ตำบลซับตะเคียน

ตำบลในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย

ซับตะเคียน เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิตเรียบง่าย ทำการเกษตรพืชไร่เป็นส่วนใหญ่ นอกจากการทำไร่ยังปลูกผักสวนครัวไว้ในบริเวณบ้าน ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนเป็นลักษณะ ญาติมิตร พึ่งพาอาศํยซึ่งกันและกัน เป็นกันเอง มีการพบปะสังสรรค์กันอยู่เสมอ

ตำบลซับตะเคียน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Sap Takhian
ประเทศไทย
จังหวัดลพบุรี
อำเภอชัยบาดาล
พื้นที่[ต้องการอ้างอิง]
 • ทั้งหมด41.73 ตร.กม. (16.11 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (31 ธันวาคม 2561)[ต้องการอ้างอิง]
 • ทั้งหมด4,928 คน
 • ความหนาแน่น118.09 คน/ตร.กม. (305.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 15130
รหัสภูมิศาสตร์160409
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลซับตะเคียน
ประเทศ ไทย
จังหวัดลพบุรี
อำเภอชัยบาดาล
จัดตั้ง2539
รหัส อปท.06160406
ที่อยู่ที่ทำการ139 หมู่ 6 บ้านสามแยกเขาน้อย ตำบลซับตะเคียน อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี 15130
โทรศัพท์036-788-600
โทรสาร036-788-601
เว็บไซต์www.saptakhian.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

แก้

ในอดีตบ้านหนองโด หมู่ 2 ตำบลซับตะเคียน อพยพมาจากจังหวัดนครสวรรค์ ชัยภูมิ นครราชสีมา ได้เข้ามาจับจองพื้นที่ ถางป่าเพื่อทำการเกษตรพืชไร่ใน ปี 2509

ภูมิศาสตร์

แก้
  • สภาพที่ตั้ง ภูมิประเทศ เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในภาคกลาง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับเนินเขาและภูเขา และบางส่วนเป็นที่ราบลุ่ม ภูมิประเทศตั้งอยู่ในเขตร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27.42 ํc อุณหภูมิขึ้นสูงสุดในเดือนเมษายน วัดได้ 36.23 ํc และลดต่ำสุดในเดือนธันวาคม วัดได้ 18.61 ํc
  • ทรัพยากร ทรัพยากรที่สำคัญ ได้แก่ ป่าไม้ และ ภูเขา ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีพืชสมุนไพรหลากหลายชนิด เป็นเขตุอุทยานซึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่ทำรายได้สู่ชุมชน ด้านการชลประทาน มีฝายกั้นน้ำ และคลองขนาดเล็กในหมู่บ้าน มีการกักเก็บน้ำฝน และ สูบน้ำบาดาลมาใช้ในการอุปโภคบริโภค คนในชุมชนมีที่ดินทำกิน ปลูกพืชไร่ พืชสวน

ประชากร

แก้

ประชากรทั้งหมด 704 คน แบ่งเป็นชาย 341 คน และ หญิง 363 คน ส่วนใหญ่ใช้ภาษากลางในการสื่อสาร จะมีแค่บางคำที่มีชื่อเรียกต่างไปบ้าง

เศรษฐกิจ

แก้

ประเภทอุตสาหกรรมครัวเรือนและการเกษตร ส่วนใหญ่ทำการเกษตรพืชไร่และพืชสวนครัว อาทิเช่น ไร่อ้อย มัน ข้าวโพด สวนพริก ผักสวนครัวต่าง ๆ เป็นการทำการเกษตรเพื่อการค้าและยังชีพ

การคมนาคม

แก้

มีถนนตัดผ่านจากตัวเมืองเข้าถึงชุมชน สามารถโดยสารสู่ตัวเมือง ได้โดยรถโดยสารประจำทาง และรถตู้ประจำทาง จึงต่อรถส่วนบุคคลเข้าถึงชุมชนอีกประมาณ 2 กิโลเมตร

ประเพณีและวัฒนธรรม

แก้

ประเพณีที่สำคัญ ประเพณีบวชป่าสืบชะตาเขาอ้ายโป้ดและเขาอีด่างทุกปี มีการทำบุญในวันพระและประเพณีต่าง ๆ ของชาวพุทธ วัฒนธรรมของคนในพื้นที่เป็นแบบชาวไทยดั้งเดิม การดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย ใกล้ชิดวัด

บุคคลที่มีชื่อเสียง

แก้
  • หมอหยอย นายชัยพร กลิ่นจันทร์ เป็นหมอประจำตำบล ที่ชาวบ้านให้การเคารพนับถือมาก
  • นายก อบต.นาย ยศเดโช เผ่าสุข เป็นผู้นำชุมชนในการพัฒนาชีวิตของคนในชุมชน
  • นางสาวสุจันจิรา วรปัญญา ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลซับตะเคียน

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้