อำเภอชัยบาดาล
ชัยบาดาล เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี เคยได้ถูกเสนอจัดตั้งเป็นศูนย์กลางของจังหวัดพระนารายณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2546[2] และปี พ.ศ. 2553[3]
อำเภอชัยบาดาล | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Chai Badan |
วัดเขาสมโภชน์ ที่เชิงเขาเป็นที่ตั้งของวัดสำหรับปฏิบัติธรรม ภูเขาแห่งนี้เต็มไปด้วยถ้ำต่างๆ ที่มีความสวยงามตามธรรมชาติอยู่เป็นจำนวนมากกว่า 19 ถ้ำ เฉพาะถ้ำที่ปรากฏชื่อมีดังนี้คือ ถ้ำใหญ่ ถ้ำเจดีย์ ถ้ำเพชร ถ้ำรำวง ถ้ำสิงโต ถ้ำบ่อทิพย์ ฯลฯ ภายในแต่ละถ้ำจะแลเห็นหินงอกหินย้อยที่สวยงาม | |
คำขวัญ: ศูนย์การค้าเศรษฐกิจการเกษตร เขตป่าสักอนุรักษ์เขาสมโภชน์ รุ่งโรจน์ หลากหลายวัฒนธรรม สวยล้ำน้ำตก วังก้านเหลือง | |
แผนที่จังหวัดลพบุรี เน้นอำเภอชัยบาดาล | |
พิกัด: 15°12′22″N 101°8′12″E / 15.20611°N 101.13667°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ลพบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,253.0 ตร.กม. (483.8 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566[1]) | |
• ทั้งหมด | 88,443 คน |
• ความหนาแน่น | 70.59 คน/ตร.กม. (182.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 15130, 15190 (เฉพาะตำบลนาโสม), 15230 (เฉพาะตำบลชัยบาดาล ม่วงค่อม และมะกอกหวาน) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1604 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอชัยบาดาล เลขที่ 339 หมู่ที่ 5 ถนนท่ามะนาว ตำบลลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี 15130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอชัยบาดาลมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอศรีเทพ (จังหวัดเพชรบูรณ์)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอลำสนธิ
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอท่าหลวง และอำเภอพัฒนานิคม
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอโคกสำโรง อำเภอสระโบสถ์ และอำเภอโคกเจริญ
ประวัติ
แก้แต่เดิมอำเภอชัยบาดาล มีฐานะเป็นเมืองชั้นโทชื่อ เมืองไชยบาดาล ขึ้นอยู่ในความปกครองของเมืองนครราชสีมา ที่ทำการตั้งอยู่ที่บ้านบัวชุม ตำบลบัวชุม ในปี พ.ศ. 2457 ทางราชการได้ลดฐานะเป็น อำเภอไชยบาดาล โอนการปกครองไปขึ้นอยู่กับเมืองเพชรบูรณ์จนถึงปี พ.ศ. 2461 ได้โอนอำนาจไชยบาดาลไปขึ้นอยู่กับจังหวัดสระบุรี และย้ายที่ว่าการอำเภอไปอยู่บ้านไชยบาดาล ตำบลไชยบาดาล ต่อมาทางราชการได้สั่งโอนอำเภอไชยบาดาลไปขึ้นอยู่กับการปกครองของจังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 ส่วนตัวสะกดชื่อนั้นได้เปลี่ยนจากคำว่า "ไชยบาดาล" เป็น "ชัยบาดาล" เมื่อปี พ.ศ. 2514 ครั้นปี พ.ศ. 2521 ได้รับเรื่องราวจากกรมทางหลวงแผ่นดิน ขอให้รื้อที่ว่าการอำเภอหลังนี้เพื่อตัดถนนผ่านตัวอาคารที่ว่าการอำเภอ และได้รับอนุมัติให้รื้อถอนได้เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2521 จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาอยู่ที่อยู่ปัจจุบันนี้
- วันที่ 24 สิงหาคม 2445 ยุบท้องที่อำเภอบัวชุม มณฑลเพชรบูรณ์ รวมเข้ากับท้องที่อำเภอไชยบาดาล[4]
- วันที่ 2 มีนาคม 2461 โอนพื้นที่อำเภอไชยบาดาล จังหวัดเพชรบูรณ์ มาขึ้นกับจังหวัดสระบุรี[5]
- วันที่ 14 ตุลาคม 2484 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดสระบุรีกับจังหวัดลพบุรี โดยโอนพื้นที่อำเภอไชยบาดาล นอกจากตำบลคำพราน จังหวัดสระบุรี ไปขึ้นกับจังหวัดลพบุรี ส่วนท้องที่ตำบลคำพราน ให้โอนไปขึ้นกับอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี[6]
- วันที่ 19 ตุลาคม 2486 ย้ายที่ว่าการอำเภอไชยบาดาล จากตำบลไชยบาดาล ไปเปิดทำการที่อาคารสร้างขึ้นใหม่อยู่ที่หมู่ 5 บ้านลำนารายณ์ ตำบลบัวชุม[7] ในเขตอำเภอเดียวกัน
- วันที่ 26 ธันวาคม 2487 ย้ายที่ว่าการอำเภอไชยบาดาล จากหมู่ 5 บ้านลำนารายณ์ ตำบลบัวชุม ไปเปิดทำการที่อาคารที่ว่าการอำเภอชัยบาดาล (เดิม) อยู่ที่ตำบลไชยบาดาล[8] ในเขตอำเภอเดียวกัน
- วันที่ 2 มกราคม 2488 โอนพื้นที่หมู่ 8 (ในขณะนั้น) ของตำบลโคกสลุง ไปขึ้นกับตำบลไชยบาดาล[9]
- วันที่ 16 ธันวาคม 2495 ตั้งตำบลมะกอกหวาน แยกออกจากตำบลไชยบาดาล[10]
