185]
รางวัล
ชีวิตส่วนตัว
ชื่อเล่นของประยุทธ์คือ "ตู่"[187] และผู้สนับสนุนมักเรียกเขาว่า "บิ๊กตู่" หรือ "ลุงตู่"[188] นราพร จันทร์โอชา ภรรยาของเขากล่าวว่า ประยุทธ์สวม "ชุดแบบอังกฤษ" สวมรองเท้าของเชิร์ชส์ และเสื้อสูทสั่งตัดที่ "บรอดเวย์"[189] เขาฟื้นฟูการสวมชุดพระราชทาน ซึ่งเปรม ติณสูลานนท์เคยทำให้เป็นที่นิยมครั้งแรกในคริสต์ทศวรรษ 1980 และได้สั่งการให้คณะรัฐมนตรีสวมชุดพระราชทานในการประชุมแทนชุดสูทตะวันตก[190]
ประยุทธ์กล่าวต่อสาธารณชนว่าเขาปรึกษากับโหรวารินทร์ บัววิรัตน์เลิศเป็นประจำ[191] ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแรก ๆ เมื่อเขาเป็นไข้และปวดเมื่อย เขาโยนโรคนี้ว่ามาจากการร่ายมนตร์ของศัตรูทางการเมืองและขจัดโรคภัยไข้เจ็บด้วยน้ำศักดิ์สิทธิ์[192] นอกจากนี้ บางกอกโพสต์ ยังรายงานว่าประยุทธ์มีชุดสะสมแหวนนำโชค ซึ่งเขาผลัดเปลี่ยนไปทุกวันตามกิจกรรมในวันนั้น และเขายังสวมสร้อยข้อมือขนช้างเพื่อขจัดโชคร้ายอีกด้วย[190]
ในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 ประยุทธ์ต้องจ่ายค่าปรับ 6,000 บาทจากการไม่สวมหน้ากากอนามัยในการประชุมวัคซีนโควิด-19 เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2564[193] ในฐานะนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ได้รับเงินเดือน 75,900 บาทต่อเดือน บวกกับ "เบี้ยเลี้ยงตำแหน่ง" อีก 50,000 บาทต่อเดือน เขาไม่ได้เงินเดือนในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[194]
การแต่งเพลง
ประยุทธ์แต่งเพลงอยู่หลายเพลง โดยจนถึงปี 2562 พบว่ามีการแต่งเพลงแล้ว 10 เพลง โดยเพลงที่มีชื่อเสียงได้แก่ "คืนความสุขให้ประเทศไทย"[195] เดอะสแตนดาร์ด วิเคราะห์ว่า เพลงเป็นกลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองของเขาให้เข้าถึงได้ง่าย โดยเนื้อหาของเพลงส่วนใหญ่ต้องการให้ประชาชนรู้รักสามัคคี คำมั่นสัญญา และขอแรงสนับสนุนจากประชาชน นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความต้องการเร่งพัฒนาประเทศในเวลาไม่นาน แต่เปลี่ยนมาอธิบายเหตุผลที่จำเป็นต้องอยู่นานแทน[196]
ครอบครัว
ปัจจุบันสมรสกับอดีตรองศาสตราจารย์สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นราพร จันทร์โอชา[197][198] รองประธานมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม มีบุตรีฝาแฝด 2 คน คือ ธัญญา และ นิฏฐา จันทร์โอชา เป็นสมาชิกวงดนตรีทริโอหญิง แบดซ์ วงดนตรีแนวพังก์ในสังกัดย่อย จีโนม เรคคอร์ด สังกัดอาร์เอส[199][200][97] ธิดาทั้ง 2 คนใช้ชีวิตค่อนข้างเงียบ แต่มีข่าวว่าได้ส่งทนายความแจ้งความดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาทต่อผู้ที่โพสต์ข้อความพาดพิงพวกตน[201] เมื่อปี 2564 ยังมีข่าวว่าศาลสั่งจำคุกผู้โพสต์คุกคามธิดาทั้ง 2 คนของประยุทธ์เป็นเวลา 5 ปี[202]
ลำดับสาแหรกของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ภาพลักษณ์
ประยุทธ์มีภาพลักษณ์เป็นผู้มีพฤติกรรมแบบหุนหันพลันแล่นและโทสะต่อสื่อ นอกจากนี้ยังพยายามหลีกเลี่ยงสื่อโดยเคยบอกให้สื่อสัมภาษณ์สแตนดีรูปตัวเขาแทน[203] เขายังถูกวิจารณ์ว่าเป็นตัวตลก อ่อนไหวต่อเสียงวิจารณ์ มีภาวะหลงผิดคิดตนเขื่อง และขับเคลื่อนด้วยอัตตา[204]
ในปี 2561 ในหนังสือ ประวัติศาสตร์ชาติไทย เขียนว่าเขาดำเนินนโยบายปฏิรูปประเทศ ปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวง และใช้หลักคุณธรรม เพื่อนำประเทศให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง[205]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ[206] ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[207]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[208]
- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[209]
- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[210]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 5 เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร (ร.ม.ก.)[211]
- พ.ศ. 2529 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1 (ส.ช.)[212]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- พ.ศ. 2532 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[213]
- พ.ศ. 2553 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[214]
- พ.ศ. 2567 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๓ (ว.ป.ร.๓)[215]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
- มาเลเซีย :
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์เกปาละวานัน อังกะตัน เตนเตรา ชั้นที่ 1[216]
- สิงคโปร์ :
- พ.ศ. 2555 – เหรียญปิงกัต จาซา เกมิลัง (เท็นเทรา)[217]
- อินโดนีเซีย :
- พ.ศ. 2555 – เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราการติกาเอกปักษี ชั้นอุตมา[218]
- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2556 – ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา[219]
- บรูไน :
เชิงอรรถ
- ↑ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ยุติปฏิบัติหน้าที่ระหว่างวันที่ 24 สิงหาคม จนถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2565 ตามมติของศาลรัฐธรรมนูญ คณะรัฐมนตรีมีมติให้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ขึ้นรักษาการแทน
- ↑ ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ 22 พฤษภาคม จนถึง 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557
- ↑ เป็นสมาชิกพรรค ตั้งแต่ 9 มกราคม จนถึง 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2566[1]
- ↑
- ประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
- ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
- ประธานคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
- ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557
- ประธานคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2557
- ประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557
- ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557
- ประธานคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557
- ประธานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557
- ประธานคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ถึง 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557
- ประธานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557[40]ถึงปัจจุบัน (ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการตามพระราชบัญญัติ)
- ประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
- ประธานคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ และ ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
- ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม ตั้งแต่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
- ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557[41]
- ประธานคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า ตั้งแต่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557[42]
- ประธานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ตั้งแต่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557[43]ถึงปัจจุบัน เนื่องจาก (ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการตามพระราชบัญญัติ)
- ประธานคณะกรรมการ คณะกรรมการนโยบายแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และการทำประมงผิดกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558[44]
- ประธานกรรมการ คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน[45]ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558
