กัมพูชาประชาธิปไตย

ระบอบการปกครองเผด็จการเบ็ดเสร็จในอดีต

กัมพูชาประชาธิปไตย (เขมร: កម្ពុជាប្រជាធិបតេយ្យ กมฺพุชาบฺรชาธิบเตยฺย; อังกฤษ: Democratic Kampuchea) คือ ชื่อของประเทศกัมพูชาระหว่างปี พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2525 ซึ่งเกิดจากการโค่นล้มรัฐบาลสาธารณรัฐเขมรของนายพลลอลนอล และได้จัดปกครองในรูปแบบรัฐคอมมิวนิสต์โดยพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาหรือเป็นที่เรียกกันทั่วไปว่า เขมรแดง (ในสมัยนี้องค์กรของรัฐบาลมักเรียก "องค์การเหนือ" (เขมร: អង្គការលើ องฺคการเลี)[5] ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชานั้น แกนนำของพรรคให้เรียกชื่อว่า "องค์การปฏิวัติ" (เขมร: អង្គការបដិវត្ត; องฺคการบฎิวตฺต)[6] โดยผู้นำสูงสุดของประเทศที่ครองอำนาจยาวนานที่สุดคือนาย พล พต ซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดของเขมรแดงในขณะนั้น เเละเป็นต้นตอของการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวเขมรกว่า 1.5-2 ล้านคนอีกด้วย

กัมพูชา
កម្ពុជា (เขมร)
(2518–2519)
กัมพูชาประชาธิปไตย
កម្ពុជាប្រជាធិបតេយ្យ (เขมร)
(2519–2525)
2518–2525[a]
ธง
(2519–2522)
ตราแผ่นดินของกัมพูชา
ตราแผ่นดิน
เพลงชาติបទនគររាជ
นครราช
(2518–2519)
ដប់ប្រាំពីរមេសាមហាជោគជ័យ
สิบเจ็ดเมษามหาโชคชัย
(2519–2522)
ที่ตั้งของกัมพูชาประชาธิปไตย
ที่ตั้งของกัมพูชาประชาธิปไตย
สถานะรัฐเอกราช (2518–2522)
รัฐบาลพลัดถิ่น (2522–2525)
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
พนมเปญ
ภาษาทั่วไปเขมร
ศาสนา
รัฐอเทวนิยม[1]
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐสังคมนิยมภายใต้ระบอบเผด็จการแบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จในพรรคการเมืองเดียว[2][3][4]
เลขาธิการพรรค 
• 2518–2519
พล พต
ประมุขแห่งรัฐ 
• 2518–2519
นโรดม สีหนุ
• 2519–2522
เขียว สัมพัน
นายกรัฐมนตรี 
• 2518–2519
แปน นุต
• 2519
เขียว สัมพัน
• 2519–2522
พล พต
สภานิติบัญญัติสภาผู้แทนประชาชน
ยุคประวัติศาสตร์สงครามเย็น
• เขมรแดงยึดครองพนมเปญ
17 เมษายน 2518
• จัดตั้งรัฐธรรมนูญ
5 มกราคม 2519
21 ธันวาคม 2521
7 มกราคม 2522
22 มิถุนายน 2525
สกุลเงินเรียล ควบคู่กับ ดอลล่าสหรัฐ เนื่องจากเงินเรียลไม่มีเสถียรภาพ เเละยังมีการใช้เงินสกุล หยวน(จีน) บาท(ไทย) อีกด้วย
เขตเวลาUTC+07:00 (เวลาอินโดจีน)
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป
ขับรถด้านขวามือ
รหัส ISO 3166KH
ก่อนหน้า
ถัดไป
2518:
สาธารณรัฐเขมร
2519:
ราชรัฏฐาภิบาลรวบรวมชาติกัมพูชา
2522:
สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา
2525:
รัฏฐาภิบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศกัมพูชา

