อำเภอเมืองลพบุรี
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อำเภอเมืองลพบุรี เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครอง การบริหารเศรษฐกิจ การคมนาคม ของจังหวัดลพบุรี เป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการสำคัญ สถานศึกษา สาธารณสุข และค่ายทหารอยู่หลายแห่ง จนได้ชื่อว่าเป็นเมืองข้าราชการ เมืองการศึกษา และเมืองทหาร พื้นที่อำเภอเมืองลพบุรีเป็นที่ราบลุ่มต่ำสลับสูง มีแม่น้ำ 2 สายสำคัญไหลผ่าน คือ แม่น้ำลพบุรี และคลองอนุศาสนนันท์ อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของโบราณสถานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดลพบุรี
อำเภอเมืองลพบุรี | |
---|---|
![]() | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 14°47′53″N 100°39′13″E / 14.79806°N 100.65361°E | |
อักษรไทย | อำเภอเมืองลพบุรี |
อักษรโรมัน | Amphoe Mueang Lop Buri |
จังหวัด | ลพบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 565.6 ตร.กม. (218.4 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562) | |
• ทั้งหมด | 251,761 คน |
• ความหนาแน่น | 443.10 คน/ตร.กม. (1,147.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 15000, 15160 (เฉพาะตำบลเขาพระงาม; ตำบลโคกกะเทียม; ตำบลท่าแค เฉพาะหมู่ที่ 10, หมู่ที่ 9 (ยกเว้นเลขที่ 90, ป.พัน 11 รอ. และศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ กองทัพบก); ตำบลบางขันหมาก เฉพาะหมู่ที่ 11) , 15210 (เฉพาะตำบลโคกตูม) , 13240 (เฉพาะตำบลโก่งธนู) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1601 |
ที่ตั้ง ที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเมืองลพบุรี ถนนนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15000 |
![]() |
ประวัติแก้ไข
ที่ว่าการอำเภอเมืองลพบุรี ครั้งแรกยังไม่มีอาคารเป็นเอกเทศ ต้องอาศัยอาคารในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ร่วมกันกับศาลากลางจังหวัดลพบุรี[1] หลวงจารุมัย (อิ้ว สิงหพันธ์) เป็นนายอำเภอคนแรก ต่อมาจนกระทั่งถึง พ.ศ. 2461 ร้องอำมาตย์ตรี หลีใจไทย ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ เห็นว่าบริเวณพระนารายณ์ราชนิเวศน์ สถานที่ราชการคับแคบ ให้สมกับเป็นโบราณสถานที่เชิดหน้าชูตาของประกอบกับทางราชการมีโครงการที่จะบูรณะพระราชวัง ชาวจังหวัดลพบุรี จึงได้ย้ายสถานที่ที่ว่าการอำเภอเมืองลพบุรีออกมาตั้งอยู่ริมถนน ราชดำเนินทางทิศเหนือฝั่งถนนตรงข้ามกับกำแพงพระนารายณ์ราชนิเวศน์ หรือทางทิศตะวันออกของวัดเสาธงทอง ซึ่งบริเวณนี้มีหอทะเบียนที่ดินจังหวัดลพบุรี (สำนักงานที่ดินจังหวัดลพบุรี) ปัจจุบันเป็นตลาดสดเทศบาลเมืองลพบุรี โดยเทศบาลเมืองลพบุรีได้ให้ประชาชนปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ จึงไม่มีสิ่งใดเป็นสัญลักษณ์ให้เห็นว่าสถานที่นี้เคยเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอเมืองลพบุรีเหลืออยู่เลย หลังจากประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไทย รัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรี จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้มีบัญชาให้ขยายตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกของตลาดลพบุรีเริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2479 ซึ่งเป็นสมัยที่ เรือเอกขุนชาญ ใช้จักร์ ร.น. ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ รัฐบาลได้สั่งการให้กรมโยธาธิการมาวางผังปลูกสร้างศาลากลางจังหวัดลพบุรีที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวงเวียนเทพสตรีและที่ว่าการอำเภอเมืองลพบุรี ที่ทางทิศใต้ของวงเวียนเทพสตรี ถนนพหลโยธิน ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดลพบุรีและที่ว่าการอำเภอเมืองลพบุรีในปัจจุบันศาลากลางจังหวัดลพบุรีและที่ว่าการอำเภอเมืองลพบุรี ได้เริ่มทำการก่อสร้างพร้อมกันในปี พ.ศ. 2480 พร้อมกันนั้นได้สร้างบ้านพักนายอำเภอ บ้านพักปลัดขวา บ้านพักปลัดซ้าย บ้านพักเสมียนตราสมุห์บัญชี บ้านพักศึกษาธิการอำเภอ บ้านพักพนักงานของอำเภอ ซึ่งปัจจุบันยังคงสภาพอยู่ครบ เมื่อทำการก่อสร้าง อาคารที่ว่าการอำเภอ และบ้านพักข้าราชการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ขนย้ายสิ่งของมาเปิดทำการ ณ ที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2482 ชาวบ้านจึงพากันเรียกอำเภอที่ตั้งใหม่ว่า " เมืองใหม่ " ส่วนที่ตั้งอำเภอเดิมชาวบ้านเรียกกันว่า " เมืองเก่า " นายศักดิ์ ไทยวัฒน์ ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งนายอำเภอ วันที่ 1 ธันวาคม 2482 ได้ทำการปรับปรุงพัฒนาบริเวณอาคารสถานที่อำเภอเมืองลพบุรี ตัวอาคารและบริเวณต่าง ๆ ก็ได้รับการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้า มาโดยลำดับ และในปี พ.ศ. 2537 ได้สร้างอาคารที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ในบริเวณเดียวกัน ตั้งแต่ตั้งอำเภอเมืองลพบุรีมาจนถึงปัจจุบันนี้
ที่ตั้งและอาณาเขตแก้ไข
อำเภอเมืองลพบุรีมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบ้านหมี่และอำเภอโคกสำโรง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพัฒนานิคม
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพระพุทธบาท อำเภอหนองโดน อำเภอดอนพุด (จังหวัดสระบุรี) และอำเภอบ้านแพรก (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอไชโย (จังหวัดอ่างทอง) และอำเภอท่าวุ้ง
การแบ่งเขตการปกครองแก้ไข
การปกครองส่วนภูมิภาคแก้ไข
