ชาติศิริ โสภณพนิช

ชาติศิริ โสภณพนิช (เกิด: 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2502)[4] เป็นบุตรคนโตของชาตรี โสภณพนิช (หลานชายของชิน โสภณพนิช ผู้ก่อตั้งธนาคารกรุงเทพ) และปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารรวมถึงเป็นสมาชิกของคณะกรรมการบริหารของธนาคารกรุงเทพตั้งแต่ พ.ศ. 2535 และ 2537 ตามลำดับ[5]เป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส Covid 19 (โควิด-19) [6] กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ[7]และเป็นกรรมการ บริษัท บางกอก โพสต์ จำกัด (มหาชน)[8]

ชาติศิริ โสภณพนิช

เกิด12 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 (65 ปี)
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่าสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
สถาบันโปลิเทคนิควูสเตอร์
โรงเรียนอัสสัมชัญ
อาชีพกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ
กรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ
คู่สมรสณินทิรา ประจวบเหมาะ[1]
บุตรณุชนา โสภณพนิช[2]
ชานันท์ โสภณพนิช
บิดามารดาชาตรี โสภณพนิช
สุมณี โสภณพนิช[3]

ธนาคารกรุงเทพ ภายใต้การบริหารงานของนายชาติศิริ มีการดำเนินงานที่เติบโตก้าวหน้า โดยปัจจุบันมีเครือข่ายสาขากว่า 1,100 แห่ง และสำนักธุรกิจอีก 230 แห่งทั่วประเทศ โดยมีบัญชีเงินฝากประมาณ 17 ล้านบัญชี ธนาคารมีเครือข่ายสาขาต่างประเทศ 26 แห่ง ซึ่งรวมถึงธนาคารในเครือที่ธนาคารถือหุ้นทั้งหมดในประเทศจีนและมาเลเซีย และมีสำนักงานตัวแทนอีกหนึ่งแห่งในประเทศเมียนมาร์ นอกจากความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจแล้ว ธนาคารยังเป็นองค์กรหลักที่ให้การสนับสนุนสังคมไทย และมีบทบาทสำคัญในการริเริ่มโครงการพัฒนาสังคมและการศึกษาหลายโครงการ[5]

นอกจากความรับผิดชอบในฐานะผู้บริหารธนาคารกรุงเทพแล้ว นายชาติศิริยังดำรงตำแหน่งประธานสมาคมธนาคารไทย กรรมการในคณะกรรมการระบบการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย และกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน อีกทั้งยังดำรงตำแหน่งกรรมการ บมจ.โพสต์ พับลิชชิ่ง และกรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ[9] และ Singapore Management University [10]

ก่อนหน้านี้ นายชาติศิริ เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กรรมการบริษัทวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล – เอเชียแปซิฟิก กรรมการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกรรมการ บมจ.การบินไทย[11]

ชาติศิริ โสภณพนิช จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ หลังจากนั้นจึงศึกษาต่อระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์ที่สถาบันโปลิเทคนิควูสเตอร์ สหรัฐอเมริกา (Worcester Polytechnic Institute; WPI) ปริญญาโท สาขาวิศวกรรมศาสตร์เคมีและบริหารธุรกิจ จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology; MIT) สหรัฐอเมริกา[12] เริ่มทำงานที่ ซิตี้แบงก์ นิวยอร์ก เขาได้หวนกลับมายังประเทศไทยเพื่อทำงานที่ธนาคารกรุงเทพ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2537

ทั้งนี้ ชาติศิริยังได้รับรางวัล นักการเงินแห่งปี จากวารสารการเงินธนาคาร ในปี พ.ศ. 2544 ปี พ.ศ. 2548 และปี พ.ศ. 2562 ได้รับรางวัล The Asian Banker Achievement Award 2005 for Leadership in Thailand จากนิตยสารดิเอเชี่ยนแบงก์เกอร์ รวมถึงรางวัล แบงเกอร์อะวอร์ด 2006 ในนามของธนาคารกรุงเทพ [13] และรางวัล Robert H. Goddard Alumni Award จาก Worcester Polytechnic Institute ในฐานะศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับในวงการธุรกิจ[14]

นายชาติศิริ ยังมีความรู้จักในฐานะหัวหน้างาน กับ ศิริ จิระพงษ์พันธ์ และ ไพรินทร์ ชูโชติถาวร เนื่องจากบิดาชักชวนให้มาทำงานด้านปิโตรเคมี[15]

ธนาคารกรุงเทพภายใต้การบริหารงานโดยนายชาติศิริ ได้รับรางวัลเกียรติยศต่างๆ มากมาย อาทิ นายธนาคารยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย จากนิตยสารเดอะ แบงก์เกอร์ และนิตยสารยูโรมันนี่ นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลธนาคารยอดเยี่ยมแห่งปี จากวารสารการเงินธนาคาร ติดต่อกันถึง 6 ปี

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์[16]ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/ 2560และได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ[17]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ชาตรี โสภณพนิช". ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ณินทิรา โสภณพนิช". ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "สิ้นประธานกรรมการ ธ.กรุงเทพ 'ชาตรี โสภณพนิช' ด้วยโรคชรา". วอยซ์ทีวี. 25 มิถุนายน 2561. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "www.senate.go.th: วุฒิสภา : The Senate, Kingdom of Thailand - archive.is". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-12-24.
  5. 5.0 5.1 "กรรมการผู้จัดการใหญ่ - ธนาคารกรุงเทพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-12. สืบค้นเมื่อ 2013-10-04.
  6. มติคณะรัฐมนตรี 13 สิงหาคม 2563
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  8. "รายชื่อกรรมการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-02. สืบค้นเมื่อ 2017-09-04.
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-12. สืบค้นเมื่อ 2013-10-04.
  10. Board of Trustees of Singapore Management University
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-12. สืบค้นเมื่อ 2013-10-04.
  12. Bangkok Bank Annual Report (2009)เก็บถาวร 2012-06-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  13. Banker Awards 2006 Winner (Thailand)เก็บถาวร 2010-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-12. สืบค้นเมื่อ 2013-10-04.
  15. "ดร.ไพรินทร์ ชูโชติช่วงถาวร ผู้บุกเบิกปิโตรเคมี ให้ "ชาติศิริ โสภณพนิช"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-14. สืบค้นเมื่อ 2017-11-28.
  16. นายกฯ เซ็น ตั้ง 39 ผู้ทรงคุณวุฒิ ป.ย.ป.แล้ว คนดังเพียบ!
  17. แต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2021-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๒, ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓๑, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้