บางกอกโพสต์

หนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษที่วางจำหน่ายในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก Bangkok Post)

บางกอกโพสต์ (อังกฤษ: Bangkok Post) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษ ที่ตีพิมพ์จำหน่ายในประเทศไทย ของบางกอกโพสต์[1]

บางกอกโพสต์
Bangkok Post
อังกฤษ: The newspaper you can trust
(แปลว่า หนังสือพิมพ์ที่คุณสามารถวางใจได้)
ประเภทหนังสือพิมพ์รายวัน
หนังสือพิมพ์ผู้นำ (Elite Newspaper)
รูปแบบบรอดชีต
เจ้าของบริษัท บางกอกโพสต์ จำกัด (มหาชน)
ผู้ก่อตั้งอเล็กซานเดอร์ แม็คโดนัลด์ และประสิทธิ์ ลุลิตานนท์
หัวหน้าบรรณาธิการพิชาย ชื่นสุขสวัสดิ์
บรรณาธิการศูนย์รัฐ บุณยมณี
คอลัมนิสต์สุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์
วาสนา นาน่วม
ชาติศิริ โสภณพนิช
จรูญ อินทจาร
วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์
ก่อตั้งเมื่อ1 สิงหาคม พ.ศ. 2489 (78 ปี)
ภาษาภาษาอังกฤษ
สำนักงานใหญ่อาคารบางกอกโพสต์ เลขที่ 136 ถนน ณ ระนอง แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
หนังสือพิมพ์ในเครือโพสต์ทูเดย์
เอ็มทูเอฟ
เว็บไซต์www.bangkokpost.com

บางกอกโพสต์ ตีพิมพ์และออกจำหน่ายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดย บริษัท โพสต์พับลิชชิ่ง จำกัด ซึ่งบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ และถือว่าเป็นผู้ให้กำเนิดหนังสือพิมพ์ฉบับนี้คือ นาวาตรีอเล็กซานเดอร์ วิลเลี่ยม แมคโดนัล นายทหารชาวอเมริกัน ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา เพื่อปฏิบัติการร่วมกับขบวนการเสรีไทย ทั้งนี้ ก่อนที่จะรับราชการทหารนั้น นาวาตรีแมคโดนัล มีอาชีพเป็นนักหนังสือพิมพ์มาก่อน

จากนั้น จึงขายกิจการแก่นักลงทุนชาวเยอรมัน ต่อมา ลอร์ดทอมสัน ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ลอนดอนไทม์ และหัวอื่นๆ อีกกว่า 150 ฉบับทั่วโลก ได้เข้าซื้อหุ้นของบริษัทฯ เกือบทั้งหมด พร้อมเข้าบริหาร จนกระทั่งเดือนธันวาคม พ.ศ. 2527 คณะผู้บริหารมีมติให้นำบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ประวัติ

แก้

ก่อตั้ง (2489-2506)

แก้

จากความสนใจพื้นฐานด้านสื่อสารมวลชน นายทหารอเมริกัน พลตรี อเล็กซานเดอร์ แม็คโดนัลด์ ได้ชักชวนนายประสิทธิ์ ลุลิตานนท์ ร่วมกันก่อตั้งหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษฉบับแรกของประเทศไทยในชื่อ "Bangkok Post" โดยถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2489 และมีพลตรี อเล็กซานเดอร์ แม็คโดนัลด์ เป็นบรรณาธิการบริหารคนแรก หลัง สงครามโลกครั้งที่สอง นายไคเบล นักลงทุนชาวเยอรมัน ได้ซื้อทุนจากพลตรี อเล็กซานเตอร์และแต่งตั้งนายเฮนรี่ แฟรเดอริค เป็นบรรณาธิการคนที่สอง ในปี 2506 ลอร์ด ธอมป์สัน เจ้าพ่อธุรกิจหนังสือพิมพ์เครือข่ายฟลีท ได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท มีการติดตั้งแท่นพิมพ์ และอุปกรณ์การพิมพ์ พร้อมกับนำเทคนิคการพิมพ์สมัยใหม่มาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

จดทะเบียน , ขายหุ้น (พ.ศ. 2527-2541)