ในปี พ.ศ. 2522 กองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาภายใต้การนำของเฮง สัมริน และกองทัพเวียดนามได้รุกเข้ามาทางชายแดนตอนใต้ของกัมพูชาและสามารถโค่นล้มรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยได้สำเร็จ พร้อมทั้งได้จัดการปกครองประเทศใหม่ในชื่อ สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา กองทัพเขมรแดงจึงได้ถอยร่นไปตั้งมั่นในทางภาคเหนือของประเทศและยังคงจัดรูปแบบการปกครองตามระบบของกัมพูชาประชาธิปไตยเดิมต่อไป

ประวัติศาสตร์

แก้

ด้วยการสนับสนุนของชาวกัมพูชาในชนบท เขมรแดงจึงสามารถเข้าสู่กรุงพนมเปญได้เมื่อ 17 เมษายน พ.ศ. 2518 พวกเขายังให้พระนโรดม สีหนุเป็นผู้นำประเทศแต่ในนามจนถึง 2 เมษายน พ.ศ. 2519 หลังจากนั้น พระนโรดม สีหนุ ถูกกักบริเวณในพนมเปญ จนกระทั่งเกิดสงครามกับเวียดนาม พระองค์จึงลี้ภัยไปที่ประเทศจีน

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2519 พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาได้ประกาศรัฐธรรมนูญของกัมพูชาประชาธิปไตยโดยกำหนดให้มีสภาตัวแทนประชาชนกัมพูชา การเลือกตั้งและการแต่งตั้งประธานาธิบดี ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี สภานี้มีการประชุมเพียงครั้งเดียวในเดือนเมษายน พ.ศ. 2519 สมาชิกของสภานี้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่มาจากการแต่งตั้งของคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ อำนาจของรัฐที่แท้จริงแล้วยังเป็นของคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาซึ่งนำโดยเลขาธิการพรรคและนายกรัฐมนตรี คือ พล พต รองเลขาธิการพรรคคือนวน เจีย และคนอื่นๆอีก 7 คน สำนักงานตั้งอยู่ที่ สำนักงาน 870 ในกรุงพนมเปญ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในขณะนั้นว่า ศูนย์กลาง, องค์กร, หรืออังการ์

เขมรแดงได้ทำลายระบบกฎหมายและระบบศาลของสาธารณรัฐเขมร ไม่มีศาลผู้พิพากษา​หรือกฎหมายใดๆ ในกัมพูชาประชาธิปไตย ศาลประชาชนที่มีระบุในหมวดที่ 9 ของรัฐธรรมนูญไม่เคยถูกตั้งขึ้น เจ้าหน้าที่ในระบบศาลเดิมถูกส่งตัวเข้าค่ายสัมมนาและสอบสวน ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐและผู้สนับสนุนรัฐบาลเดิมถูกกักขังและประหารชีวิต[7]

ทันทีที่พนมเปญแตก เขมรแดงสั่งให้อพยพประชาชนจำนวนมากออกจากเมืองโดยกล่าวอ้างว่าสหรัฐอเมริกาจะมาทิ้งระเบิด การอพยพประชาชนเช่นนี้เกิดขึ้นในเมืองอื่นด้วยเช่น พระตะบอง กำปงจาม เสียมราฐ กำปงธม เขมรแดงจัดให้ประชาชนเหล่านี้ออกมาอยู่ในนิคมในชนบท ให้อาหารแต่เพียงพอรับประทาน ไม่มีการขนส่ง บังคับให้ประชาชนทำการเกษตรเพื่อผลิตอาหารให้เพียงพอ เขมรแดงต้องการเปลี่ยนประเทศไปสู่ความบริสุทธิ์ที่ไม่มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงและปรสิตในสังคมเมือง นิคมที่สร้างขึ้นบังคับให้ทั้งชายหญิงและเด็กออกไปทำงานในทุ่งนา ทำลายชีวิตครอบครัวดั้งเดิมซึ่งเขมรแดงกล่าวว่าเป็นการปลดแอกผู้หญิง