- ประธานกรรมการ คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งแต่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558[46]
- ประธานกรรมการ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ[47]ตั้งแต่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน โดย (ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการตามพระราชบัญญัติ)
- ประธานกรรมการ คณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศ (พกค.) ตั้งแต่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558[48]
- ประธานกรรมการ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (คนพ.) ตั้งแต่ 30 ธันวาคม 2558[49]
- ประธานกรรมการ คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่ วันที่ 7 มีนาคม 2558[50][51]
- ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559[52]
- ประธานคณะกรรมการโครงการสานพลังประชารัฐ ตั้งแต่ วันที่ 18 เมษายน 2559
- ประธานคณะกรรมการ คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ตั้งแต่ 22 เมษายน 2559[53]
- ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย thailand 4.0 ตั้งแต่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560[54]
- ประธานคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ ตั้งแต่ วันที่ 27 มิถุนายน 2559[55]
- ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559
- ประธานคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ตั้งแต่ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560
- ประธานคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตั้งแต่ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึง ปัจจุบัน (ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการตามพระราชบัญญัติ)
- ประธานคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ตั้งแต่ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2560[56]
- ประธานคณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (ก.บ.ภ.) ตั้งแต่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560[57]
- ประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ตั้งแต่ 23 มกราคม พ.ศ. 2561[58]
- ประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการระดับชาติเพื่อเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนในช่วงที่ไทยจะดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนใน ปี 2562 ตั้งแต่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561[59]
- ประธานคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ตั้งแต่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561[60]
- ประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตั้งแต่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562[61]
- ประธานสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ตั้งแต่ วันที่ 6 ตุลาคม 2559[62]สิ้นสุด 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เนื่องจากมีการเปลี่ยนชื่อสภา
- ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการ คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ตั้งแต่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2558[63]
- ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์[64]ตั้งแต่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558
- ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ตั้งแต่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558[65]
- ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ตั้งแต่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558[66]
- ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการกำลังพลสำรอง ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558[67]
- ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น[68]ตั้งแต่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
- ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560[69]
- ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ตั้งแต่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560[70]
- ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560[71]
- ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ ตั้งแต่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561[72]
- ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตั้งแต่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561[73]
- ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561[74]
- ประธานคณะกรรมการ ใน คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน[75]ตั้งแต่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562
- ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ตั้งแต่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[76]
- ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ตั้งแต่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[77]
- ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติ ตั้งแต่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
- ประธานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[78]
- ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตั้งแต่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2565
- ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ตั้งแต่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2565
- ผู้อำนวยการศูนย์บูรณาการแก้ไขสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตั้งแต่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ถึง 22 มิถุนายน พ.ศ. 2565
- ประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์พรรครวมไทยสร้างชาติ ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ถึง 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 ประยุทธ์'ประกาศวางมือทางการเมือง ลาออกจากสมาชิก'รทสช.'
- ↑ "Army chief retires after four turbulent years". The Nation. 30 September 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2020. สืบค้นเมื่อ 22 November 2014.
- ↑ "PM Enters Defence Ministry to Start his Concurrent Position as Defence Minister". Thai News Agency. 30 July 2019. สืบค้นเมื่อ 3 August 2019.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Fredrickson, Terry (1 October 2010). "Gen Prayut takes command". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 19 March 2012.
- ↑ Corben, Ron (1 October 2010). "Thailand's new army chief takes office". Deutsche Welle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2014. สืบค้นเมื่อ 19 March 2012.
- ↑ "Thai coup: Leader Gen Prayuth receives royal endorsement". BBC News. 26 May 2014.
- ↑ Harlan, Chico (7 June 2014). "Behind Thailand's coup is a fight over the king and his successor. But it's hush-hush". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 24 June 2014.
- ↑ "Thai king appoints hardliner as next army chief". The Hindu. 2 September 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 April 2014. สืบค้นเมื่อ 9 April 2014.
- ↑ Petty, Martin (17 October 2010). "Q+A: Are Thailand's "red shirts" regrouping?". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2021. สืบค้นเมื่อ 2 May 2014.
- ↑ "Gen Prayuth takes command". Bangkok post. October 1, 2010. สืบค้นเมื่อ May 2, 2014.
