เทศบาลตำบลไชโย

เทศบาลตำบลในอำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ประเทศไทย

เทศบาลตำบลไชโย เป็นเทศบาลตำบลซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของตำบลจรเข้ร้อง ตำบลไชยภูมิ ตำบลหลักฟ้า ตำบลชะไว และตำบลตรีณรงค์ และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 4 ของตำบลชัยฤทธิ์ ในอำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ใน พ.ศ. 2563 ในเขตเทศบาลมีประชากร 12,700 คน

เทศบาลตำบลไชโย
วัดบ้านป่า
ทต.ไชโยตั้งอยู่ในจังหวัดอ่างทอง
ทต.ไชโย
ทต.ไชโย
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลไชโย
พิกัด: 14°39′59.4″N 100°28′11.8″E / 14.666500°N 100.469944°E / 14.666500; 100.469944
ประเทศ ไทย
จังหวัดอ่างทอง
อำเภอไชโย
จัดตั้ง • 28 พฤศจิกายน 2499 (สุขาภิบาลจรเข้ร้อง)
 • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.จรเข้ร้อง)
พื้นที่
 • ทั้งหมด53.56 ตร.กม. (20.68 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[1]
 • ทั้งหมด12,700 คน
 • ความหนาแน่น237.11 คน/ตร.กม. (614.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05150202
ที่อยู่
สำนักงาน
หมู่ที่ 1 ถนนเทศบาล 11 ตำบลจรเข้ร้อง อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง 14140
เว็บไซต์www.chaiyo.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลตำบลไชโยเดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลจรเข้ร้องที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2499[2] ต่อมาใน พ.ศ. 2516 ได้ขยายเขตสุขาภิบาลจรเข้ร้อง เพื่อความเหมาะสมในการทะนุบำรุงท้องถิ่นและบริหารกิจการของท้องถิ่นตามสภาพการขยายความเจริญของชุมชน โดยเพิ่มพื้นที่บางส่วนของตำบลไชยภูมิ บางส่วนของตำบลหลักฟ้า บางส่วนของตำบลชัยฤทธิ์ และบางส่วนของตำบลชะไว[3] แล้วได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2542[4]

ต่อมาในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 กระทรวงมหาดไทยให้ยุบสภาตำบลไชยภูมิ สภาตำบลชะไว สภาตำบลจรเข้ร้อง สภาตำบลหลักฟ้า สภาตำบลตรีณรงค์ รวมกับเทศบาลตำบลจรเข้ร้อง[5] จึงทำให้เขตเทศบาลครอบคลุมตำบลจรเข้ร้อง ตำบลไชยภูมิ ตำบลหลักฟ้า ตำบลชะไว และตำบลตรีณรงค์ทั้งหมด และในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2550 กระทรวงมหาดไทยให้เปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลจรเข้ร้องเป็นเทศบาลตำบลไชโย[6] เพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตเทศบาล

พื้นที่เทศบาลตำบลอยู่บริเวณเขตศูนย์ราชการต่าง ๆ ของอำเภอไชโย อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดอ่างทองประมาณ 11.7 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 111 กิโลเมตร มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 53.56 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นพื้นที่ 33,475 ไร่ มีถนนเชื่อมต่อกับอำเภอและจังหวัดอื่น ๆ ถนนสายหลัก ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (บางปะอิน–แยกหลวงพ่อโอ) และถนนสายบ้านรี–มหานาม ส่วนการคมนาคมทางน้ำ จะอาศัยแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางในการเดินเรือ เพื่อการส่งสินค้าต่าง ๆ

อ้างอิง แก้

  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง พ.ศ. 2563 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลจรเข้ร้อง อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 87–88. 28 พฤศจิกายน 1956.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลจรเข้ร้อง อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (179 ง): (ฉบับพิเศษ) 78–80. 30 ธันวาคม 1973.
  4. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-01-11.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมสภาตำบลกับเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 75 ง): 10–14. 9 กรกฎาคม 2004.
  6. "เปลี่ยนชื่อ เทศบาลตำบลจรเข้ร้อง ไปเป็น เทศบาลตำบลไชโย". 30 ตุลาคม 2007. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้