นราพร จันทร์โอชา

รองศาสตราจารย์ นราพร จันทร์โอชา (สกุลเดิม: โรจนจันทร์; เกิด 20 มิถุนายน พ.ศ. 2497) ชื่อเล่น น้อง เป็นอาจารย์ชาวไทย เคยทำงานในสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นภรรยาของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

รองศาสตราจารย์
นราพร จันทร์โอชา
ม.ป.ช., ม.ว.ม., ร.จ.พ.
President Benigno S. Aquino III witnessed as His Excellency General Prayut Chan-o-cha 28-08-2015 cropped 1.jpg
นราพรในปี 2558
เกิดนราพร โรจนจันทร์
20 มิถุนายน พ.ศ. 2497 (68 ปี)
ประเทศไทย
ศิษย์เก่าคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อาชีพอาจารย์
ส่วนสูง183 เซนติเมตร (6 ฟุต 0 นิ้ว)
คู่สมรสประยุทธ์ จันทร์โอชา
(2527–ปัจจุบัน)
บุตรธัญญา จันทร์โอชา
นิฏฐา จันทร์โอชา
บิดามารดาจำรัส โรจนจันทร์
สุทิน โรจนจันทร์

ประวัติแก้ไข

รศ. นราพร จันทร์โอชา ชื่อเล่น น้อง เกิดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2497 มีบิดาชื่อ พันตำรวจเอก จำรัส โรจนจันทร์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2497) และมารดาชื่อ นางสุทิน โรจนจันทร์ ด้วยเหตุนี้จึงตั้งนามให้บุตรสาวนี้ว่า "นราพร" มีพี่สาวฝาแฝดชื่อ สุวรรณา โรจนจันทร์ ชื่อเล่น หมู[1] หลังจาก รศ.นราพร เกิดได้ไม่กี่เดือน บิดาก็ย้ายเข้ากรุงเทพฯ ระหว่างที่บุตรสาวทั้งสองเรียนอยู่ที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟ คอนแวนต์ มารดาดูแลเอาใจใส่อย่างดีจนเป็นที่ชินตาของเพื่อนในโรงเรียน[2]

รศ. นราพร สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ ระดับปริญญาตรีทางด้านภาษาอังกฤษ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโททางด้านการสอนภาษาอังกฤษจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล[2][3]

ชีวิตส่วนตัวแก้ไข

รศ. นราพร พบรักกับพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เข้ามาเรียนภาษาอังกฤษหลักสูตรระยะสั้นที่สถาบันภาษา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานสมรสเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2527[2] มีบุตรสาวฝาแฝด[4] คือ ธัญญา และนิฏฐา จันทร์โอชา[3] ซึ่งทั้งสองเป็นสมาชิกวงแบดซ์ สังกัดอาร์เอส[5]

รศ. นราพร ได้รับคำกล่าวถึงว่า "เป็นอาจารย์ที่ขยันทำงาน เป็นคนฉลาด คนเก่ง คนตรง และมีความชัดเจนในการทำงาน..." แต่ก็เป็นคนที่ยากจะเข้าถึง[2] ทั้งยังเป็นคนที่เงียบขรึม ค่อนข้างเก็บตัว และจะออกงานสังคมที่มีบทบาทโดยตรงเท่านั้น[3]

การทำงานแก้ไข

รศ. นราพร จันทร์โอชา เริ่มเข้ารับราชการเป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาอังกฤษ ประจำสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[6] ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดสอนวิชาภาษาอังกฤษให้กับคณะต่าง ๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างนั้นเคยเป็นนายกสมาคมครูผู้สอนภาษาอังกฤษแห่งประเทศไทย[3] จนกระทั่งลาออกจากราชการใน พ.ศ. 2549[2] และเริ่มเข้าช่วยงานในมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหารตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ต่อมาใน พ.ศ. 2554 ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมแม่บ้านทหารบก และเคยเป็นรองประธานกรรมการมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 3 ของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตามพระบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. บุญโชค พานิชศิลป์ (5 Jun 2019). "บทบาทความห้าวหาญและหวานจ๋อยของ 'พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา' นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของไทย". The MOMENTUM. สืบค้นเมื่อ 17 Jun 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย (24 Aug 2014). "สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง "รศ.นราพร จันทร์โอชา"". โพสต์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 31 Aug 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 ดุษฎี สนเทศ (28 Aug 2014). ""นราพร จันทร์โอชา" แม่บ้านนายกฯ ตู่". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 Aug 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "เปิดใจ 'ทส.ผบ.ทบ.' เงาสะท้อนตัวตน 'บิ๊กตู่'". คมชัดลึก. 21 Mar 2014. สืบค้นเมื่อ 31 Aug 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "รู้จัก 'รศ.นราพร จันทร์โอชา' ว่าที่สตรีหมายเลข1ของไทย". เอ็มไทย. 22 Aug 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-25. สืบค้นเมื่อ 31 Aug 2014.
  6. "ลมใต้ปีก "ประยุทธ์" นราพร จันทร์โอชา". ข่าวสด. 29 Aug 2014. สืบค้นเมื่อ 31 Aug 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ แม่บ้าน
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไย ประจำปี 2553, เล่ม 127 ตอนที่ 14 ข หน้า 10, 8 ธันวาคม 2553
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม 121 ตอนที่ 23 ข หน้า 30, 26 พฤศจิกายน 2547
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม 122 ตอนที่ 11 ข หน้า 128, 23 กรกฎาคม 2548
ก่อนหน้า นราพร จันทร์โอชา ถัดไป
อนุสรณ์ อมรฉัตร   คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย
(24 สิงหาคม 2557 – ปัจจุบัน)
  อยู่ในตำแหน่ง