- วันที่ 30 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลไชยบาดาล ในท้องที่บางส่วนของตำบลไชยบาดาล[11]
- วันที่ 7 มิถุนายน 2503 ย้ายที่ว่าการอำเภอไชยบาดาล และสถานีตำรวจภูธรไชยบาดาล จากตำบลไชยบาดาล ไปเปิดทำการที่อาคารสร้างขึ้นใหม่อยู่ที่ตำบลบัวชุม[12] ในเขตอำเภอเดียวกัน
- วันที่ 27 มิถุนายน 2504 จัดตั้งสุขาภิบาลลำนารายณ์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลบัวชุม[13]
- วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2505 โอนพื้นที่ตำบลมะนาวหวาน และตำบลโคกสลุง อำเภอไชยบาดาล ไปขึ้นกับ อำเภอเมืองลพบุรี[14] และจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอพัฒนานิคม[15]
- วันที่ 8 กันยายน 2513 ตั้งตำบลลำนารายณ์ แยกออกจากตำบลชัยบาดาล และตำบลบัวชุม ตั้งตำบลศิลาทิพย์ แยกออกจากตำบลบัวชุม และตั้งตำบลม่วงค่อม แยกออกจากตำบลมะกอกหวาน[16]
- วันที่ 17 สิงหาคม 2514 ตั้งตำบลหนองรี แยกออกจากตำบลหนองยายโต๊ะ[17]
- วันที่ 7 ตุลาคม 2518 ตั้งตำบลท่ามะนาว แยกออกจากตำบลลำนารายณ์ ตั้งตำบลท่าหลวง แยกออกจากตำบลชัยบาดาล ตั้งตำบลนาโสม แยกออกจากตำบลหนองยายโต๊ะ ตั้งตำบลเกาะรัง แยกออกจากตำบลบัวชุม ตั้งตำบลชัยนารายณ์ แยกออกจากตำบลลำนารายณ์ ตั้งตำบลลำสนธิ แยกออกจากตำบลหนองรี ตั้งตำบลบ้านใหม่สามัคคี แยกออกจากตำบลศิลาทิพย์ และตั้งตำบลห้วยหิน แยกออกจากตำบลม่วงค่อม[18]
- วันที่ 30 พฤศจิกายน 2519 ตั้งตำบลซับจำปา แยกออกจากตำบลท่าหลวง ตั้งตำบลหนองผักแว่น แยกออกจากตำบลท่ามะนาว ตั้งตำบลซับตะเคียน แยกออกจากตำบลนาโสม ตั้งตำบลแก่งผักกูด แยกออกจากตำบลมะกอกหวาน ตั้งตำบลนิคมลำนารายณ์ แยกออกจากตำบลเกาะรัง ตำบลบ้านใหม่สามัคคี และตำบลศิลาทิพย์ และตั้งตำบลกุดตาเพชร แยกออกจากตำบลลำสนธิ[19]
- วันที่ 28 พฤศจิกายน 2521 แยกพื้นที่ตำบลท่าหลวง ตำบลซับจำปา ตำบลหนองผักแว่น และตำบลแก่งผักกูด อำเภอชัยบาดาล ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอท่าหลวง[20] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอชัยบาดาล
- วันที่ 3 มิถุนายน 2523 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านท่าหลวง ในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าหลวง[21]
- วันที่ 29 มิถุนายน 2525 ตั้งตำบลทะเลวังวัด แยกออกจากตำบลท่าหลวง[22]
- วันที่ 7 มิถุนายน 2526 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลลำนารายณ์[23] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
- วันที่ 16 มิถุนายน 2526 ตั้งตำบลซับสมบูรณ์ แยกออกจากตำบลหนองรี[24]
- วันที่ 10 ตุลาคม 2529 ตั้งตำบลเขารวก แยกออกจากตำบลลำสนธิ[25]
- วันที่ 14 มีนาคม 2532 แยกพื้นที่ตำบลลำสนธิ ตำบลซับสมบูรณ์ ตำบลหนองรี ตำบลกุดตาเพชร และตำบลเขารวก อำเภอชัยบาดาล ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอลำสนธิ[26] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอชัยบาดาล
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2532 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอท่าหลวง อำเภอชัยบาดาล เป็น อำเภอท่าหลวง[27]
- วันที่ 20 สิงหาคม 2536 ตั้งตำบลเขาแหลม แยกออกจากตำบลห้วยหิน[28]
- วันที่ 18 มกราคม 2537 ตั้งตำบลเขาน้อย แยกออกจากตำบลซับสมบูรณ์[29]
- วันที่ 26 ธันวาคม 2537 จัดตั้งศาลจังหวัดชัยบาดาล[30] ในท้องที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ให้มีเขตตลอดท้องที่อำเภอชัยบาดาล อำเภอโคกเจริญ อำเภอท่าหลวง อำเภอสระโบสถ์ และกิ่งอำเภอลำสนธิ
- วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอลำสนธิ อำเภอชัยบาดาล เป็น อำเภอลำสนธิ[31]
- วันที่ 6 พฤษภาคม 2542 ยุบสุขาภิบาลชัยบาดาล อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี[32] เนื่องจากไม่มีพื้นที่ที่จะดำเนินกิจการตามอำนาจหน้าที่ต่อไปได้ เพราะมีโครงการลุ่มน้ำป่าสัก ทำให้ประชาชน รวมทั้งกรรมการสุขาภิบาลได้อพยพออกจากพื้นที่ในเขตสุขาภิบาลไปหมดแล้ว จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์อันเป็นองค์ประกอบที่จะดำรงสถานภาพเป็นสุขาภิบาลต่อไปได้
