จังหวัดสิงห์บุรี

จังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย
สำหรับความหมายอื่นของ สิงห์บุรี ดูที่ สิงห์บุรี (แก้ความกำกวม)

สิงห์บุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ในอดีตเคยเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยเป็นที่ตั้งของค่ายบางระจันในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

จังหวัดสิงห์บุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Sing Buri
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
  • วัดพระปรางค์
  • วัดพระนอนจักรสีห์
  • ศาลจังหวัดสิงห์บุรี
  • วัดโพธิ์เก้าต้น
คำขวัญ: 
ถิ่นวีรชนคนกล้า คู่หล้าพระนอน
นามกระฉ่อนช่อนแม่ลา เทศกาลกินปลาประจำปี


คำขวัญเดิม: ถิ่นวีรชนคนกล้า คู่หล้าพระนอน นามกระฉ่อนปลาแม่ลา ย่านการค้าภาคกลาง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสิงห์บุรีเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสิงห์บุรีเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสิงห์บุรีเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ สุเมธ ธีรนิติ[1]
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2566)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด822.478 ตร.กม. (317.561 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 74
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[3]
 • ทั้งหมด201,439 คน
 • ความหนาแน่น244.92 คน/ตร.กม. (634.3 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 13
รหัส ISO 3166TH-17
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้มะกล่ำตาช้าง
 • ดอกไม้ดอกทองอุไร
 • สัตว์น้ำปลาช่อน
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งภายในศูนย์ราชการจังหวัดสิงห์บุรี ถนนสิงห์บุรี-บางพาน ตำบลบางมัญ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี 16000
 • โทรศัพท์0 3650 7112
 • โทรสาร0 3651 1621
เว็บไซต์http://www.singburi.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ภูมิศาสตร์ แก้

จังหวัดสิงห์บุรีตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 142 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 822.478 ตารางกิโลเมตร หรือ 514,049 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป เป็นที่ราบลุ่มและพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้น ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนริมแม่น้ำเป็นอย่างมาก มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และแม่น้ำลพบุรี นอกจากนี้ยังมีลำน้ำสายอื่น ๆ คือ ลำแม่ลา ลำการ้อง ลำเชียงราก และลำโพธิ์ชัย ไม่มีพื้นที่เป็นภูเขาและป่าไม้และไม่มีแร่ธาตุที่สำคัญ

ลักษณะของภูมิอากาศโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น

  • ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 34.30-37.34 องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,047.27 มิลลิเมตรต่อปี
  • ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ย ประมาณ 27-18 องศาเซลเซียส

ประวัติศาสตร์ แก้

 
พระนอนจักรสีห์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเล่าถึงเมืองสิงห์ถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ไว้ในสาสน์สมเด็จว่า "...เมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองใหญ่และเก่า มีป้อมปราการ วัง วัดมหาธาตุ และของสำคัญ คือ พระนอนจักรสีห์ ใหญ่ยาวกว่าพระนอนองค์อื่น ๆ ในเมืองไทย ทำเป็นแบบพระนอนอินเดียเหมือนเช่นที่ถ้ำคูหาภิมุข วัดคูหาภิมุข อำเภอเมืองยะลา คือ พระกรขวาศอกยื่นไปทางด้านหน้า ไม่ทำงอพระกรตั้งขึ้นรับพระเศียรแบบพระนอนไทย เมืองสิงห์เรียกชื่อต่าง ๆ ดังนี้ เมืองสิงหราชาธิราช เมืองสิงหราชา เป็นเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำจักรสีห์อันเป็นลำน้ำใหญ่ ห่างแม่น้ำเจ้าพระยา 200 เส้น เพราะแม่น้ำจักรสีห์ตื้นเขิน เมืองสิงห์จึงกลายเป็นเมืองอยู่ลับลี้..." ก็แสดงว่า สิงห์บุรีเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ มีอดีตยาวนาน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณมาเป็นเวลานานหลายยุคหลายสมัย