- ↑ "No coup, Prayuth tells Yingluck". Bangkok Post. May 27, 2013.
- ↑ "Prayuth says army neutral". Bangkok Post. November 30, 2013.
- ↑ "'ประยุทธ์-เหล่าทัพ'แถลง'ควบคุมอำนาจรัฐ'" [Prayuth and military chiefs are controlling state powers]. Komchadluek. May 22, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-22. สืบค้นเมื่อ May 22, 2014.
- ↑ "บางกอกโพสต์: สุเทพระบุ พล.อ.ประยุทธ์เตรียมล้ม รบ.นานแล้ว-โฆษก คสช.ปฏิเสธข่าว".
- ↑ "Thailand's Junta Chief Chosen as Prime Minister". Thailand News.Net. 21 August 2014. สืบค้นเมื่อ 21 August 2014.
- ↑ "นายกฯ"ยัน"ห้ามพูดเรื่องปชต [PM: discussion prohibited]. Post Today. 19 September 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 19 September 2014.
- ↑ 17.0 17.1 พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ 18.0 18.1 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง “พลเอก ประยุทธ์ ” เป็น องคมนตรี มีผลตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
- ↑ เปิดบ้านหลังแรก "เด็กชายประยุทธ์" ในค่ายสุรนารี
- ↑ "ประวัติ ประยุทธ์ จันทร์โอชา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-22. สืบค้นเมื่อ 2016-10-13.
- ↑ "ประวัติการเรียน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29". เอ็มไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-25. สืบค้นเมื่อ August 31, 2014.
- ↑ มนตรี (2512). "เรียนดี". ชัยพฤกษ์, หน้า 37[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
- ↑ สุดเซอร์ไพรส์!'บิ๊กตู่'เจอเพื่อนเก่า ชูภาพสมัยเรียนป.1ทวนความทรงจำ
- ↑ 'ประยุทธ์'วัย15ปีในคอลัมน์'เรียนดี'ปี2512 คมชัดลึกออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2557
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๐๒ ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑ มิถุนายน ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์, เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๕๐ ง หน้า ๑๑, ๗ มิถุนายน ๒๕๕๒
- ↑ เกี่ยวกับรัฐบาล, นายกรัฐมนตรี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๑๖๓ ง หน้า ๗๑, ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๑
- ↑ โปรดเกล้าฯ พล.อ. ประยุทธ์ เป็น ผบ.ทบ.
- ↑ "ป๊อกแป๊กเปรยคนสนิทไม่เต็มใจคุม ศอฉ. จำใจเรียก ผบ.หน่วย ถกเครียด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-08. สืบค้นเมื่อ 2016-10-05.
- ↑ ศอฉ.เฮี๊ยบ!ห้ามม็อบขายของยั่วยุ
- ↑ "กรกมล พรหิทธ์ ผู้ฝ่าฝืนข้อกำหนด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-23. สืบค้นเมื่อ 2011-04-20.
- ↑ ตร.สรุปสำนวนส่งอัยการ คดีแม่ค้าเสื้อแดงขายรองเท้าแตะลายหน้ามาร์ค-สุเทพ
- ↑ "ทีม15คนสู้ศาลโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-10. สืบค้นเมื่อ 2011-05-24.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๔๑ ง หน้า ๘, ๗ เมษายน ๒๕๕๔
- ↑ 36.0 36.1 36.2 Profile: Thai General Prayuth Chan-ocha
- ↑ "10ข่าวเด่น'บิ๊กตู่'ทุบโต๊ะรัฐประหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-30. สืบค้นเมื่อ 2014-12-31.
- ↑ "Thai coup: Leader Gen Prayuth receives royal endorsement". BBC. 2014-05-26. สืบค้นเมื่อ 2014-05-26.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐/๒๕๕๗ เรื่อง ให้อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ, เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๘๔ ง หน้า ๙, ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยกำหนดนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๑๙๗ ง หน้า ๒, ๓ ตุลาคม ๒๕๕๗
- ↑ "'บิ๊กตู่ Big Ass' สำรวจเก้าอี้ที่ พล.อ.ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งอยู่". Prachatai. 2014-08-23. สืบค้นเมื่อ 2014-08-25.
- ↑ "ประธานคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-19. สืบค้นเมื่อ 2019-04-19.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๒๐๖ ง หน้า ๒, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗
- ↑ แก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และการทำประมงผิดกฎหมาย[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๑๓๑ ง หน้า ๑, ๙ มิถุนายน ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง หน้า ๑, ๔ มิถุนายน ๒๕๕๘
- ↑ "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 185/2558" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-13. สืบค้นเมื่อ 2018-05-24.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๒๒๑ ง หน้า ๑, ๑๗ กันยายน ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารการพัฒนาพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๓๔๗ ง หน้า ๒, ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๕๓ ง หน้า ๒, ๖ มีนาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙, เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๔๓ ง หน้า ๑, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
- ↑ "ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-30. สืบค้นเมื่อ 2016-05-27.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙, เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๙๒ ง หน้า ๑, ๒๑ เมษายน ๒๕๕๙
- ↑ "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-20. สืบค้นเมื่อ 2019-06-20.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙, เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๔๕ ง หน้า ๑, ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๙
- ↑ "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ. 2560" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-12. สืบค้นเมื่อ 2019-05-30.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๘๑ ง หน้า ๔, ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
- ↑ "คณะกรรมการโครงการไทยนิยม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-11-27. สืบค้นเมื่อ 2019-04-23.
