เหตุปะทะชายแดนไทย–เวียดนาม

เหตุปะทะชายแดนไทย–เวียดนาม หรือเรียกว่า สมรภูมิช่องบก เกิดขึ้นเมื่อกำลังทหารเวียดนามบุกเข้ากัมพูชาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2521 เพื่อล้มล้างระบอบเขมรแดง กำลังทหารกัมพูชาส่วนใหญ่ได้อพยพมาอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศที่ติดกับชายแดนไทย โดยมีกลุ่มชาวกัมพูชาที่ต่อต้านการยึดครองของเวียดนามอยู่ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มกัมพูชาประชาธิปไตย (Democratic Kampuchea) หรือกลุ่มเขมรแดงของพล พต และเขียว สัมพันธ์ มีสมาชิกประมาณ 40,000 นาย มีฐานที่ตั้งอยู่บริเวณพนมกระวันและบริเวณตะวันตกของจังหวัดพระตะบอง กลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยชาติเขมร (Khmer People's National Liberation Front - KPNLF) ภายใต้การนำของซอนซาน มีสมาชิกประมาณ 4,000 นาย และกลุ่มพรรคฟุนซินเปก (Front d"union national pour un Cambodge independant, pacifiaue et cooperatif - FUNCINPEC) ภายใต้การนำของสมเด็จนโรดม สีหนุ การที่กลุ่มต่อต้านทั้งสามกลุ่มนี้มีฐานกองกำลังใกล้กับชายแดนไทยเพื่อเป็นง่ายต่อการหลบหนีเมื่อกำลังเวียดนามบุกเข้ามา กำลังกัมพูชาก็หลบหลีกเข้าสู่ดินแดนไทย ในการนี้เวียดนามเห็นว่าไทยยินยอมให้ชาวกัมพูชาฝ่ายต่อต้านใช้พื้นที่เป็นที่หลบหนีและคุ้มกันการโจมตีของกำลังเวียดนามและกำลังของเฮง สัมริน

การบุกรุกชายแดนไทยของเวียดนาม
ส่วนหนึ่งของ สงครามกัมพูชา–เวียดนามและสงครามเย็น

แผนที่ยุทธศาสตร์กองกำลังต่อต้านเวียดนาม
วันที่พ.ศ. 2522 – 2532 (10 ปี)
สถานที่
ผล
  • ฐานกำลังกองโจรที่ชายแดนไทย–กัมพูชาถูกทำลายจำนวนมาก
  • การปะทะที่แยกออกมาเป็นความเป็นปรปักษ์แบบเปิดระหว่างกองทัพเวียดนามและไทย
  • กองทัพเวียดนามถอนทัพจากชายแดนใน ค.ศ. 1989
คู่สงคราม
 เวียดนาม
กัมพูชา สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา (1979–89)
รัฐกัมพูชา (1989)
สนับสนุนโดย:
 สหภาพโซเวียต
 โปแลนด์[1]
 เชโกสโลวาเกีย[2]
 เยอรมนีตะวันออก[3]

 ไทย
รัฏฐาภิบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย

สนับสนุนโดย:
 สหรัฐ
 จีน
 สหราชอาณาจักร
 ออสเตรเลีย
 อินโดนีเซีย
 มาเลเซีย
 สิงคโปร์
กำลัง
200,000 – 400,000 นาย

44,000 นาย (บริเวณชายแดน)

135,000 – 170,000 นาย (กำลังพลทั้งหมด)