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แก้

พบร่องรอยหลักฐานมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี บ้านบางวัว ตำบลไม้ดัด อำเภอบางระจัน บ้านคู ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน คือ ขวานหิน แวดินเผา หินดุ ชิ้นส่วนกำไลสำริด ค้นพบโดยพระเจ้าแสนภูมิ

สมัยทวารวดี แก้

พบหลักฐานที่เมืองโบราณบ้านคูเมือง ตำบลห้วยชัน อำเภออินทร์บุรี เป็นการตั้งถิ่นฐานแบบ "เมืองคูคลอง" มีแผนผังเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีคูน้ำ คันดินล้อมรอบ โบราณวัตถุที่ขุดพบ เช่น ภาชนะดินเผา ลูกปัด แท่นหินบด แวดินเผา ตะคัน ฯลฯ ส่วนหนึ่งจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวเป็นสวนรุกขชาติและที่ตั้งหน่วยอนุรักษ์พันธุ์ไม้จังหวัดสิงห์บุรี

เมืองวัดพระนอนจักรสีห์ ที่ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี รูปแบบเมืองเป็นเมืองซ้อน มีเมืองชั้นในรูปค่อนข้างกลมและเมืองชั้นนอกล้อมรอบรูปสี่เหลี่ยมมน ไม่ปรากฏร่องรอยกำแพงเมือง (ที่ทำด้วยดินพูนสูง) แต่คูเมืองบางด้านยังปรากฏให้เห็น สิ่งที่พบคือ ลูกปัด แวดินเผา เศษภาชนะ ฯลฯ

แหล่งโบราณคดีบ้านคีม ที่ตำบลสระแจง อำเภอบางระจัน มีสภาพเป็นเนินดินรูปรี กว้าง 200 เมตร ยาว 500 เมตร มีคูน้ำขนาดกว้าง 5 เมตร

สมัยสุโขทัย แก้

มีการค้นพบเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัยตามวัดร้างและแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าชุมชนต่าง ๆ นั้นมีความสำคัญมากน้อยเพียงไร เพราะในช่วงที่อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองนั้นได้มีอำนาจแผ่ขยายอาณาเขตครอบคลุมในบริเวณภาคกลางและลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

สมัยอยุธยา แก้

ปรากฏเหตุการณ์ที่สำคัญคือ สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ตั้งเมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองลูกหลวง และทรงตั้งเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรีเป็นเมืองหลานหลวง นอกจากนี้แล้ว เมืองทั้งสามยังเป็นหัวเมืองชั้นในและหัวเมืองหน้าด่านรายทางด้านทิศเหนืออีกด้วย โดยมีเมืองลพบุรีเป็นเมืองหน้าด่านหลัก แสดงให้เห็นว่า เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรี มีอยู่แล้วเมื่อตั้งกรุงศรีอยุธยา ก่อนหน้านั้นเมืองทั้งสามอาจอยู่ในการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยก็ได้ แต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเมืองทั้งสามสร้างขึ้นในสมัยไหน

สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงจัดการปกครองใหม่ โดยกำหนดให้หัวเมืองชั้นในเป็นหัวเมืองจัตวา ดังนั้น เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี และเมืองสิงห์บุรีจึงเปลี่ยนฐานะเป็นหัวเมืองจัตวา

ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อปี พ.ศ. 2086 เมืองสิงห์เป็นเมืองที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาให้ทหารไปสืบข่าวเรืองศึกสงครามกับพม่า ขณะเดียวกันก็ได้ยกกองทัพไปตั้งที่เมืองอินทร์บุรี เพื่อหยั่งเชิงดูข้าศึกอีกด้วย ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา

ในปี พ.ศ. 2127 หลังจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพได้ไม่นาน พม่าก็ได้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง ครั้งนี้พม่ายกกองทัพมาสองทาง คือ ทางเหนือมีพระเจ้าเชียงใหม่เป็นแม่ทัพ และทางตะวันตกมีพระยาพะสิมเป็นแม่ทัพ แต่ทัพของพระยาพะสิมถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาตีแตกไปก่อน โดยที่พระเจ้าเชียงใหม่ยังไม่ทราบ เมื่อกองทัพพระเจ้าเชียงใหม่ยกมาถึงเมืองชัยนาท ก็ให้แต่งทัพหน้ามาตั้งที่บางพุทรา ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (ภายหลังคือ ตัวจังหวัดสิงห์บุรี)