- ↑ "นายกประธานกรรมการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-23. สืบค้นเมื่อ 2019-04-23.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓/๒๕๖๑ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ, เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๑๙๗ ง หน้า ๒๖, ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๑
- ↑ "ประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-19. สืบค้นเมื่อ 2019-04-19.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๒/๒๕๕๙ เรื่อง การปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ, เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๒๒๕ ง หน้า ๘, ๖ ตุลาคม ๒๕๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๘ ก หน้า ๑๘, ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๒๑ ก หน้า ๓๓, ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘
- ↑ "ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-28. สืบค้นเมื่อ 2018-12-07.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๔ ก หน้า ๒๘, ๒๘ เมษายน ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติกำลังพลสำรอง พ.ศ. ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๒๗ ก หน้า ๖, ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๕๙, เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก หน้า ๔, ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๑๐ ก หน้า ๔, ๒๔ มกราคม ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๑๙ ก หน้า ๒, ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๗๙ ก หน้า ๕, ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑, เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๒๗ ก หน้า ๔, ๑๙ เมษายน ๒๕๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑, เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒๕, ๑๙ เมษายน ๒๕๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑, เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๙๗ ก หน้า ๕๒, ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๒๙ ก หน้า ๗, ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติการบริหารงานและให้บริหารภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล, เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๖๗ ก หน้า ๕๙, ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัตินโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๗ ก หน้า ๑๖๑, ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติสภานโยบายการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๕๗ ก หน้า ๑๐, ๑ พฤษภาคม ๒๕๗๒
- ↑ Thepgumpanat, Panarat; Tanakasempipat, Patpicha (21 May 2017). "Three years after coup, junta is deeply embedded in Thai life". Reuters. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
On Friday evenings in Thailand, sandwiched between the evening news and a popular soap opera, is a prime-time program that has been running for three years, or ever since the military took power in a May 22, 2014 coup. Called "Sustainable Development from a Royal Philosophy" it stars junta leader and former army chief Gen. Prayuth Chan-ocha speaking on a range of topics, from the virtues of modesty to the state of the economy.
- ↑ "Prayut, wife have net assets worth bt128 million". The Nation. 31 October 2014. สืบค้นเมื่อ 18 February 2020.
- ↑ "PM Prayuth 'can justify personal wealth'". Phuket News. Bangkok Post. 1 November 2014. สืบค้นเมื่อ 28 December 2017.
- ↑ Nanuam, Wassana; Laohong, King-Oua (20 December 2017). "Prawit on his own in watch row". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 29 December 2017.
- ↑ Fuller, Thomas (9 February 2015). "Thailand's Junta Tries to Bury the Opposition in Endless Lawsuits". New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 February 2016.
- ↑ Khaosod20141104
- ↑ "Thai prime minister, an ex-general, is millionaire". Yahoo Finance. สืบค้นเมื่อ 12 November 2014.
- ↑ ตามคาดสนช.โหวต 'ประยุทธ์' นั่งนายกฯ คนที่ 29จาก ไทยรัฐ สืบค้นวันที่ 21 สิงหาคม 2557
- ↑ วิปสนช.แจงเกณฑ์เลือกนายกฯ ต้องได้เสียงโหวต 99 คะแนน ขึ้นไป
- ↑ "โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 2021-09-24.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี, เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๑๕๙ ง หน้า ๑, ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๗
- ↑ Prayuth receives royal command at army HQ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๒๔ หน้า ๓, ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
- ↑ ""นายกฯประยุทธ์"ไฟเขียวตัดทิ้งกฎเหล็กคุมผลประโยชน์ทับซ้อน"ผู้ช่วยรมต."". สำนักข่าวอิศรา. 2014-09-26. สืบค้นเมื่อ 2014-09-27.
- ↑ ‘ประยุทธ์’ เตรียมปรับ ‘ค่านิยม 12 ประการ’ ให้คล้องจองท่องแทน ‘เด็กเอ๋ยเด็กดี’ แย้มมีสอบด้วย
- ↑ "In latest outburst, Thailand's Prayuth reminds reporters of his powers". The Straits Times. 2015-02-19. สืบค้นเมื่อ 25 Mar 2015.
- ↑ "Thai PM Prayuth warns media, says has power to execute reporters". Reuters. 2015-03-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-26. สืบค้นเมื่อ 25 Mar 2015.
- ↑ "Thai military leader threatens to execute journalists". International Federation of Journalists (IFJ). 2015-03-26. สืบค้นเมื่อ 29 Mar 2015.
- ↑ 97.0 97.1 Haworth, Abigail (2015-03-22). "Bangkok's Big Brother is watching you". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 22 Mar 2015.
- ↑ เลิกกฎอัยการศึก ทูลแล้ว เดินหน้ามาตรา44 เผยอียูเป็นห่วง บิ๊กตู่สปีกอิงลิช ชี้แจงสื่อออสซี่ เก็บถาวร 2017-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ข่าวสด, 1 เมษายน 2558, สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2558
- ↑ “ประยุทธ์” ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี วันแรก อนุมัติงบประมาณกว่า 1 แสนล้านบาท แก้ปัญหายางพารา สร้างบ้านคนจน จ่ายเงินอุดหนุนท้องถิ่น ฟื้นฟูมาบตาพุด แก้ปัญหาขยะ ปลดหนี้นอกระบบ
- ↑ "เคาะราคาจำนำยุ้งฉาง 90%". ไทยรัฐ. 2014-10-25. สืบค้นเมื่อ 2014-10-26.
- ↑ ประยุทธ์อ้างว่าภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวของไทย
- ↑ "Prayut pledges to lead country to high income economy". Thai PBS. 23 March 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-09. สืบค้นเมื่อ 24 March 2015.