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลลำนารายณ์ เป็น เทศบาลตำบลลำนารายณ์[33] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบสภาตำบลมะกอกหวาน รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาล[34]
การจัดตั้งเป็นจังหวัด
แก้ในปี พ.ศ. 2547 กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาว่าการแบ่งเขตการปกครองของจังหวัดลพบุรี ไปเป็นจังหวัดใหม่ชื่อ "จังหวัดพระนารายณ์" ยังไม่เป็นการสมควร เนื่องจากปัจจุบันจังหวัดลพบุรียังมีพระนารายณ์ราชนิเวศน์เป็นหลักฐาน และได้มีการประกาศเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2504 เป็นที่รู้จักของประชาชนจังหวัดลพบุรีที่ส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้แบ่งแยกพื้นที่จังหวัดไปเป็นจังหวัดใหม่ ประกอบกับเมื่อได้พิจารณาตามหลักเกณฑ์การจัดตั้งจังหวัดใหม่ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2524 ปรากฏว่าเนื้อที่และสภาพภูมิศาสตร์ จำนวนอำเภอในเขตปกครอง จำนวนประชากร ลักษณะพิเศษของจังหวัดไม่เข้าหลักเกณฑ์การจัดตั้งจังหวัดใหม่ตามมติคณะรัฐมนตรี จึงยังไม่เห็นสมควรแยกเขตการปกครองของจังหวัดลพบุรีตั้งจังหวัดใหม่ในขณะนี้[2]
ในปี พ.ศ. 2553 นายนิยม วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี ได้ยื่นกระทู้ถามนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เกี่ยวกับการจัดตั้งจังหวัดพระนารายณ์อีกครั้ง โดยยกฐานะอำเภอชัยบาดาลเป็นอำเภอเมืองชัยบาดาล ตำบลม่วงค่อมยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอม่วงค่อม แยกจากอำเภอชัยบาดาล อำเภอท่าหลวง อำเภอพัฒนานิคม อำเภอลำสนธิ อำเภอสระโบสถ์ อำเภอโคกเจริญ แต่ไม่ได้รับการพิจารณาเนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์การจัดตั้งจังหวัด[3]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอชัยบาดาลแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 17 ตำบล 136 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ลำนารายณ์ | (Lam Narai) | 12 หมู่บ้าน | 10. | นาโสม | (Na Som) | 6 หมู่บ้าน | |
2. | ชัยนารายณ์ | (Chai Narai) | 6 หมู่บ้าน | 11. | หนองยายโต๊ะ | (Nong Yai To) | 8 หมู่บ้าน | |
3. | ศิลาทิพย์ | (Sila Thip) | 12 หมู่บ้าน | 12. | เกาะรัง | (Ko Rang) | 10 หมู่บ้าน | |
4. | ห้วยหิน | (Huai Hin) | 8 หมู่บ้าน | 13. | ท่ามะนาว | (Tha Manao) | 8 หมู่บ้าน | |
5. | ม่วงค่อม | (Muang Khom) | 11 หมู่บ้าน | 14. | นิคมลำนารายณ์ | (Nikhom Lam Narai) | 9 หมู่บ้าน | |
6. | บัวชุม | (Bua Chum) | 9 หมู่บ้าน | 15. | ชัยบาดาล | (Chai Badan) | 8 หมู่บ้าน | |
7. | ท่าดินดำ | (Tha Din Dam) | 6 หมู่บ้าน | 16. | บ้านใหม่สามัคคี | (Ban Mai Samakkhi) | 6 หมู่บ้าน | |
8. | มะกอกหวาน | (Makok Wan) | 3 หมู่บ้าน | 17. | เขาแหลม | (Khao Laem) | 8 หมู่บ้าน | |
9. | ซับตะเคียน | (Sap Takhian) | 6 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอชัยบาดาลประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลลำนารายณ์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลลำนารายณ์และตำบลชัยนารายณ์
- องค์การบริหารส่วนตำบลลำนารายณ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำนารายณ์ (นอกเขตเทศบาลตำบลลำนารายณ์)
- องค์การบริหารส่วนตำบลชัยนารายณ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชัยนารายณ์ (นอกเขตเทศบาลตำบลลำนารายณ์)
- องค์การบริหารส่วนตำบลศิลาทิพย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศิลาทิพย์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยหินทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงค่อม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลม่วงค่อมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบัวชุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวชุมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าดินดำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าดินดำทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลซับตะเคียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลซับตะเคียนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาโสม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาโสมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายโต๊ะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองยายโต๊ะทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะรัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะรังทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะนาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่ามะนาวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมลำนารายณ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนิคมลำนารายณ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชัยบาดาลและตำบลมะกอกหวานทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่สามัคคี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่สามัคคีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาแหลม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาแหลมทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData
- ↑ 2.0 2.1 "กระทู้ถามที่ ๑๑๗๘ ร. เรื่อง ขอให้ตั้งจังหวัดพระนารายณ์ ของ นายนิยม วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (19/1 ก): 12–17. วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2546
- ↑ 3.0 3.1 "กระทู้ถามที่ 802 ร. เรื่อง ขอให้จัดตั้งจังหวัดพระนารายณ์ ของ นายนิยม วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 127 (ตอนพิเศษ 68 ง): 42–46. วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
- ↑ "ประกาศกระทรวงโยธาธิการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 19 (21): 427. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2445
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โอนอำเภอชัยบาดาลมาขึ้นจังหวัดสระบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 35 (0 ง): 3343–3344. วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2461
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรี พุทธศักราช ๒๔๘๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 58 (0 ก): 1379–1381. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2019-10-18. วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2484
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 60 (56 ง): 3385. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-09. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01. วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2486
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 61 (77 ง): 2445–2446. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-09. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01. วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2587
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 62 (1 ง): 11–12. วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2488
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอไชยบาดาล จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 69 (74 ง): 4671–4672. วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2495
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลไชยบาดาล อำเภอไชยบาดาล จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (45 ง): (ฉบับพิเศษ) 9-10. วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2499
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการอำเภอไชยบาดาลและสถานีตำรวจภูธร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (47 ง): 1509. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-09. สืบค้นเมื่อ 2019-10-18. วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2503
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลลำนารายณ์ จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (52 ง): 1508–1509. วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2504