แก้

บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2527 บริษัทได้เข้าลงทุนในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับหนังสือพิมพ์ และสิ่งพิมพ์ต่างๆ ได้แก่ บริษัท สยามโพสต์ จำกัด จำหน่ายหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวันในชื่อ "สยามโพสต์" บริษัท ฮาเชท ฟิลิปปาคิ โพสต์ จำกัด (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท โพสต์ อินเตอร์เนชั่นแนล มีเดีย จำกัด) ผลิตและจำหน่ายนิตยสารรายเดือน ELLE และ ELLE Decoration บริษัท ฮาเชท ฟิลิปปาคิโพสต์ – เอซีพี จำกัด (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท โพสต์-เอซีพี จำกัด) ผลิตและจำหน่ายนิตยสารรายเดือน Cleo และบริษัท บางกอกโพสต์ แอนด์ มาร์ติน คลินซ์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ เป็นนายหน้าขายโฆษณาให้กับต่างประเทศ ในปี 2539 บริษัท ตรีทศ ทรี-เจเนอเรชั่น จำกัด ได้เข้าดำเนินกิจการของบริษัท สยามโพสต์ จำกัด แทน และได้ปิดกิจการลงในต้นปี 2541 ในปีเดียวกันนี้บริษัทได้ปิดแผนกแม็กกาซีน และขายหุ้นในบริษัทร่วมทุน "บจก. บางกอกโพสต์ แอนด์ มาร์ติน คลินซ์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์" รวมทั้งปิดกิจการของบริษัทย่อย "อัลลายด์ นิวสเพเพอร์" ด้วย

ขยายธุรกิจ (2542-2545)

แก้

ในกลางปี 2542 โครงการติดตั้งระบบการจัดหน้าหนังสือพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมโยงการทำงานในส่วนของหน้าข่าวและหน้าโฆษณา และได้มีการปรับโครงสร้างการทำงานของกองบรรณาธิการบางกอกโพสต์ใหม่ ช่วงปลายปี 2542 บริษัทได้ยุติการผลิตนิตยสาร Tatler และได้เลิกกิจการบริษัท เวิลด์ เพรส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เดือนพฤศจิกายนของปี 2543 บริษัทได้ร่วมลงทุนในบริษัท เว็บ แอดไวซอรี่ จำกัด เพื่อสร้างเว็บไซต์ด้านการเงินแห่งแรกในเมืองไทย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงเลิกกิจการในปลายปี 2544 ในระหว่างปี 2544 บริษัทมีความพยายามที่จะเข้าสู่ตลาดโฆษณาสมัครงาน จึงได้เริ่มผลิตและจำหน่ายนิตยสารชีวิตงานขึ้นมา แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จึงต้องทำให้หยุดการผลิตในเดือนมกราคม 2545 นอกจากนั้นในรอบปี 2544 บริษัทยังได้เพิ่มส่วนต่างๆ ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ขึ้นมา อันจะเป็นประโยชน์และเพื่อสนองความต้องการแก่ผู้อ่านในกลุ่มต่างๆ โดยในส่วนของ Your Money จะนำเสนอข่าวทางด้านการเงิน การธนาคาร ข้อมูลและข้อแนะนำต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการบริหารการเงินและธุรกิจในชีวิตประจำวัน Learning Post จะเป็นส่วนที่นำเสนอบทความต่างๆ ที่ครอบคลุมหัวข้อข่าวที่สำคัญๆ ด้านการศึกษาในมุมมองของนักเรียน อาจารย์ นอกจากนี้ยังมีบทเรียนภาษาไทยที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านชาวต่างประเทศอีกด้วย ในช่วงปลายปี 2545 บริษัทได้เตรียมการขยายธุรกิจเพิ่ม คือ ผลิตและจำหน่ายหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันฉบับภาษาไทยฉบับใหม่ โดยในไตรมาสสุดท้าย บริษัทได้รับพนักงานใหม่สำหรับกองบรรณาธิการโพสต์ทูเดย์ และในเดือนพฤศจิกายน 2545 ได้มีการแนะนำหนังสือพิมพ์ใหม่ให้กับตัวแทนผู้ซื้อโฆษณาได้รับทราบ[2]

ฟื้นฟูกิจการ

แก้

ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2564 บริษัทเข้าข่ายให้ต้องปรับปรุงฐานะการเงินเนื่องจากมีส่วนของผู้ถือหุ้นน้อยกว่าศูนย์[3]

อ้างอิง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

แม่แบบ:บางกอกโพสต์