- ↑ "Thai junta seeks to force temples to open their finances". Reuters. 16 June 2017. สืบค้นเมื่อ 11 September 2017.
- ↑ "Government plans smart cards for monks". Bangkok Post. 6 June 2016. สืบค้นเมื่อ 11 September 2017.
- ↑ "Monk reform no easy task". Bangkok Post. 7 June 2016. สืบค้นเมื่อ 11 September 2017.
- ↑ "Prayut refuses to submit nomination of Somdet Chuang as Supreme Patriarch". The Nation (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-18. สืบค้นเมื่อ 12 September 2017.
- ↑ "Somdet Phra Maha Muniwong new Supreme Patriarch". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 9 February 2017.
- ↑ "Thai junta replaces director of Buddhism department with policeman". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-04. สืบค้นเมื่อ 24 March 2017.
- ↑ Tanakasempipat, Patpicha; Niyomyat, Aukkarapon (29 August 2017). "Thailand's Buddhism chief removed after pressure from religious groups". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-12. สืบค้นเมื่อ 29 August 2017.
- ↑ "Buddha Issara Followers Fume at Defrocked Monk's Arrest". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 25 May 2018. สืบค้นเมื่อ 26 May 2018.
- ↑ Wongcha-um, Panu (25 May 2018). "Thailand raids temples, arrest monks in fight to clean up Buddhism". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 May 2018.
- ↑ 112.0 112.1 "Buddha Issara Accused of Royal Forgery". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 24 May 2018. สืบค้นเมื่อ 25 May 2018.
- ↑ "Buddha Issara Arrested in Dawn Raid". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 24 May 2018. สืบค้นเมื่อ 25 May 2018.
- ↑ "Thailand arrests senior monks in temple raids to clean up Buddhism". Reuters. 24 May 2018. สืบค้นเมื่อ 25 May 2018.
- ↑ "Senior monks defrocked after raids". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 26 May 2018.
- ↑ "Election has already been won, so what now?". The Nation. 28 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Opinion)เมื่อ 2019-03-24. สืบค้นเมื่อ 10 January 2019.
- ↑ Jotikasthira, Om; Sabpaitoon, Patpon (28 October 2018). "Young voters find voice". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 10 January 2019.
- ↑ Sattaburuth, Aekarach; Bangprapa, Mongkok (26 September 2018). "PM allows ministers to back parties". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 10 January 2019.
- ↑ Helen Regan; Kocha Olarn. "Thailand's junta chief elected as country's next prime minister". CNN. สืบค้นเมื่อ 9 July 2019.
- ↑ "EC to push ahead with formula". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 23 August 2020.
- ↑ Sawasdee, Siripan Nogsuan (12 December 2019). "Electoral integrity and the repercussions of institutional manipulations: The 2019 general election in Thailand". Asian Journal of Comparative Politics. 5 (1): 52–68. doi:10.1177/2057891119892321. ISSN 2057-8911. S2CID 213208424.
- ↑ English, Khaosod (16 October 2020). "Editorial: Prayut Has Lost All Legitimacy. He Must Go". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2020. สืบค้นเมื่อ 17 October 2020.
- ↑ "Listen to the young". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 19 October 2020.
- ↑ "Prayut says the economic situation will not recover because of the protesters". Thai Enquirer. 12 October 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2020. สืบค้นเมื่อ 12 October 2020.
- ↑ "Thailand revives law banning criticism of king in bid to curb protests". BBC News. 25 November 2020. สืบค้นเมื่อ 21 January 2021.
- ↑ "Thailand: Arbitrary detention of eight pro-democracy activists". International Federation for Human Rights (ภาษาอังกฤษ). 12 August 2021. สืบค้นเมื่อ 28 September 2021.
- ↑ "Activists Weigh on 'Leaderless' Protest Tactic After Night of Clashes". Khaosod English. 1 March 2021. สืบค้นเมื่อ 1 March 2021.
- ↑ "NGO law would strike severe blow to human rights in Thailand". Amnesty International (ภาษาอังกฤษ). 2 April 2021.
- ↑ "War on Amnesty the wrong battle". Bangkok Post. 2021.
- ↑ "Police reportedly visit woman who irritated Prayut". Bangkok Post. 2021.
- ↑ "ประยุทธ์ รวบอำนาจกฎหมาย 31 ฉบับ แก้ปัญหาโควิด". ประชาชาติธุรกิจ. 27 April 2021. สืบค้นเมื่อ 28 April 2021.
- ↑ "ราชกิจจาฯประกาศแล้ว ขยายเพดานหนี้สาธารณะไม่เกิน 70% ต่อจีดีพี". ประชาชาติธุรกิจ. 28 September 2021. สืบค้นเมื่อ 12 December 2021.
- ↑ ""ศบค." เคาะต่อ "พรก.ฉุกเฉิน" ครั้งที่ 18 เพิ่มอีก 2 เดือน ถึง 31 กรกฎาคม 2565". คมชัดลึกออนไลน์. 20 May 2022. สืบค้นเมื่อ 21 July 2022.
- ↑ "มีผล 1 มิ.ย. ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2 เดือน โควิดทั่วโลกยังรุนแรง เร่งฉีดเข็มกระตุ้น". ไทยรัฐ. 26 May 2022. สืบค้นเมื่อ 21 July 2022.
- ↑ "เมื่อพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่จะใช้คุมโรค กลายเป็นเครื่องมือหลักในการ "คุมม็อบ" | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ". iLaw. สืบค้นเมื่อ 21 July 2022.
- ↑ "มิถุนายน 65: ยอดรวมผู้ถูกดำเนินคดีทางการเมืองรวม 1,832 คน ในจำนวน 1,095 คดี | ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน". ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน. 5 July 2022. สืบค้นเมื่อ 21 July 2022.
