จรูญ อินทจาร

จรูญ อินทจาร (29 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 - ) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี[1] กรรมการอิสระ บริษัท บางกอก โพสต์ จำกัด (มหาชน) [2]

นายจรูญ อินทจาร
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ดำรงตำแหน่ง
21 ตุลาคม พ.ศ. 2556 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ก่อนหน้า วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
ถัดไป นุรักษ์ มาประณีต
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 (78 ปี)

ประวัติแก้ไข

นายจรูญ อินทจาร เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 สำเร็จการการศึกษา คณะนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

การทำงานแก้ไข

เคยดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงพิษณุโลก เมื่อปี 2531,รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค1,ผู้พิพากษาศาลฎีกา, ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลจังหวัดสมุทรปราการ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว และปี 2549 ดำรงตำแหน่ง ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 ได้รับเลือกจากที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ[3] ต่อมาในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 นายจรูญได้ลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนที่จะพ้นจากตำแหน่งตุลาการ กรณีอายุครบ 70 ปี ในวันที่ 29 พฤษภาคม ของปีเดียวกัน[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  2. รายชื่อกรรมการอิสระ
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (นายจรูญ อินทจาร นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ)
  4. “จรูญ อินทจาร” ลาออกประธานศาลรธน. ก่อนพ้นวาระ
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๒๒, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข