อำเภอท่าวุ้ง
ท่าวุ้ง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี เป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟลพบุรี 2 ในโครงการรถไฟทางคู่เลี่ยงเมืองลพบุรี ซึ่งเป็นสถานีรถไฟยกระดับ[1] แนวทางรถไฟเป็นทางยกระดับขนานไปกับถนนเลี่ยงเมืองลพบุรี
อำเภอท่าวุ้ง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Tha Wung |
คำขวัญ: ท่าวุ้งมีมานานโบราณกล่าว เขาได้เอาคลองน้ำมาทำชื่อ คลองวกวนเว้าดุจเขากระบือ แต่คนซื่อไม่คดตามเหมือนน้ำคลอง | |
แผนที่จังหวัดลพบุรี เน้นอำเภอท่าวุ้ง | |
พิกัด: 14°48′54″N 100°30′42″E / 14.81500°N 100.51167°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ลพบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 242.8 ตร.กม. (93.7 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 47,590 คน |
• ความหนาแน่น | 196.01 คน/ตร.กม. (507.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 15150, 15180 (เฉพาะตำบลเขาสมอคอน) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1605 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอท่าวุ้ง ถนนลพบุรี-สิงห์บุรี ตำบลท่าวุ้ง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี 15150 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอท่าวุ้งมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบ้านหมี่
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองลพบุรี
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองลพบุรี และอำเภอไชโย (จังหวัดอ่างทอง)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพรหมบุรีและอำเภอเมืองสิงห์บุรี (จังหวัดสิงห์บุรี)
ประวัติ
แก้อำเภอท่าวุ้งเดิมทีเดียวเรียกว่า อำเภอโพหวี ซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลโพตลาดแก้ว อยู่ห่างจากจังหวัดลพบุรี ประมาณ 5–6 กิโลเมตร และที่ว่าการอำเภอสร้างเป็นศาลาตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำลพบุรีทางทิศเหนือ เนื่องจากตัวที่ว่าการอำเภอโพหวีใกล้จังหวัดลพบุรีมากเกินไป ราษฎรที่อยู่ห่างไกลได้รับความเดือดร้อนในการติดต่องานทางราชการอำเภอ ทางราชการจึงพิจารณาย้ายตัวที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่บ้านคลองมะขามเทศ หมู่ที่ 1 ตำบลท่าวุ้ง ซึ่งอยู่ห่างตัวที่ว่าการอำเภอเก่าประมาณ 4 กิโลเมตร และได้ตั้งชื่ออำเภอใหม่แห่งนี้ว่า อำเภอท่าวุ้ง ในปี พ.ศ. 2460 และตรงที่สร้างอำเภอแห่งเดิมนั้นขณะนี้ชาวบ้านเรียกว่า ศาลาตาหลวง เพราะมีศาลาหลังเก่าสร้างอยู่ที่นั่น และได้มีคำเล่าว่าหลวงแพ่งเป็นผู้สร้างและในปัจจุบันได้เป็นวัดโพธิ์แก้ว และมีผู้สันนิษฐานว่าที่แห่งนี้ก็คือตัวที่ว่าการอำเภอโพหวีนั้นเอง ทางราชการเห็นว่าบริเวณที่ว่าการอำเภอปัจจุบันเป็นศูนย์กลางที่จะทำให้ราษฎรได้รับความสะดวกในการสัญจรไปมาและติดต่อกับทางการได้ดียิ่งขึ้นจึงได้พิจารณาย้ายตัวที่ว่าการอำเภอ มาตั้งในหมู่ที่ 1 ตำบลท่าวุ้งตั้งแต่นั้นมา
คำว่า “ท่าวุ้ง” หมายถึง ท่าน้ำที่เป็นคุ้งหรือเว้าเข้าไปโดยถูกน้ำเซาะเป็นคุ้งเป็นที่ราบตลิ่ง ไม่ชันมากนัก และคำว่าท่าวุ้งเป็นชื่อตำบลท่าวุ้งเมื่อมาตั้งที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่จึงได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอโพหวีมาเป็นอำเภอท่าวุ้งเพื่อให้ตรงกับชื่อตำบลเพื่อเป็นการรักษาประวัติของตำบลไว้
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอโพหวี จังหวัดลพบุรี เป็น อำเภอท่าวุ้ง[2]
- วันที่ 21 มีนาคม 2480 โอนพื้นที่หมู่ 15 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางคู้ ไปขึ้นกับตำบลโพตลาดแก้ว[3]
- วันที่ 1 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลบางงา แยกออกจากตำบลท่าวุ้ง ตั้งตำบลโพตลาดแก้ว แยกออกจากตำบลบางคู้ และตั้งตำบลหัวสำโรง แยกออกจากตำบลลาดสาลี่[4]
- วันที่ 9 มิถุนายน 2496 โอนพื้นที่หมู่ 15,16 (ในขณะนั้น) ของตำบลโคกสลุด ไปขึ้นกับตำบลบางงา[5]
- วันที่ 15 ตุลาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าวุ้ง ในท้องที่หมู่ 2–3 และหมู่ 5–6 ตำบลท่าวุ้ง[6]
- วันที่ 25 มกราคม 2509 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าโขลง ในท้องที่หมู่ 8–11 ตำบลเขาสมอคอน[7]
- วันที่ 11 มีนาคม 2518 โอนพื้นที่หมู่ 15 (ในขณะนั้น) ของตำบลโคกสลุด ไปตั้งเป็นหมู่ 13 ตำบลบางงา[8]
- วันที่ 16 มิถุนายน 2524 ตั้งตำบลมุจลินท์ แยกออกจากตำบลโคกสลุด[9]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลท่าวุ้ง และสุขาภิบาลท่าโขลง เป็นเทศบาลตำบลท่าวุ้ง และเทศบาลตำบลท่าโขลง ตามลำดับ[10] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบสภาตำบลลาดสาลี่ รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบางคู้[11]
- วันที่ 27 มกราคม 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสลุด ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลโคกสลุด[12]
- วันที 12 ตุลาคม 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลโพตลาดแก้ว ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลโพตลาดแก้ว[13]
- วันที่ 27 ตุลาคม 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบางงา ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลบางงา[14]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอท่าวุ้งแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 11 ตำบล 128 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ท่าวุ้ง | (Tha Wung) | 12 หมู่บ้าน | 7. | เขาสมอคอน | (Khao Samo Khon) | 13 หมู่บ้าน | ||||||||
2. | บางคู้ | (Bang Khu) | 15 หมู่บ้าน | 8. | หัวสำโรง | (Hua Samrong) | 15 หมู่บ้าน | ||||||||
3. | โพตลาดแก้ว | (Pho Talat Kaeo) | 10 หมู่บ้าน | 9. | ลาดสาลี่ | (Lat Sali) | 7 หมู่บ้าน | ||||||||
4. | บางลี่ | (Bang Li) | 16 หมู่บ้าน | 10. | บ้านเบิก | (Ban Boek) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||
5. | บางงา | (Bang Nga) | 13 หมู่บ้าน | 11. | มุจลินท์ | (Mutchalin) | 9 หมู่บ้าน | ||||||||
6. | โคกสลุด | (Khok Salut) | 7 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอท่าวุ้งประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลท่าวุ้ง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าวุ้ง
- เทศบาลตำบลท่าโขลง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเขาสมอคอน
- เทศบาลตำบลโคกสลุด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกสลุดทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลโพตลาดแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพตลาดแก้วทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบางงา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางงาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าวุ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าวุ้ง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลท่าวุ้ง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางคู้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางคู้และตำบลลาดสาลี่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางลี่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางลี่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาสมอคอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาสมอคอน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลท่าโขลง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวสำโรงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเบิก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเบิกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลมุจลินท์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมุจลินท์ทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ เลี่ยงพระปรางค์ 3 ยอด ลพบุรี “รถไฟทางคู่ลอยฟ้า” 19 กม. ยาวที่สุดในไทย Website. 2021-12-04 สืบค้นเมื่อ 2021-12-30
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2011-09-16. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ง): 3189–3190. วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2480
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-09-25. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (37 ง): 2208–2209. วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2496
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าวุ้ง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (83 ง): (ฉบับพิเศษ) 69-70. วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2499
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าโขลง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 83 (8 ง): 300–301. วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2509
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (56 ง): 677–679. วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2518
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (96 ง): 1793–1797.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-09-25 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 102 ง): 9–12. วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2547
- ↑ "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสลุด เป็น เทศบาลตำบลโคกสลุด". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552
- ↑ "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตลาดแก้ว เป็น เทศบาลตำบลโพธิ์ตลาดแก้ว". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552
- ↑ "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบลบางงา เป็น เทศบาลตำบลบางงา". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552