- ↑ "ยุบ ศบค. ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คุมโควิด-19 ตั้งแต่ 1 ต.ค." BBC News ไทย. 23 September 2022. สืบค้นเมื่อ 30 September 2022.
- ↑ "8 ปี หนี้สาธารณะเฉียด 10 ล้านล้าน ประยุทธ์ สมานแผลเศรษฐกิจ หรือสร้างแผลเป็น?". ประชาชาติ. สืบค้นเมื่อ 30 September 2022.
- ↑ "8 ปี รัฐบาลประยุทธ์สร้าง-ซุกหนี้ไว้เท่าไหร่". ไทยพับลิก้า. สืบค้นเมื่อ 30 September 2022.
- ↑ "เปิดมติฉบับเต็ม! ศาลรธน.สั่งเด็ดขาดให้ 'ประยุทธ์' หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกฯ". เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ 24 August 2022.
- ↑ "เปิดคำสั่ง "ประวิตร" รักษาการนายกฯ แต่ "แต่งตั้งโยกย้าย-อนุมัติงบฯ" ไม่ได้". กรุงเทพธุรกิจ. 24 August 2022. สืบค้นเมื่อ 24 August 2022.
- ↑ ""บิ๊กตู่" ไปต่อ! ศาล รธน.ชี้ 8 ปีนายกฯ เริ่มนับ 6 เม.ย.60". ผู้จัดการออนไลน์. 30 September 2022. สืบค้นเมื่อ 30 September 2022.
- ↑ "ประยุทธ์ ประกาศเป็นแคนดิเดตนายกฯ พรรครวมไทยสร้างชาติ". BBC News ไทย. 23 December 2022. สืบค้นเมื่อ 30 December 2022.
- ↑ "ประยุทธ์ สมัครสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติตลอดชีพ ส.ส.แห่ให้กำลังใจพรึ่บ". ประชาชาติธุรกิจ. 9 January 2023. สืบค้นเมื่อ 9 January 2023.
- ↑ "บิ๊กตู่" จ่อลงปาร์ตี้ลิสต์ เบอร์หนึ่ง "รวมไทยสร้างชาติ" ดอดร่วมประชุมพรรคนัดแรก วางตัว ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อแล้ว
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 : เปิดลำดับบัญชีรายชื่อ 100 คน "พรรครวมไทยสร้างชาติ"". pptvhd36.com.
- ↑ "เลือกตั้ง 66 'พล.อ.ประยุทธ์' เผยคือยุทธศาสตร์ ไม่ลงปาร์ตี้ลิสต์ ส่งไม้ต่อ 'พีระพันธุ์' หากได้นั่งนายกฯ อีก 2 ปี". สำนักข่าวทูเดย์. 2023-04-03. สืบค้นเมื่อ 2023-04-05.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""พล.อ.ประยุทธ์ " เปิดตัวแคนดิเดตนายกฯ "รทสช" เกทับแลนด์สไลด์ คว้า 400 เขต". ช่อง 8. 2023-03-25. สืบค้นเมื่อ 2023-03-25.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "1st LD: Srettha Thavisin elected as Thailand's new prime minister - China.org.cn". www.china.org.cn. สืบค้นเมื่อ 2023-08-22.
- ↑ "โปรดเกล้าฯ เศรษฐา เป็นนายกฯคนที่ 30 เตรียมอันเชิญพระบรมราชโองการ". www.khaosod.co.th. สืบค้นเมื่อ 2023-08-23.
- ↑ "นายกฯ คนที่ 30 "เศรษฐา ทวีสิน" ถึงทำเนียบรัฐบาล เข้าพบ "พล.อ.ประยุทธ์" แล้ว". www.thairath.co.th. 2023-08-24.
- ↑ "บันทึกประวัติศาสตร์ ครั้งแรกในรอบ 91 ปี 2 นายกฯ ส่งไม้ต่อบริหารประเทศ". thansettakij. 2023-08-24.
- ↑ "พระราชหัตถเลขาพระราชทานอภัยลดโทษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (40 ข): 1. 2023-09-01. สืบค้นเมื่อ 2023-09-01.
- ↑ "ฉากสุดท้าย 9 ปีทำเนียบ 'ลุงตู่' เปิดใจหมดเปลือก อำลาสื่อ น้ำตาคลอ". 2023-08-31.
- ↑ ""วิษณุ" คาดไทม์ไลน์ "ครม.ใหม่" ทำหน้าที่ช่วงปลายเดือน ก.ย." Thai PBS.
- ↑ ""ครม.เศรษฐา" ถวายสัตย์ปฏิญาณตนแล้ว - ถ่ายรูปหมู่ทำเนียบฯ". Thai PBS.
- ↑ ‘ในหลวง’ โปรดเกล้า ‘พล.อ.ประยุทธ์’ องคมนตรี เฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่
- ↑ Pavin Chachavalpongpun (2014-09-08). "Wisdom of General Prayuth". New Mandala. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-10. สืบค้นเมื่อ 2014-09-10.
- ↑ DNA samples taken from murdered Britons on Thai beach 'don't match ANY of the arrested suspects, including British brothers who had been questioned', claims local media
- ↑ “พล.อ.ประยุทธ์” ขอโทษพูดแรงฝรั่งใส่บิกินี่ เก็บถาวร 2017-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, mthai news, 18 กันยายน 2557
- ↑ พล.อ.ประยุทธ์ อยากให้คนทั้งโลกกินข้าว-เพื่อให้ชาวนาขายข้าวได้
- ↑ "นรม. เตรียมลงพื้นที่พบปะประชาชนในเร็ว ๆ นี้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-26. สืบค้นเมื่อ 2014-10-09.