 
อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน

พ.ศ. 2308 สมัยพระเจ้าเอกทัศ ในขณะที่พม่าตั้งค่ายล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ ชาวบ้านบางระจันได้รวมตัวกันต่อสู้กับพม่าที่บ้านบางระจัน เมืองสิงห์บุรี ซึ่งมีผู้นำสำคัญของชาวบ้านและปรากฏชื่อ คือ

  1. พระอาจารย์ธรรมโชติ
  2. นายแท่น
  3. นายโชติ
  4. นายอิน
  5. นายเมือง
  6. นายทองแก้ว
  1. นายดอก
  2. นายจันหนวดเขี้ยว
  3. นายทองแสงใหญ่
  4. นายทองเหม็น
  5. ขุนสรรค์
  6. พันเรือง

โดยชาวบ้านบางระจันได้ต่อสู้กับพม่าและสามารถเอาชนะกองทัพพม่าได้ถึง 7 ครั้ง จนถึงครั้งที่ 8 ชาวบ้านบางระจันจึงพ่ายแพ้ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 รวมเวลาที่ไทยรบกับพม่าทั้งสิ้น 5 เดือน คือ ตั้งแต่เดือน 4 ปลายปีระกา พ.ศ. 2308 ถึงเดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน วีรชนบ้านบางระจัน)

สมัยธนบุรี แก้

เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองสิงห์บุรี ขึ้นกับกรุงธนบุรี ในประชุมพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวถึงสำเนาท้องตรา พ.ศ. 2316 เกณฑ์ผู้รักษาเมืองสิงห์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองอินทร์บุรี ยกทัพไปสกัดข้าศึกด้านตะวันออกและคุมพรรคพวกซ่องสุมกำลังยกไปขุดคูเลนพระนครกรุงธนบุรี

สมัยรัตนโกสินทร์ แก้

มีหลักฐานที่ปรากฏคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการปกครองมณฑลเทศาภิบาล เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรีเข้าอยู่ในมณฑลกรุงเก่า (ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอยุธยา) และปี พ.ศ. 2439 ยุบเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรีเป็นอำเภออินทร์บุรีและอำเภอพรหมบุรีขึ้นกับเมืองสิงห์บุรี พร้อมกับตั้งเมืองสิงห์บุรีขึ้นใหม่ที่ตำบลบางพุทรา ส่วนเมืองสิงห์บุรีเดิมยุบเป็น "อำเภอสิงห์" และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบางระจัน

ปี พ.ศ. 2444 อำเภอเมืองสิงห์บุรีเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบางพุทรา และในปี พ.ศ. 2481 ทางราชการสั่งให้เปลี่ยนชื่อที่ว่าการอำเภอที่ตั้งอยู่ในเมืองให้เป็นชื่อของจังหวัดนั้น ๆ อำเภอบางพุทราจึงได้กลับไปใช้ชื่ออำเภอเมืองสิงห์บุรีมาจนถึงปัจจุบัน

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด แก้

การเมืองการปกครอง แก้

หน่วยการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

 
แผนที่อำเภอในจังหวัดสิงห์บุรี

การปกครองแบ่งออกเป็น 6 อำเภอ 43 ตำบล 364 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  2. อำเภอบางระจัน
  3. อำเภอค่ายบางระจัน
  4. อำเภอพรหมบุรี
  5. อำเภอท่าช้าง
  6. อำเภออินทร์บุรี

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

พื้นที่จังหวัดสิงห์บุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 42 แห่ง แบ่งตามประเภทและอำนาจบริหารจัดการภายในท้องที่ได้เป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 2 แห่ง เทศบาลตำบล 6 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 33 แห่ง[4]