หลังจากได้ชัยชนะในสงครามกลางเมืองไม่นาน เกิดการปะทะระหว่างทหารเวียดนามกับทหารเขมรแดงเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2518 อีกไม่กี่เดือนต่อมา พล พตและเอียง ซารี เดินทางไปฮานอยทำให้ความขัดแย้งสงบลง ในขณะที่เขมรแดงครองอำนาจในกัมพูชา ผู้นำเวียดนามตัดสินใจสนับสนุนกลุ่มต่อต้านพล พตในกัมพูชาเมื่อต้นปี พ.ศ. 2521 ทำให้กัมพูชาตะวันออกเป็นเขตที่ได้รับการสนับสนุนจากเวียดนาม ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2521 เกิดการลุกฮือในกัมพูชาตะวันออกนำโดยโส พิม ทำให้มีการฆ่าชาวเวียดนามในกัมพูชาตะวันออกเป็นจำนวนมาก สถานีวิทยุพนมเปญประกาศว่าถ้าทหารกัมพูชา 1 คน ฆ่าทหารเวียดนามได้ 30 คน กำลังทหารเพียง 2 ล้านคนจะเพียงพอในการฆ่าชาวเวียดนาม 50 ล้านคน และยังแสดงความต้องการจะยึดดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงมาเป็นของกัมพูชา ในเดือนพฤศจิกายน วอน เว็ต ก่อรัฐประหารแต่ล้มเหลว ทำให้มีชาวเวียดนามและชาวกัมพูชานับหมื่นคนอพยพเข้าสู่เวียดนาม ในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2521 วิทยุฮานอยประกาศจัดตั้งแนวร่วมสามัคคีประชาชาติกู้ชาติกัมพูชา ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของกลุ่มต่อต้านพล พตทั้งที่นิยมและไม่นิยมคอมมิวนิสต์ โดยมีกองทัพเวียดนามหนุนหลัง เวียดนามเริ่มรุกรานกัมพูชาเพื่อโค่นล้มเขมรแดงตั้งแต่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2521 และสามารถเข้าสู่กรุงพนมเปญ ขับไล่เขมรแดงออกไปได้เมื่อ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2522[8] จัดตั้งสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชาขึ้นแทน

แนวร่วมเขมรสามฝ่าย

แก้

สหประชาชาติยังคงให้กัมพูชาประชาธิปไตยมีที่นั่งในสหประชาชาติโดยตัวแทนคือเทือน ประสิทธิ์ และเอียง ซารีโดยใช้ชื่อกัมพูชาประชาธิปไตยจนถึง พ.ศ. 2525 จากนั้นจึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อรัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตยจนถึง พ.ศ. 2536 จีนและสหรัฐอเมริการวมทั้งชาติตะวันตกอื่นๆ ต่อต้านการขยายตัวของเวียดนามและโซเวียตเข้าไปในกัมพูชาและการจัดตั้งสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา โดยกล่าวอ้างว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของเวียดนาม จีนสนับสนุนเขมรแดงจนถึง พ.ศ. 2532 ส่วนสหรัฐสนับสนุนกลุ่มที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ในการต่อต้านรัฐบาลที่มีเวียดนามหนุนหลัง โดยให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มของซอน ซานและสีหนุ ในทางปฏิบัติ ความเข้มแข็งของกองทหารของกลุ่มที่ไม่ใช่เขมรแดงมีน้อยแม้จะได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนมากกว่า ในที่สุด ทั้งสามกลุ่มจึงรวมเป็นแนวร่วมเขมรสามฝ่ายหรือรัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2525

จากการพยายามเจรจาสันติภาพเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในกัมพูชา ฝ่ายสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชายินดีเข้าร่วมแต่เขมรแดงปฏิเสธทำให้ถูกตัดออกไป เขมรแดงจึงเป็นกลุ่มเดียวในเขมรสามฝ่ายที่ยังคงสู้รบอยู่ กลุ่มของซอน ซานและสีหนุเข้าร่วมในแผนการสันติภาพและการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2536[9] ต่อมาใน พ.ศ. 2540 พล พต สั่งฆ่าซอน เซน นายทหารคนสนิทในข้อหาพยายามเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลกัมพูชา ใน พ.ศ. 2541 พล พต เสียชีวิต เขียว สัมพัน เอียง ซารียอมมอบตัวกับทางรัฐบาล ตา มกยังคงหลบหนีจนถูกจับได้ใน พ.ศ. 2542 กลุ่มเขมรแดงจึงสิ้นสุดลง

 
แผนที่กัมพูชาจัดเรียงด้วยกะโหลกศีรษะของผู้เสียชีวิตจัดแสดงในต็วลแซลงซึ่งเคยเป็นคุก S-21 ในสมัยกัมพูชาประชาธิปไตย

องค์กร

แก้
 
ธงพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา ตราทางการเมืองของเขมรแดง[10]

การแบ่งเขตบริหาร

แก้
 
เขตบริหารของกัมพูชาประชาธิปไตย

ใน พ.ศ. 2518 รัฐบาลเขมรแดงได้เปลี่ยนแปลงเขตการปกครองภายในประเทศโดยได้แบ่งตามเขตภูมิศาสตร์​แทนการแบ่งเป็นจังหวัด ซึ่งได้มาจากการแบ่งหน่วยของเขมรแดงในการต่อสู้กับสาธารณรัฐเขมร[11] โดยแบ่งเป็น 7 เขต ได้แก่ เขตเหนือ ตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันตก ตะวันตกเฉียงใต้ และเขตกลาง และมีเขตพิเศษอีกสองเขตคือเขตพิเศษกระแจะหมายเลข 505 และเขตพิเศษเสียมราฐ​หมายเลข 106 (ก่อนกลางปี พ.ศ. 2520)[12]

แต่ละเขตแบ่งย่อยลงไปอีกเป็นตำบล ซึ่งกำหนดเป็นตัวเลข ภายในหมู่บ้านแบ่งย่อยเป็นกลุ่มหรือกรม ประกอบด้วย 15 – 20 หลังคาเรือน โดยมีผู้นำเรียกแม่กรม รูปแบบการปกครองแบบนี้ ยังใช้อยู่หลังการรุกรานกัมพูชาของเวียดนามแต่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

กองทัพ

แก้
 
กองทัพกัมพูชาประชาธิปไตย พ.ศ. 2518 - 2522

ทหารประมาณ 68,000 คนของกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนกัมพูชาได้กลายมาเป็นกองทัพของกัมพูชาประชาธิปไตยในเดือนเมษายน พ.ศ. 2518[13] และเปลี่ยนชื่อเป็นกองทัพปฏิวัติกัมพูชา รัฐมนตรีว่าการ​กระทรวงกลาโหมคือ ซอน เซน

การเมือง

แก้

หลังจากได้ชัยชนะในเดือนเมษายน พ.ศ. 2518 พล พตและผู้ใกล้ชิดได้ขึ้นสู่ตำแหน่งที่สำคัญของประเทศ เขียว ธีริทได้เป็นผู้ควบคุมกองกำลังเยาวชนของพรรค อย่างไรก็ตาม การเป็นผู้นำยังไม่สมบูรณ์เพราะยังมีส่วนย่อยของพรรคในภาคตะวันออก กลุ่มผู้นิยมเวียดนามและกลุ่มอดีตผู้นำเขมรอิสระยังเป็นเอกเทศภายในพรรค ตลอดที่ครองอำนาจ ได้เกิดความขัดแย้งภายในพรรคจนเกิดการกวาดล้างครั้งใหญ่ใน พ.ศ. 2520 และ 2521 ทำให้มีประชาชนและผู้นำพรรคถูกสังหารเป็นจำนวนมาก