ชนวนเหตุ

แก้
  • การโจมตีบ้านโนนหมากมุ่น อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2523 เวียดนามได้ส่งกองกำลัง 2 กองร้อยล้ำเข้ามาในดินแดนไทย ฝ่ายได้ไทยส่งกำลังไปป้องกัน ส่งผลให้ฝ่ายไทยเสียชีวิต 18 นาย ถูกจับ 2 นาย หลังจากนั้นไทยได้ทำการตอบโต้ส่งกำลังพลบุกโจมตีกลับ ผลคือ กำลังพลเวียดนาม เสียชีวิต 30 นาย เชลยศึก 2 นาย ถูกไทยชิงตัวกลับ และ สามารถยึดบ้านโนนหมากมุ่นคืนมาได้สำเร็จ
  • ช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2524 กองทัพเวียดนามและกำลังของของเฮง สัมริน ล่วงเข้าดินแดนไทยลึก 500 เมตร ที่หมู่บ้านสะแดง อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี และได้ปะทะกับทหารไทย ทำให้ทหารไทยเสียชีวิต 2 นาย บาดเจ็บ 1 นาย และเมื่อวันที่ 3 มกราคม มีการยิงกระสุนอาวุธหนักเข้ามาในเขตไทย ทำให้เจ้าหน้าที่และราษฎรของไทยเสียชีวิตรวม 10 คน
  • กองทัพเวียดนามและกองกำลังของเฮง สัมริน ได้บุกเข้ามาในเขตไทยที่บ้านซับตารี ตำบลปะตง อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 และได้ปะทะกับตำรวจตระเวนชายแดน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 5 นาย และตลอดทั้งปีได้มีการลุกล้ำเข้ามาในเขตอธิปไตยของไทยหลายครั้ง
  • เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2526 เวียดนามได้ส่งกำลังโจมตีค่ายอพยพชาวกัมพูชาที่ตรงข้ามบ้านหนองจาน อำเภอตราพระยา จังหวัดปราจีนบุรี โดยได้เผาทำลายที่พักอาศัยและโรงพยาบาลจนหมดสิ้น มีชาวกัมพูชาบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก ชาวกัมพูชาประมาณ 23, 000 คน ได้หลบหนีเข้ามาในอธิปไตยของไทย เวียดนามยังได้ยิงกระสุนปืนใหญ่เข้ามาตกในดินแดนไทยหลายสิบนัด เป็นผลให้ราษฎรไทยเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนหนึ่ง และบ้านเรือนได้รับความเสียหาย
  • ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม – 2 เมษายน พ.ศ. 2526 กำลังทหารเวียดนาม 1 กองพล สนับสนุนด้วยปืนใหญ่และรถถัง ได้เข้าโจมตีชาวกัมพูชาที่จังกาโก เขาพนมฉัตร และค่ายผู้อพยพตรงข้ามบ้านโคกทหาร ทำให้ชาวกัมพูชาเสียชีวิตหลายคน ที่พักและโรงพยาบาลถูกเผา และมีชาวกัมพูชาประมาณ 20,000 คนอพยพเข้าสู่เขตไทย
  • ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2527 เวียดนามได้ส่งกองกำลังเข้าโจมตีค่ายผู้อพยพของกัมพูชา ตรงข้ามกับหมู่บ้านสำโรงเกียรติ อำเภอขุนหาร จังหวัดศรีสะเกษ ทำให้ชาวกำพูชาหลายหมื่นคนได้อพยพเข้าสู่ดินแดนไทย และกองกำลังเวียดนาม 1 กองพันได้บุกรุกเข้าสู่ดินแดนไทยทางช่องเขาพระพะลัยและได้ปะทะกับทหารไทย ทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 คน และบาดเจ็บจำนวนหนึ่ง
  • ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2527 เวียดนามได้ส่งกองกำลังพร้อมด้วยปืนใหญ่ และรถถังเข้าโจมตีค่ายอพยพกัมพูชาที่หมู่บ้านตาตูม ค่ายผู้อพยพอัมปิล และค่ายผู้อพยพบ้านสุขสันต์ ทำให้มีชาวกัมพูชาประมาณ 80,000 คนอพยพเข้าสู่เขตไทย
  • ในช่วงปลายปี 2527 ถึงต้นปี 2528 ทหารเวียดนามได้เข้าโจมตีชุมนุมต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฝ่ายซอนซานตลอดแนวชายแดนไทย โดยสามารถยึดชุมนุมเหล่านี้ได้หมด ทำให้ชาวกัมพูชาได้อพยพเข่ามาในเขตไทยรวม 160,000 คน
  • ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 ทหารเวียดนามได้เข้าโจมตีที่ตั้งหมวดตำรวจตระเวนชายแดนที่ 239 บ้านตระเวง อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ทำให้เจ้าหน้าไทยเสียชีวิต 18 นาย บาดเจ็บ 34 นาย
  • ในปีเดียวกัน ทหารของเวียดนามได้โจมตีค่ายอพยพที่บ้านหนองจาน และมีการปะทะกันทางทหารรัฐบาลผสม 3 ฝ่าย ติดต่อกันหลายวัน ทำให้ผู้อพยพชาวกัมพูชาได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์รวม 62 คน เสียชีวิต 6 คน ค่ายผู่อพยพถูกทำลายเสียหาย และส่งผลให้ผู้อพยพจำนวน 22,262 คน ได้อพยพเข้ามาในเขตไทย
  • ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ทหารเวียดนามได้ระดมกำลังโจมตีชุมนุมชาวกัมพูชาซึ่งเป็นกลุ่มเขมรแดง ทำให้ชาวกัมพูชาประมาณ 60,000 คน ได้หลบหนีเข้ามายังเขตไทยในช่วงเดือนกุมพาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม เวียดนามได้ปฏิบัติการอย่างรุนแรงที่สุด โดยในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ทหารเวียดนามได้ยิงปืนใหญ่เข้ามายังเขตไทยที่เนิน 347 อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ทำให้ทหารไทยเสียชีวิต 3 นาย บาดเจ็บเป็นจำนวนมาก
  • ในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2528 กองทัพเวียดนามได้โจมตีฐานที่มันของไทยที่เนิน 361, 400 และ 427 โดยยึดพื้นที่บางส่วนของเนิน 361 ทหารไทยเสียชีวิต 7 นาย บาดเจ็บ 34 นาย และสูญหาย 3 นาย โดยก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน กองกำลังเวียดนามประมาณ 100 คนได้ลุกล้ำเขตเขตไทยที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากชายแดนไทย–กัมพูชา 10 กิโลเมตร และจับคุมราษฎรไทย 62 คน ฆ่าตาย 11 คน และทหารไทยที่ส่งไปช่วยราษฎรดังกล่าวได้ปะทะกับกองกำลังเวียดนามทำให้ทหารไทยเสียชีวิต 5 นาย
  • ในช่วงระหว่างวันที่ 5–10 มีนาคม พ.ศ. 2528 กองกำลังเวียดนามได้ยิงปืนใหญ่เข่ามาอย่างต่อเนื่อง และรุกล้ำดินแดนไทย ในพื้นที่อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ทำให้ราษฎรไทยกว่า 7,500 คน ต้องหลบภัยไปยังนื้นที่ปลอดภัยมีราษฎรเสียชีวิต 3 คน บ้านเรือนเสียหาย 40 หลังและโรงเรียนเสียหาย 1 แห่ง
  • ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2528 กองกำลังเวียดนามได้เข้าโจมตีฐานของเจ้านโรดม สีหนุในเขตกัมพูชา และรุกล้ำเข้ามาในเขตไทยในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ มีการปะทะกับทหารไทย ทำให้ทหารไทยเสียชีวิต 11 นาย บาดเจ็บ 68 นาย สูญหาย 3 นาย
  • ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2528 ถึง พ.ศ. 2529 ทหารเวียดนามได้เข้ามาวางระเบิดในเขตไทยหลายครั้ง ซึ่งเป็นผลให้ทหารและราษฎรไทยบาดเจ็บและเสียชีวิต นอกจากนี้ก็ยังมีการรุกล้ำเข้ามายังเขตไทยหลายครั้ง