1. | ท่าหิน | (Tha hin) | 13. | ท่าแค | (Tha Khae) | ||||||||||
2. | ทะเลชุบศร | (Thale Chup Son) | 14. | ท่าศาลา | (Tha Sala) | ||||||||||
3. | กกโก | (Kok Ko) | 15. | นิคมสร้างตนเอง | (Nikhom Sang Ton-eng) | ||||||||||
4. | โก่งธนู | (Kong Thanu) | 16. | บางขันหมาก | (Bang Khan Mak) | ||||||||||
5. | เขาพระงาม | (Khao Phra Ngam) | 17. | บ้านข่อย | (Ban Khoi) | ||||||||||
6. | เขาสามยอด | (Khao Sam Yot) | 18. | ท้ายตลาด | (Thai Talat) | ||||||||||
7. | โคกกะเทียม | (Khok Kathiam) | 19. | ป่าตาล | (Pa Tan) | ||||||||||
8. | โคกลำพาน | (Khok Lam Phan) | 20. | พรหมมาสตร์ | (Phrommat) | ||||||||||
9. | โคกตูม | (Khok Tum) | 21. | โพธิ์เก้าต้น | (Pho Kao Ton) | ||||||||||
10. | งิ้วราย | (Ngio Rai) | 22. | โพธิ์ตรุ | (Pho Tru) | ||||||||||
11. | ดอนโพธิ์ | (Don Pho) | 23. | สี่คลอง | (Si Khlong) | ||||||||||
12. | ตะลุง | (Talung) | 24. | ถนนใหญ่ | (Thanon Yai) |
การปกครองส่วนท้องถิ่นแก้ไข
ท้องที่อำเภอเมืองลพบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 22 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองลพบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าหินทั้งตำบลและบางส่วนของตำบลทะเลชุบศร
- เทศบาลเมืองเขาสามยอด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาสามยอดทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลโคกตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกตูมและตำบลนิคมสร้างตนเองทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลเขาพระงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาพระงามทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลท่าศาลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าศาลาทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลถนนใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลถนนใหญ่ทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลกกโก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกกโกทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลป่าตาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าตาลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทะเลชุบศร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทะเลชุบศร (นอกเขตเทศบาลเมืองลพบุรี)
- องค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโก่งธนูทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกกะเทียม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกกะเทียมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกลำพาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกลำพานทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลงิ้วรายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอนโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนโพธิ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตะลุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะลุงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าแคทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางขันหมาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางขันหมากทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านข่อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านข่อยและตำบลสี่คลองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายตลาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท้ายตลาดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลพรหมมาสตร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพรหมมาสตร์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์เก้าต้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์เก้าต้นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตรุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์ตรุทั้งตำบล
รายชื่อสถานศึกษาแก้ไข
มหาวิทยาลัยของรัฐ
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดลพบุรี
โรงเรียนสังกัด สพฐ
- โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย
- โรงเรียนพระนารายณ์
- โรงเรียนโคกกระเทียมวิทยาลัย
- โรงเรียนอนุบาลลพบุรี
- โรงเรียนอนุบาลจังหวัดทหารบกลพบุรี
โรงเรียนสาธิตสังกัด สกอ.
โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองลพบุรี
- โรงเรียนเทศบาล 4 วัดเมืองใหม่ ระบบสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง
สถาบันการศึกษาในสังกัดการศึกษาเอกชน
- โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์
- โรงเรียนกำจรวิทย์
- โรงเรียนจินดารัตน์
- โรงเรียนบรรจงรัตน์
สถาบันการศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษา
- วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี
สถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน
- โรงเรียนเทคโนโลยีละโว้
- โรงเรียนโปลีเทคนิคลพบุรี
- โรงเรียนเอเชียบริหารธุรกิจ
- โรงเรียนบริหารธุรกิจละโว้
สถานที่ท่องเที่ยวแก้ไข
- วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหารหรือวัดเขาพระงาม
- พิพิธภัณฑ์จอมพล ป. พิบูลสงคราม
- วัดท่าแค
- พระปรางค์สามยอด (เปิดเวลา 06.00-18.00 น.)
- พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์
- ศาลพระกาฬ (เปิดเวลา 07.30-18.00 น.)
- วัดยาง ณ รังสี
- ทุ่งทานตะวัน
- อ่างเก็บน้ำซับเหล็ก