 
การแต่งกายยุคเขมรแดง (ชุดดำและผ้าขาวม้า) เพื่อแสดงถึงการไม่แบ่งชนชั้นและทุกคนเท่าเทียมกัน

สังคม

แก้

การศึกษาและสุขภาพ

แก้

ครูจำนวนมากที่สอนในกัมพูชาก่อน พ.ศ. 2518 ถูกจับและประหารชีวิต ไม่มีการสอนทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์และการอ่านออกเขียนได้ แต่จะสอนเกี่ยวกับทฤษฎีปฏิวัติให้กับเยาวชน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนวัยหนุ่มสาวกับวัยผู้ใหญ่ มีการจัดตั้งพันธมิตรเยาวชนคอมมิวนิสต์กัมพูชา ซึ่งพล พตเชื่อมั่นว่าเป็นกลุ่มที่จงรักภักดีต่อเขา เขียว ธีริต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจกรรมสังคมเป็นผู้ควบคุมขบวนการเยาวชน

การดูแลสุขภาพของประชาชนในช่วง พ.ศ. 2518 – 2521 อยู่ในสภาพแย่ แพทย์ส่วนใหญ่ถูกประหารชีวิตมิเช่นนั้นก็ไม่แสดงตน เฉพาะคนในพรรคและทหารที่ได้รับการรักษาแบบตะวันตก ประชาชนส่วนใหญ่ต้องใช้หมอพื้นบ้านและสมุนไพร

ศาสนา

แก้

แม้ว่าในมาตรา 20 ของรัฐธรรมนูญกัมพูชาประชาธิปไตยรับรองเสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่ก็มีการประกาศห้ามการนับถือศาสนาทุกศาสนา ประชากรประมาณร้อยละ 85 นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท มีพระภิกษุ 40,000 - 60,000 รูป พระภิกษุถูกกล่าวหาว่าเป็นปรสิตของสังคมถูกบังคับให้สึกและออกไปใช้แรงงาน[14]

พระภิกษุที่ไม่ยอมสึกถูกประหารชีวิต วัดและเจดีย์ถูกทำลาย[15]หรือเปลี่ยนเป็นยุ้งฉาง พระพุทธรูปถูกทำลายและนำไปทิ้งน้ำและทะเลสาบ ประชาชนที่สวดมนต์หรือปฏิบัติศาสนกิจมักถูกฆ่า

ผู้นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนิยมตะวันตก โดยถูกข่มเหงรังแกอย่างรุนแรงเพราะกีดกันวัฒนธรรมและสังคมกัมพูชา โบสถ์นิกายโรมันคาทอลิกในพนมเปญถูกรื้อทำลายไม่เหลือซาก[15] เขมรแดงบังคับให้มุสลิมรับประทานหมูที่เป็นฮะรอม) ผู้ไม่ทำตามถูกฆ่า บาทหลวงและอิหม่ามถูกนำไปตัวไปประหารชีวิต มัสยิดของชาวจาม 130 แห่งถูกทำลาย[15]

แม้ว่าจะมีการทำลายล้างทางศาสนา แต่อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์หลายแห่งไม่ได้รับความเสียหายจากเขมรแดง[16] เช่นเดียวกันกับรัฐบาลก่อนหน้า รัฐบาลพล พตมองว่าเมืองพระนคร รัฐในอดีต ถือเป็นจุดอ้างอิงที่สำคัญ[17]