หลังจากสิ้นสุด

แก้

ขณะนั้นถือได้ว่ากองทัพไทยเมื่อเปรียบเทียบกับเวียดนามแล้วนั้นถือได้ว่าเทียบกันไม่ติดเนื่องจากกองกำลังทางทหารของฝ่ายไทยไม่เคยผ่านการรบมาก่อนหรือถ้าผ่านก็เป็นการรบแบบสมัยใหม่ซึ่งมีแนวการรบแบบสหรัฐอเมริกาซึ่งแตกต่างกับเวียดนามซึ่งกองกำลังของเวียดนามมีทักษะในการรบที่ดีกว่าและรู้วิธีการรบแบบกองโจร นอกจากนี้ทหารของเวียดนามก็ยังมีประสบการณ์รบจากสงครามเวียดนาม ขณะที่เวียดนามบุกกัมพูชานั้นกองกำลังทางทหารของเวียดนามมีจำนวน 875,000 นาย โดยที่ยังไม่รวมกำลังทหารของฝ่ายเฮง สัมริน ที่ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน ด้วยการรบแบบกองโจร และการรบแบบสมัยใหม่ ขณะที่ฝ่ายไทยนั้นมีประสบการณ์เพียงเรื่องการปราบปรามกองโจรและมีทหารหน่วยที่ผ่านสงครามในลาวและเวียดนามซึ่งชำนาญการรบแบบหลักนิยมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งต้องมีอำนาจการยิงที่เหนือกว่าจึงจะทำการรบได้ นอกจากนี้เวียดนามยังมีอาวุธที่เหลือจากสงครามเวียดนามอยู่มาก รวมทั้งในระหว่างปี พ.ศ. 2521 – 2531 นี้เวียดนามได้รับความช่วยเหลือทางทหารจากสหภาพโซเวียตเป็นจำนวนมหาศาล เพื่อพัฒนากองทัพให้ทันสมัยและเพื่อการปราบปรามฝ่ายต่อต่านในการกัมพูชา จึงกล่าวได้ว่าไทยมีขีดความสามารถที่ด้อยกว่าเวียดนามอยู่มาก

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Diplomats Recall Cambodia After the Khmer Rouge - The Cambodia Daily". The Cambodia Daily. 5 April 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-29. สืบค้นเมื่อ 29 June 2018.
  2. Weiss, Thomas G.; Evans, Gareth J.; Hubert, Don; Sahnoun, Mohamed (2001). The Responsibility to Protect: Report of the International Commission on Intervention and State Sovereignty (ภาษาอังกฤษ). International Development Research Centre (Canada). p. 58. ISBN 9780889369634. สืบค้นเมื่อ 29 June 2018.
  3. "When Moscow helped topple the Khmer Rouge". 19 March 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้