อำเภอไชโย

อำเภอในจังหวัดอ่างทอง ประเทศไทย

ไชโย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอ่างทอง

อำเภอไชโย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Chaiyo
คำขวัญ: 
หมูทุบลือเลื่อง พระเครื่องเกษไชโย ผักตบโชว์จักสาน มะกรูดหวานเชื่อมใจ
แผนที่จังหวัดอ่างทอง เน้นอำเภอไชโย
แผนที่จังหวัดอ่างทอง เน้นอำเภอไชโย
พิกัด: 14°38′57″N 100°28′43″E / 14.64917°N 100.47861°E / 14.64917; 100.47861
ประเทศ ไทย
จังหวัดอ่างทอง
พื้นที่
 • ทั้งหมด72.326 ตร.กม. (27.925 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด22,058 คน
 • ความหนาแน่น304.98 คน/ตร.กม. (789.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 14140
รหัสภูมิศาสตร์1502
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอไชโย หมู่ที่ 4 ถนนสายเอเชีย กิโลเมตรที่ 110 ตำบลจรเข้ร้อง อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง 14140
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอไชโยมีอาณาเขตติดต่อใกล้เคียงดังนี้

ประวัติ

แก้

บ้านไชโยสันนิษฐานว่าอาจตั้งขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 2128 ในคราวที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถได้กรีธาทัพไปรบกับทัพของพระเจ้าเชียงใหม่ในบริเวณที่เป็นอำเภอไชโย ซึ่งจากประวัติศาสตร์ปรากฏว่ามีเพียงชื่อ "บ้านชะไว" และ"บ้านสระเกษ" เท่านั้น พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) สันนิษฐานว่าบ้านไชโยตั้งขึ้นหลังเสร็จสิ้นสงครามดังกล่าว และเพราะเหตุที่ชนะทัพพระเจ้าเชียงใหม่จึงได้ชื่อว่า "บ้านไชโย"

อำเภอไชโยนี้เดิมชาวบ้านเรียกว่า อำเภอบ้านมะขาม เมื่อบ้านไชโยตั้งเป็นอำเภอเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2439 โดยทางราชการได้นำชื่อวัดและหมู่บ้านตำบลไชโยมาเป็นชื่ออำเภอ ส่วนชื่ออำเภอบ้านมะขามก็ยกเลิกไป และแม้ที่ว่าการอำเภอจะตั้งอยู่ที่ตำบลจรเข้ร้องก็ไม่ได้ชื่อว่าอำเภอจรเข้ร้อง กลับได้ชื่อว่า อำเภอไชโย เพราะถือว่าชื่อไชโยเป็นสิริมงคลมากกว่า

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอไชโยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 9 ตำบล 51 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[1]
1. จรเข้ร้อง Chorakhe Rong
7
2,847
2. ไชยภูมิ Chaiyaphum
8
3,295
3. ชัยฤทธิ์ Chaiyarit
6
3,165
4. เทวราช Thewarat
7
1,948
5. ราชสถิตย์ Ratchasathit
7
2,266
6. ไชโย Chaiyo
7
2,761
7. หลักฟ้า Lak Fa
3
1,488
8. ชะไว Chawai
3
2,967
9. ตรีณรงค์ Tri Narong
3
1,488

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอไชโยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลไชโย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจรเข้ร้อง ตำบลไชยภูมิ ตำบลหลักฟ้า ตำบลชะไว และตำบลตรีณรงค์ทั้งตำบล รวมถึงบางส่วนของหมู่ที่ 1, 4 ของตำบลชัยฤทธิ์
  • เทศบาลตำบลเกษไชโย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไชโยทั้งตำบล (สุขาภิบาลเกษไชโยเดิม)[2]
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ 2–3, 5–6 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 4 ของตำบลชัยฤทธิ์
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเทวราช ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเทวราชทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลราชสถิตย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลราชสถิตย์ทั้งตำบล

อ้างอิง

แก้
  1. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้