- ↑ เตรียมจัดตั้งค่ายเยาวชน 354 อำเภอ ผลักดัน 12 ค่านิยม-ปฏิรูปประเทศ
- ↑ นายกฯปัดข่าวยกเลิกพันธบัตรรัฐบาล
- ↑ จะเลี้ยงให้มีลูก3ครอกหรือไง! "บิ๊กตู่"ชี้"อุยกูร์"ไม่เกี่ยวไทย ถ้าแรงขึ้นอาจปิดสถานทูต
- ↑ ""บิ๊กตู่"กร้าว ทำไมรบ.นี้ต้องรับผิดชอบปม"อุทยานราชภักดิ์" รบ.ก่อนไม่เห็นรับปัญหาปท". มติชน. 2015-11-17. สืบค้นเมื่อ 2015-11-18.
- ↑ ""บิ๊กตู่" ยัวะ 323 นักวิชาการ หลุด ระวังคนมายิง โยนระเบิดใส่ตาย". มติชน. 2015-11-24. สืบค้นเมื่อ 2015-11-24.
- ↑ "'บิ๊กตู่'พอใจร่างรธน.บางส่วน ยันให้เกียรติกรธ". เดลินิวส์. 2016-03-29. สืบค้นเมื่อ 2016-03-30.
- ↑ "'บิ๊กตู่' แนะผู้หญิงแต่งตัวเหมือนทอฟฟี่ เปิดห่อจะไม่น่ากิน ต้องอยู่ในห่อมิดชิด". มติชน. 2016-04-12. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
- ↑ ""บิ๊กตู่" ชี้ไฟป่าต้องแก้ต้นเหตุคนจนหยุดเผาป่า "กอบกาญจน์" ยันไม่กระทบท่องเที่ยว". ผู้จัดการ. 2016-05-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-08. สืบค้นเมื่อ 2016-05-09.
- ↑ ปมทูตวิจารณ์ละเมิดสิทธิ ประยุทธ์บอกเราต้องเป็นสุภาพบุรุษทำตัวเป็นผู้ใหญ่ แม้เป็นประเทศเล็ก
- ↑ "ประยุทธ์ไม่สน โดนวิจารณ์ลอกสปีชโอบามา ยัน ถาม กต. แล้วไม่มีปัญหา". ประชาชาติธุรกิจ. 3 November 2021. สืบค้นเมื่อ 12 December 2021.
- ↑ "บริษัทรับซื้อที่ดินพ่อ"ประยุทธ์"600 ล."หุ้นใหญ่"ตั้งบนเกาะบริติชเวอร์จิน". สำนักข่าวอิศรา. 2014-11-02. สืบค้นเมื่อ 2014-11-07.
- ↑ "ในหลวง" พระราชทานกำลังใจ ทรงแนะให้ครม.ใหม่แก้ปัญหาให้ตรงจุด
- ↑ ในหลวง พระราชทานพร ครม.ใหม่ มีกำลังใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความถูกต้อง
- ↑ สนุก.คอม (July 25, 2019). "ปิยบุตร สงสัยนายกฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบ ยืนยันไม่ได้เอาคลิปตัดต่อมากล่าวหา". www.sanook.com. สืบค้นเมื่อ January 5, 2020.
- ↑ ไทยรัฐ (August 27, 2019). "มติผู้ตรวจการฯ ยุติปมนายกฯถวายสัตย์ฯ 1 กรณี ยื่นศาลรธน.วินิจฉัย 1 กรณี". www.thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ January 5, 2020.
- ↑ ข่าวสด (September 11, 2019). "ด่วน! ศาลรัฐธรรมนูญ "ไม่รับคำร้อง" บิ๊กตู่ ปมถวายสัตย์ฯ แจง ไม่มีอำนาจ". www.khaosod.co.th. สืบค้นเมื่อ January 5, 2020.
- ↑ เอ็มไทย (September 18, 2019). "ฝ่ายค้านอภิปรายปมถวายสัตย์ไม่ครบ ชี้ "ประยุทธ์" ควรลาออก". news.mthai.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-07. สืบค้นเมื่อ January 5, 2020.
- ↑ Tanakasempipat, Patpicha; Thepgumpanat, Panarat (2 December 2020). "Thai PM found not guilty in conflict of interest case". Reuters. สืบค้นเมื่อ 3 December 2020.
- ↑ Yuda, Masayuki (2 December 2020). "Thailand PM survives removal threat at Constitutional Court". Nikkei Asia. สืบค้นเมื่อ 3 December 2020.
- ↑ "ย้อนปม "คดีเหมืองทองอัครา" ขายสมบัติชาติจริงหรือ". คมชัดลึกออนไลน์. 22 October 2021. สืบค้นเมื่อ 12 December 2021.
- ↑ "โต้ข่าวลือไทยแพ้คดีเหมืองทองอัครา กพร. ยันยังไม่มีคำตัดสินชี้ขาด". ไทยรัฐ. 3 October 2021. สืบค้นเมื่อ 12 December 2021.
- ↑ ""ชลน่าน" ตามอัด "บิ๊กตู่" กังขา ปมเหมืองทองอัครา แอบเจรจา "คิงส์เกต"". ไทยรัฐ. 22 October 2021. สืบค้นเมื่อ 12 December 2021.
- ↑ "อนุญาโตตุลาการในสิงคโปร์ชี้ชะตาคดีเหมืองทองอัครา". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 30 September 2022.