ข้อมูลเทศบาลในจังหวัดสิงห์บุรี
ลำดับ ชื่อเทศบาล พื้นที่
(ตร.กม.)
ตั้งเมื่อ
(พ.ศ.)[# 1]
อำเภอ ครอบคลุมตำบล ประชากร (คน)
(ณ สิ้นปี 2555) [5]
ทั้งตำบล บางส่วน รวม
เทศบาลเมือง
1
7.81
2478 เมืองฯ 1 4 5
18,102
2
22.80
2556 บางระจัน
14,772
เทศบาลตำบล
3 (1)
  เทศบาลตำบลโพสังโฆ
2542 ค่ายบางระจัน - 1 1
2,217
4 (2)
  เทศบาลตำบลปากบาง
2542 พรหมบุรี 1 - 1
3,345
5 (3)
  เทศบาลตำบลบางน้ำเชี่ยว
2542 พรหมบุรี 1 - 1
3,528
6 (4)
  เทศบาลตำบลถอนสมอ
2542 ท่าช้าง 2 - 1
9,306
7 (5)
2542 อินทร์บุรี - 1 1
5,247
8 (6)
24.27
2552 อินทร์บุรี 1 - 1
  1. หมายถึงปีที่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลในระดับปัจจุบัน

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด แก้

  1. จมื่นสมุห์พิมาน (เจิม) 
  2. หลวงอนุรักษ์ภูเบศร์รักษา (โดม) 
  3. พระราชพินิจจัย (เหม) พ.ศ. 2448
  4. หลวงเสนานนท์ (อรุณ) 
  5. หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (หม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร) พ.ศ. 2448[6][7]
  6. หลวงบาทศุภกิจ 
  7. พระทรงสุรเดช (เตน) 
  8. หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน พ.ศ. 2450 - พ.ศ. 2452
  9. พระพรหมประสาทศิลป์ (ลี) พ.ศ. 2452 - พ.ศ. 2455
  10. พระพิศาลสงคราม (ผล) พ.ศ. 2455 - พ.ศ. 2458
  11. พระสิงห์บุรีตรีนัทยเขตร (หม่อมราชวงศ์กมล นพวงษ์) พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2461
  12. พระยาสิงห์บุรานุรักษ์ (สะอาด บูรณะสมภพ) พ.ศ. 2461 - พ.ศ. 2472
  13. พระประชากรบริรักษ์ พ.ศ. 2472 - พ.ศ. 2476
  14. พระยาประเสริฐสุนทราศรัย 18 ม.ค. 2476 - พ.ศ. 2476
  15. พระกำแพงพราหม พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2476
  16. หลวงอรรถวิจิตรจรรยารักษ์ มี.ค. 2476 - พ.ศ. 2478
  17. หลวงอรรถสิทธิสุนทร พ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2480
  18. หลวงสรรคประศาสน์ 27 ม.ค. 2480 - พ.ศ. 2486
  19. ขุนบริรักษ์บทวลัญช์ 1 พ.ย. 2486 - 15 ส.ค. 2490
  20. นายเวช เพชรานนท์ 15 ส.ค. 2490 - ธ.ค. 2490
  21. นายสนิท วิไลจิตต์ ม.ค. 2491 - เม.ย. 2493
  22. ขุนบริรักษ์บทวลัญช์ 17 เม.ย. 2493 - ก.ย. 2500
  23. นายพุก ฤกษ์เกษม 21 ก.ย. 2500 - 27 พ.ย. 2506
  24. ร้อยตำรวจโท ปิ่น สหัสโชติ 30 พ.ย. 2506 - 6 พ.ย. 2507
  25. นายพัฒน์ พินทุโยธิน 7 พ.ย. 2507 - 1 มี.ค. 2509
  26. นายเกษม จียะพันธ์ 8 มี.ค.2509 - 22 พ.ค. 2512
  27. นายเอี่ยม เกรียงศิริ 26 พ.ค. 2512 - 30 ก.ย. 2518
  28. นายบรรโลม ภุชงคกุล 14 ต.ค. 2518 - 1 ธ.ค. 2521
  29. นายชิต นิลพานิช 1 ธ.ค. 2521 - 1 ต.ค. 2523
  30. นายชำนาญ เรืองเผ่าพันธุ์ 1 ต.ค. 2523 - 30 ก.ย. 2526
  31. นายวิชิต แสงทอง 1 ต.ค. 2526 - 15 ม.ค. 2528