ชนกลุ่มน้อย

แก้

เขมรแดงต้องการลดจำนวนชาวจีน ชาวเวียดนามและชาวจามในกัมพูชา รวมทั้งชนกลุ่มน้อย ๆ อื่น ๆ อีกกว่าสิบเผ่าซึ่งคิดเป็นประชากรร้อยละ 15 ของกัมพูชา[18] ชาวเวียดนามส่วนใหญ่ถูกฆ่า ที่เหลือรอดมาได้คือผู้ที่อพยพเข้าสู่เวียดนาม ชาวจามซึ่งเป็นมุสลิมที่เหลือรอดหลังการล่มสลายของอาณาจักรจามปาถูกบังคับให้พูดภาษาเขมร ให้แต่งกายตามแบบของชาวเขมร หมู่บ้านของพวกเขาที่อยู่ต่างหากจากชาวเขมรถูกทำลาย เฉพาะชาวจามในจังหวัดกำปงจามถูกฆ่าไปราวสี่หมื่นคน ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยตามแนวชายแดนไทยได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทย

สถานะของชาวจีนในกัมพูชาได้รับการอธิบายเป็น "ภัยพิบัติครั้งเลวร้ายที่สุดที่เคยเกิดขึ้นกับชุมชนชาวจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"[18] กัมพูชาเชื้อสายจีนถูกเขมรแดงสังหารหมู่โดยอ้างว่าพวกเขา "เคยเอาเปรียบชาวกัมพูชา"[19] ชาวจีนถูกเหมารวมว่าเป็นพ่อค้าและผู้ให้กู้เงิน จึงถูกโยงเข้ากับระบบทุนนิยม ในบรรดาชาวเขมร ชาวจีนก็ถูกเคียดแค้นจากการมีสีผิวอ่อนกว่าและความแตกต่างทางวัฒนธรรม[20] ครอบครัวชาวจีนหลายร้อยกลุ่มถูกรวมตัวใน พ.ศ. 2521 และได้รับการบอกกล่าวว่าพวกเขาจะย้ายที่ไป แต่ที่จริงกลับถูกสังหาร[19] ชาวกัมพูชาเชื้อสายจีนเมื่อสิ้นสุดสมัยสาธารณรัฐเขมร พ.ศ. 2518 มีประมาณ 425,000 คน แต่เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2522 เหลืออยู่เพียงประมาณ 200,000 คน

สำหรับนโยบายของเขมรแดงต่อชนเผ่าต่าง ๆ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชาที่เรียกว่า ชาวเขมรบน หรือ ขะแมร์เลอ นั้นมีน้อยมาก เพราะ พล พต เคยอาศัยพื้นที่ของชนเผ่าต่าง ๆ ในจังหวัดรัตนคีรีเป็นที่ตั้งมาก่อน และมีสมาชิกพรรคหลายคน แต่งงานกับหญิงชาวเขมรบนเหล่านี้

ความหวาดกลัว

แก้

เศรษฐกิจ

แก้
 
ประชาชนถูกบังคับใช้แรงงาน ทำนารวม ในยุคเขมรแดง

นโยบายเศรษฐกิจของกัมพูชาประชาธิปไตยคล้ายหรือได้แรงบันดาลใจจาก นโยบายการก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้าของจีนเมื่อ พ.ศ. 2501[21] ในช่วงแรก เขมรแดงได้จัดระบบเศรษฐกิจแบบนารวมในพื้นที่ยึดครองของตน หลัง พ.ศ. 2516 ได้มีการจัดตั้งความร่วมมือในระดับต่ำ คือ เอกชนยังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ และความร่วมมือระดับสูงที่เอกชนเป็นเจ้าของที่ดินไม่ได้ที่เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2517 และได้แพร่หลายไปทั่วประเทศเมื่อ พ.ศ. 2519

เขมรแดงพยายามสร้างเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง ยกเลิกระบบเงินตราและการค้าขาย ข้าวกลายเป็นสื่อกลางสำหรับการแลกเปลี่ยนที่สำคัญ การค้าขายกับต่างประเทศถูกระงับไปโดยสมบูรณ์ แต่ก็รื้อฟื้นขึ้นใหม่ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2519 ถึงต้นปี พ.ศ. 2520โดยเป็นการค้าขายกับจีนแผ่นดินใหญ่ แต่ก็มีการค้าขายกับฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐบ้างโดยผ่านทางฮ่องกง ภายในประเทศไม่ได้รับอิทธิพลทางเศรษฐกิจจากประเทศอื่น ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ของเขมรแดงล้มเหลว เหมือนกับที่เกิดขึ้นในประเทศจีน

