รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 19 ซึ่งเป็นฉบับชั่วคราว จัดทำร่างโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองหลังรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 และเป็นรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้ายที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระบรมราชานุญาตและทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 131 ตอนที่ 55 ก และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับนี้สิ้นสุดลงแล้วเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
ที่มา
แก้วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ก่อรัฐประหาร ทำให้คณะรัฐมนตรีรักษาการสิ้นสุดลง คณะที่มีนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี และในวันเดียวกัน คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง เว้นหมวด 2 พระมหากษัตริย์ [1][2]
ทั้งนี้ ในอารมภบทของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ระบุว่า การจัดให้มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 อยู่ในแนวทางการแก้ปัญหาระยะที่ 2 จากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้กำหนดไว้ทั้งสิ้น 3 แนวทาง ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหาระยะที่ 2 จะจัดให้มีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว จัดตั้งสภาขึ้นทำหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ ให้มีคณะรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินแก้ไขสถานการณ์อันวิกฤติให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ จัดตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติและองค์กรต่างๆ เพื่อให้มีการปฏิรูปในด้านการเมืองและด้านอื่นๆ และให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก่อนจะส่งมอบภารกิจเหล่านี้แก่ผู้แทนปวงชนชาวไทยและคณะรัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินในระยะต่อไป ซึ่งในการดำเนินการนี้จะให้ความสำคัญแก่หลักการพื้นฐานยิ่งกว่าวิธีการในระบอบประชาธิปไตย จึงจำเป็นต้องใช้เวลาสร้างบรรยากาศแห่งความสงบเรียบร้อยและปรองดอง เพื่อนำความสุขที่สูญหายไปนานกลับคืนสู่ประชาชน และปฏิรูปกฎเกณฑ์บางเรื่องที่เคยเป็นชนวนความขัดแย้ง จึงให้มีรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จนกว่าจะได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะจัดทำขึ้นตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป[1]
วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557 มีประกาศว่าจะมีการร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวเพื่อให้มีผลใช้บังคับแทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ เครืองาม เป็นหัวหน้าคณะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ [3]
วันที่ 22 มีนาคม 2559 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระบรมราชานุญาตและลงพระปรมาภิไธย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559 โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 133 ตอนที่ 25 ก [4]
ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยและพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 ที่กำหนดให้มีการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติมจากเดิม 220 คนเป็น 250 คน โดยได้มีการประกาศลง ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 และให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559 [5]
เนื้อหา
แก้รัฐธรรมนูญนี้มีทั้งหมด 48 มาตรา
รัฐธรรมนูญฉบับนี้เปิดทางให้สถาปนาสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อใช้อำนาจนิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรีชั่วคราวเพื่อรับผิดชอบการบริหารราชการแผ่นดิน สภาปฏิรูปแห่งชาติ (และต่อมาสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ) เพื่อดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างกว้างขวางและอนุมัติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุกรอบเวลาที่แน่นอนสำหรับงานเหล่านี้[6]
รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้ตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีชั่วคราว โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีสมาชิก 200 คน มาจากการเลือกโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และเกินกึ่งหนึ่งเป็นนายทหาร[7] สภาปฏิรูปแห่งชาติมีสมาชิก 250 คน ซึ่งมาจากการเลือกโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติเช่นกัน[8]
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังกำหนดการเตรียมรัฐธรรมนูญถาวรฉบับใหม่ซึ่งจะมีคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมีสมาชิก 35 คน โดย 20 คนมาจากสภาปฏิรูป 5 คนมาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 5 คนมาจากคณะรัฐมนตรีชั่วคราว และ 5 คนมาจาก คสช.[3] สภาปฏิรูปจะอนุมัติร่างรัฐธรรมนูญก่อนกราบทูลฯ พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยผ่านเป็นกฎหมาย[8] เดิมกำหนดให้รัฐธรรมนูญถาวรฉบับร่างได้รับอนุมัติจากพลเรือนในการลงประชามติทั่วประเทศก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ทว่า คสช. ไม่อนุมัติข้อกำหนดดังกล่าว และข้อกำหนดนี้ถูกลบไป[3] รัฐธรรมนูญชั่วคราวจะกำหนดให้ คสช. ควบคุมคณะรัฐมนตรีชั่วคราวและให้อำนาจ คสช. ออกคำสั่งใด ๆ ที่เห็นว่าชอบด้วยกฎหมายเพื่อความมั่นคงของชาติ[7]
บทบัญญัติทั่วไป
แก้มาตรา 1 และ 2 บัญญัติไว้ว่า ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยวและปกครองแบบ "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"[9] มาตรา 3 กำหนดว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย" มาตรา 4 รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของชาวไทย
มาตรา 5 ว่า เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทำการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตราบที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา 44
แก้"ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจสั่งการระงับยับยั้ง หรือกระทำการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่งหรือการกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว"
การใช้อำนาจตามมาตรานี้ยังปรากฏภายหลังจากที่ราชอาณาจักรไทยประเทศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในการออกคำสั่งหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ[10]เนื่องจาก มาตรา 265 บัญญัติว่า ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้ รัฐธรรมนูญนี้ ยังคงอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลัง การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่
ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรักษาความสงบแห่งชาติยังคงมีหน้าที่และอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2558 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2559 และให้ถือว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคณะรักษาความสงบแห่งชาติยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไป ให้นำความในมาตรา 263 วรรคเจ็ด มาใช้บังคับแก่การสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้วยโดยอนุโลม
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ข้อวิจารณ์
แก้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าไม่เป็นประชาธิปไตยและยิ่งเสริมอำนาจของทหาร โดยมาตรา 48 ซึ่งนิรโทษกรรมความผิดของทหารทั้งในอดีตและอนาคต และให้สิทธิคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการออกคำสั่งใดๆ เพื่อการปฏิรูปหรือความมั่นคง และคำสั่งเหล่านั้นถือว่าชอบด้วยกฎหมาย[11]
มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่ให้อำนาจแก่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเหนืออำนาจของฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการซึ่งคล้ายคลึงกับธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 มาตรา 17 ที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้ร่าง ทำให้ผู้เผด็จการสั่งการฆ่าคนนอกกระบวนการยุติธรรมได้ โดยจอมพลสฤษดิ์ สั่งประหารชีวิตบุคคลจำนวนมากที่ถูกกล่าวหาความผิดอาญาโดยไม่มีการไต่สวนในศาลอย่างเหมาะสม อาชญากรรมที่ถูกกล่าวหานั้นมีตั้งแต่วางเพลิง เป็นคอมมิวนิสต์ ประกาศตนเป็นนักบุญซึ่งจอมพลสฤษดิ์ เห็นว่าเป็นภัยคุกคามต่อราชบัลลังก์[12] นักการเมืองจากพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์แสดงความกังวลต่อมาตรานี้ และขอให้ คสช. ใช้อำนาจในมาตรานี้ตามความจำเป็น[13][14][15]
ปฏิกิริยา
แก้วันที่ 31 กรกฎาคม เมื่อเวลา 18.20 น. มีผู้ประท้วงสวมหน้ากากกาย ฟอคส์ 7 คน ชุมนุมที่บีทีเอสสกายวอล์คช่องนนทรีเป็นเวลาห้านาที พร้อมถือป้ายแสดงข้อความต่อต้านนิรโทษกรรม ฯลฯ ผู้ประท้วงคนหนึ่งให้สัมภาษณ์ว่า ตนต้องการยืนยันว่า นิรโทษกรรมให้ตัวเองนั้นยอมรับไม่ได้ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ทำ และ "ฉันคิดว่าผู้คัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ เมื่อปีที่แล้วควรออกมาคัดค้านกฎหมายนิรโทษกรรมทุกฉบับร่วมกับเรา ไม่ใช่เฉพาะฉบับที่เสนอโดยคนที่ไม่ชอบ"[16]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-08-01. สืบค้นเมื่อ 27 October 2015., เล่ม ๑๓๑, ตอน ๕๕ ก, ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑-๑๗
- ↑ "คสช. ประกาศสิ้นสุด รธน. คงอำนาจ สว". Post Today. 2014-05-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-24. สืบค้นเมื่อ 2014-05-22.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "คสช. สั่งตัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่". Isara News. 2014-06-23. สืบค้นเมื่อ 2014-06-23.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 133 ตอนที่ 25 ก
- ↑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอน 77 ก หน้า 1 1 กันยายน พ.ศ. 2559
- ↑ Taweporn (2014-07-24). "2014 Interim Charter to re-engineer Thai political landscape". Prachatai. สืบค้นเมื่อ 2014-07-27.
- ↑ 7.0 7.1 "คาดทหารนั่ง สนช. ครึ่งสภาจาก 200 คน - รธน. ชั่วคราว ม. 17 คงอำนาจเหนือ รบ". Isara News. 2014-06-26. สืบค้นเมื่อ 2014-06-27.
- ↑ 8.0 8.1 "เปิดสเปค สภาปฏิรูป - สนช. คสช. เลือกเอง". Prachatai. 2014-06-20. สืบค้นเมื่อ 2014-06-27.
- ↑ คือ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภา
- ↑ ประเทศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
- ↑ Elizabeth Jackson (2014-07-27). "Thai military announces new constitution". ACB News. สืบค้นเมื่อ 2014-07-27.
- ↑ Noranit Setabutr (2007). รัฐธรรมนูญกับการเมืองไทย (pdf). Bangkok: Thammasat University Press. p. 173–176. ISBN 9789745719996.
- ↑ 'นิพิฏฐ์' ห่วง ม.44 รอดู คสช.ใช้อำนาจ, ไทยรัฐ, 24 กรกฎาคม 2557
- ↑ 'จาตุรนต์'แนะ คสช.ใช้อำนาจ ตามจำเป็น, ไทยรัฐ, 24 กรกฎาคม 2557
- ↑ 'มาร์ค' ขอคสช. ขยายความอำนาจพิเศษ ม.44 ให้ชัด, ไทยรัฐ, 24 กรกฎาคม 2557
- ↑ "Guy Fawkes protesters oppose amnesty for coup makers". Prachatai. 2014-07-31. สืบค้นเมื่อ 2014-08-03.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2014-08-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน., เล่ม ๑๓๑, ตอน ๔๕ ก , ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑-๑๗
ก่อนหน้า | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 - 6 เมษายน 2560) |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 (22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 - 6 เมษายน พ.ศ. 2560) |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (6 เมษายน 2560 - ปัจจุบัน) |