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอโคกสำโรง อำเภอไชยบาดาล และอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี พ.ศ. ๒๕๐๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (11 ก): (ฉบับพิเศษ) 61-63. วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การแบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (25 ง): 569–570. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2019-10-18. วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2505
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (85 ง): 2539–2545. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-09. สืบค้นเมื่อ 2019-10-18. วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2513
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในท้องที่อำเภอโคกสำโรง และอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (87 ง): 2215–2222. วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2514
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอชัยบาดาลและอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (207 ง): 2485–2518. วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2518
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (148 ง): 3582–3596. วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอท่าหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (132 ง): 4235. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2019-10-18. วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านท่าหลวง กิ่งอำเภอท่าหลวง อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (87 ง): 1686–1688. วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2523
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพัฒนานิคม กิ่งอำเภอท่าหลวง อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (89 ง): 2511–2518. วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2525
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (92 ง): 1808–1809. วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2526
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 6-8. วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2526
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (175 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-4. วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2529
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอลำสนธิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (40 ง): 1885. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2019-10-18. วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2532
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอแวงใหญ่ อำเภอหนองบุนนาก อำเภอโพนทราย อำเภอท่าหลวง และอำเภอศรีรัตนะ พ.ศ. ๒๕๓๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (83 ง): 249–251. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2019-10-18. วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2532
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (115 ง): (ฉบับพิเศษ) 52-53. วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2536
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอลำสนธิ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (5 ง): 7–12. วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2537
- ↑ "พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (61 ก): 1–2. วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2537
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอลำสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 5–8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2019-10-18. วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบสุขาภิบาลชัยบาดาล อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (36 ง): 14. วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 102 ง): 9–12. วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2547