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

แก้

กัมพูชาประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศจีนและเกาหลีเหนือ นอกจากสองประเทศนี้แล้ว ประเทศอื่นที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับกัมพูชาประชาธิปไตยคือ สหภาพโซเวียต พม่า แอลเบเนีย คิวบา ลาว เวียดนาม (จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2520)[22] โรมาเนีย และยูโกสลาเวีย

หมายเหตุ

แก้
  1. รัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยลี้ภัยไปยังประเทศไทยใน พ.ศ. 2522 รัฐบาลเขมรแดงยังคงได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติจนกระทั่งถูกแทนที่ด้วยรัฏฐาภิบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2525

อ้างอิง

แก้
  1. "Cambodia – Religion". Britannica. สืบค้นเมื่อ 29 June 2020.
  2. Jackson, Karl D. (1989). Cambodia, 1975–1978: Rendezvous with Death. Princeton University Press. p. 219. ISBN 0-691-02541-X.
  3. "Khmer Rouge's Slaughter in Cambodia Is Ruled a Genocide". The New York Times. 15 พฤศจิกายน 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2019.
  4. Kiernan, B. (2004) How Pol Pot came to Power. New Haven: Yale University Press, p. xix
  5. "Cambodia Since April 1975". Center for Southeast Asian Studies, Northern Illinois University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-10. สืบค้นเมื่อ 2007-11-26.
  6. "A History of Democratic Kampuchea (1975-1979)". monument-books.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-18. สืบค้นเมื่อ 2007-11-26.
  7. "Judgement of the Trial Chamber of the Extraordinary Chambers in the Courts of Cambodia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-28. สืบค้นเมื่อ 2012-03-12.
  8. “”. "A video on Vietnamese invasion". Youtube.com. สืบค้นเมื่อ 2010-07-27.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  9. "United Nations Advance Mission In Cambodia (Unamic) – Background". United Nations. สืบค้นเมื่อ February 27, 2009.
  10. Elizabeth J. Harris (2017-12-31), "8. Cambodian Buddhism after the Khmer Rouge", Cambodian Buddhism, University of Hawaii Press, pp. 190–224, doi:10.1515/9780824861766-009, ISBN 978-0-8248-6176-6
  11. Tyner, James A. (2008). The killing of Cambodia: geography, genocide and the unmaking of space. Aldershot, England: Ashgate. ISBN 978-0-7546-7096-4. OCLC 183179515.
  12. Vickery, Michael (1984). Cambodia, 1975–1982. Boston: South End Press. ISBN 0-89608-189-3. OCLC 10560044.
  13. วิดีโอของขบวนสวนสนามของเขมรแดงใน พ.ศ. 2518 ดูได้ที่ [1]
  14. Short 2004, p. 326.
  15. 15.0 15.1 15.2 "The Pol Pot Regime: Race, Power, and Genocide under the Khmer Rouge, 1975–79". The SHAFR Guide Online. doi:10.1163/2468-1733_shafr_sim240100033. สืบค้นเมื่อ 2020-10-04.
  16. Short 2004, p. 313.
  17. Short 2004, p. 293.
  18. 18.0 18.1 Gellately, Robert; Kiernan, Ben, บ.ก. (2003-07-07). The Specter of Genocide. doi:10.1017/cbo9780511819674. ISBN 978-0-521-52750-7.
  19. 19.0 19.1 Pike, Douglas; Kiernan, Ben (1997). "Reviewed Work: The Pol Pot Regime: Race, Power, and Genocide in Cambodia under the Khmer Rouge, 1975–79 by Ben Kiernan". Political Science Quarterly (Review). 112 (2): 349. doi:10.2307/2657976. ISSN 0032-3195. JSTOR 2657976.
  20. Hinton, Alexander Laban (2004-12-06). Why Did They Kill? Cambodia in the Shadow of Genocide. University of California Press. doi:10.1525/9780520937949. ISBN 978-0-520-93794-9. S2CID 227214146.
  21. Frieson, Kate (1988). "The Political Nature of Democratic Kampuchea". Pacific Affairs. 61 (3): 419–421. doi:10.2307/2760458. ISSN 0030-851X. JSTOR 2760458. สืบค้นเมื่อ 7 May 2023.
  22. Martin, M.A. Cambodia: A Shattered Society. University of California, 1994. p 204.