- ↑ "เอแบคโพลล์: 10 รายชื่อสุดยอด ซีอีโอ CEO ภาครัฐและภาคเอกชนแห่งปี 2554 ในความทรงจำและขวัญใจกลุ่มธุรกิจ". ryt9.com.
- ↑ "Top Adviser to HM King Showers Praises on Junta". Khaosod English. 26 August 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 28 August 2015.
- ↑ ปรัชญา นงนุช (10 December 2017). "ใครเริ่มเรียก 'ลุงตู่' คนแรก ? ดังข้ามปี ชื่อนี้ที่มา ไม่ธรรมดา !!". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 25 May 2019.
- ↑ Chachavalpongpun, Pavin (5 January 2015). "Prayuth's Wife Called Thailand's 'Most Able'". Asia Sentinel. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2020. สืบค้นเมื่อ 27 June 2015.
- ↑ 190.0 190.1 Fernquest, Jon (18 September 2014). "PM Prayuth's lucky rings". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 31 March 2015.
- ↑ Thongnoi, Jitsiree (13 September 2015). "Prayut, the fortune teller and the ghost of the guru". Bangkok Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-17. สืบค้นเมื่อ 13 September 2015.
- ↑ Satrusayang, Cod (15 January 2015). "Addicted to superstition: Thailand's 21st century mystics". Bangkok Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-17. สืบค้นเมื่อ 16 January 2015.
- ↑ Sivasomboon, Busaba (26 April 2021). "Thailand's prime minister fined for breaking face mask rule". Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2021. สืบค้นเมื่อ 20 May 2021.
- ↑ "Curfew in Greater Bangkok from Monday". Bangkok Post. 9 July 2021. สืบค้นเมื่อ 9 July 2021.
- ↑ "รวม 10 บทเพลง 'บิ๊กตู่' แต่ง หลังปล่อยซิงเกิ้ลล่าสุด". คมชัดลึกออนไลน์. 14 May 2019. สืบค้นเมื่อ 21 July 2022.
- ↑ "5 ปี 7 ผลงานเพลง กลยุทธ์สื่อสารการเมือง พลเอก ประยุทธ์ ที่แต่งเพื่อขออยู่อีกนาน". THE STANDARD. 10 April 2018. สืบค้นเมื่อ 21 July 2022.
- ↑ Nanuam, Wassana (23 August 2014). "General gets ready to swap into civvies". Bangkok Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-17. สืบค้นเมื่อ 4 September 2014.
- ↑ "First family keeps low profile". The Nation. 22 August 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2016. สืบค้นเมื่อ 22 November 2014.
- ↑ ยลลีลานักดนตรีสาวพังก์สุดเท่ “พลอย-เพลิน” ลูกสาวแฝดของ “บิ๊กตู่” เก็บถาวร 2014-12-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์
- ↑ ฝีมือเยี่ยม-พลอย-เพลิน-ลูกสาวฝาแฝด-พล-อ-ประยุทธ์-เคยเป็น-นักดนตรี-วง-badz-ในเครือ-rs-เลยทีเดียว เว็บไซต์ ข่าวไทย อัปเดต[ลิงก์เสีย]
- ↑ "#ตามหาลูกประยุทธ์ เป็นเหตุ ลูกสาวนายกฯ แจ้งความหมิ่นประมาทคนแพร่ข้อความเท็จ". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 21 July 2022.
- ↑ "ศาลสั่งจำคุก 5 ปี ไม่รอลงอาญา มือโพสต์คุกคามลูกประยุทธ์". ผู้จัดการออนไลน์. 26 May 2022. สืบค้นเมื่อ 21 July 2022.
- ↑ "Prayuth Chan-ocha: Thailand's face of hybrid democracy". BBC News. 8 September 2020. สืบค้นเมื่อ 21 July 2022.
- ↑ "Thailand's Whiny Dictator Prayut Chan-o-cha Targets Critics and Democracy". CATO Institute. สืบค้นเมื่อ 21 July 2022.
- ↑ กลุ่มต้านรัฐบาลคสช.โวยหนังสือประวัติศาสตร์ชาติยก'บิ๊กตู่'ปราบโกง-ปฏิรูปการเมือง
- ↑ "นายกรัฐมนตรี คนที่ 29 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา". รัฐบาลไทย. สืบค้นเมื่อ March 20, 2021.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๓, ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๖๒, เล่ม ๑๔๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒, ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๒๖๖๐, ๕ เมษายน ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒๘ ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒ หน้า ๙ เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข, ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๕, ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๖, ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๙ ๓๗ ข หน้า ๕, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๗ ข หน้า ๔, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒๓, ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๖
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เก็บถาวร 2018-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เฟซบุ๊ก
- ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์)
- ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่อินสตาแกรม
ก่อนหน้า | ประยุทธ์ จันทร์โอชา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร | นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 29 (ครม. 61 และ 62) (24 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562 – 24 สิงหาคม 30 กันยายน พ.ศ. 2565 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566) |
เศรษฐา ทวีสิน | ||
นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล | ผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี (ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ) (22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557) |
ตนเอง (นายกรัฐมนตรี) | ||
ประวิตร วงษ์สุวรรณ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ครม. 62) (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566) |
สุทิน คลังแสง | ||
สถาปนาตำแหน่ง | หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 – 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562) |
ยุบตำแหน่ง | ||
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา | ผู้บัญชาการทหารบก (1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 30 กันยายน พ.ศ. 2557) |
พลเอก อุดมเดช สีตบุตร | ||
พลโท อนุพงษ์ เผ่าจินดา | แม่ทัพภาคที่ 1 (1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 30 กันยายน พ.ศ. 2551) |
พลโท คณิต สาพิทักษ์ |