เชิงอรรถ

แก้
  • Chandler, David P. (1992). Brother Number One: A Political Biography of Pol Pot. Boulder, San Francisco, and Oxford: Westview Press. ISBN 0-8133-0927-1.
  • Ciorciari, John D. (2014). "China and the Pol Pot Regime". Cold War History. 14 (2): 215–35. doi:10.1080/14682745.2013.808624. S2CID 153491712.
  • Short, Philip (2004). Pol Pot: The History of a Nightmare. London: John Murray. ISBN 978-0719565694.

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Seng Ty: The Years of Zero: Coming of Age Under the Khmer Rouge
  • Ben Kiernan: The Pol Pot Regime: Race, Power, and Genocide in Cambodia under the Khmer Rouge, 1975–79 Yale University Press; 2nd ed. ISBN 0-300-09649-6
  • Jackson, Karl D. Cambodia: 1975–1978 Rendezvous with Death. Princeton: Princeton University Press, 1989
  • Ponchaud, François. Cambodia: Year Zero. New York: Holt, Rinehart and Winston, 1978
  • Michael Vickery: Cambodia 1975–1982 University of Washington Press; June 2000 ISBN 974-7100-81-9
  • From Sideshow to Genocide: Stories from the Cambodian Holocaust – virtual history of the Khmer Rouge plus a collection of survivor stories.
  • First They Killed My Father: A Daughter of Cambodia Remembers (HarperCollins Publishers, Inc., 2000) ISBN 0-06-019332-8
  • Denise Affonço: To The End Of Hell: One Woman's Struggle to Survive Cambodia's Khmer Rouge. (With Introduction by Jon Swain); ISBN 978-0-9555729-5-1
  • Ho, M. (1991). The Clay Marble. Farrar Straus Giroux. ISBN 978-0-374-41229-6
  • Daniel Bultmann: Irrigating a Socialist Utopia: Disciplinary Space and Population Control under the Khmer Rouge, 1975–1979, Transcience, Volume 3, Issue 1 (2012), pp. 40–52
  • Piergiorgio Pescali: "S-21 Nella prigione di Pol Pot". La Ponga Edizioni, Milan, 2015. ISBN 978-88-97823-30-8
  • Beang, Pivoine, and Wynne Cougill. Vanished Stories from Cambodia's New People Under Democratic Kampuchea. Phnom Penh: Documentation Center of Cambodia, 2006. ISBN 99950-60-07-8.
  • Chandler, David P. "A History of Cambodia." Boulder: Westview Press, 1992.
  • Dy, Khamboly. A History of Democratic Kampuchea (1975–1979). Phnom Penh, Cambodia: Documentation Center of Cambodia, 2007. ISBN 99950-60-04-3.
  • Etcheson, Craig. The Rise and Demise of Democratic Kampuchea. Westview special studies on South and Southeast Asia. Boulder, Colo: Westview, 1984. ISBN 0-86531-650-3.
  • Hinton, Alexander Laban. "Why did they Kill? : Cambodia in the Shadow of Genocide." Berkeley: University of California Press, 2005.

12°15′N 105°36′E / 12.250°N 105.600°E / 12.250; 105.600