  32. นายจำนงค์ อยู่โพธิ์ 16 ม.ค. 2528 - 30 ก.ย. 2530
  33. นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ 1 ต.ค. 2530 - 30 ก.ย. 2533
  34. นายปรีดี ตันติพงศ์ 1 ต.ค. 2533 - 30 ก.ย. 2534
  35. ร้อยตรี สมพร กุลวานิช 1 ต.ค. 2534 - 30 ก.ย. 2535
  36. ร้อยตรี อุทัย ใจหงษ์ 1 ต.ค. 2535 - 30 ก.ย. 2538
  37. นายวิพัฒน์ คงมาลัย 1 ต.ค. 2538 - 30 เม.ย. 2541
  38. นายนิคม บูรณพันธ์ศรี 16 เม.ย. 2541 - 30 ก.ย. 2542
  39. นายพยูณ มีทองคำ 1 ต.ค. 2542 - 30 ก.ย. 2544
  40. นายนิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว 1 ต.ค. 2544 - 30 ก.ย. 2546
  41. นายพระนาย สุวรรณรัฐ 1 ต.ค. 2546 - 30 ก.ย. 2547
  42. นางจุฑามาศ ประทีปะวณิช 1 ต.ค. 2547 - 30 ก.ย. 2549
  43. นายประภาศ บุญยินดี 16 ต.ค. 2549 - 19 ต.ค. 2551
  44. นายวิชัย ไพรสงบ 20 ต.ค. 2551 - 15 มี.ค. 2552
  45. นายชุมพร พลรักษ์ 16 มี.ค. 2552 - 30 ก.ย. 2552
  46. นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์ 1ต.ค. 2552 - 30 ก.ย. 2553
  47. นายพิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ 1 ต.ค. 2553 - 7 ต.ค. 2555
  48. นายสุรพล แสวงศักดิ์ 19 พ.ย. 2555 - 30 ก.ย. 2557
  49. นายชโลธร ผาโคตร 1ต.ค. 2557 - 30 ก.ย. 2558
  50. นายอัครเดช เจิมศิริ 1ต.ค. 2558 - 30 ก.ย. 2559
  51. นายพศิน โกมลวิชญ์ 1 ต.ค. 2559 - 4 เม.ย. 2560
  52. นายสุทธา สายวาณิชย์ 1 ต.ค. 2560 - 30 ก.ย. 2561
  53. นายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ 1 ต.ค. 2561 - 30 ก.ย. 2564
  54. นายชัยชาญ สิทธิวิรัชธรรม 1 ต.ค. 2564 - 30 ก.ย. 2565
  55. นายสุพจน์ ยศสิงห์คำ 1 ต.ค. 2565 - 30 ก.ย. 2566
  56. นายสุเมธ ธีรนิติ 17 ธ.ค. 2566 - ปัจจุบัน

ประชากร แก้

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรจังหวัดสิงห์บุรี
ปีประชากร±%
2553 214,661—    
2554 213,587−0.5%
2555 213,216−0.2%
2556 212,690−0.2%
2557 212,158−0.3%
2558 211,426−0.3%
2559 210,588−0.4%
2560 210,088−0.2%
2561 209,377−0.3%
2562 208,446−0.4%
2563 205,898−1.2%
2564 204,526−0.7%
2565 202,797−0.8%
2566 201,439−0.7%
อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[8]

จังหวัดสิงห์บุรีมีประชากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 รวมทั้งสิ้น 201,439 คน แยกเป็นชาย 95,652 คน หญิง 105,787 คน[9] สำหรับอำเภอที่มีประชากรมากที่สุด ได้แก่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี มีจำนวน 52,839 คน รองลงมาได้แก่ อำเภออินทร์บุรี จำนวน 52,114 คน และอำเภอบางระจัน จำนวน 32,547 คน สำหรับอำเภอที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดคือ อำเภอเมืองสิงห์บุรี 462.89 คนต่อตารางกิโลเมตร รองลงมาได้แก่ อำเภอค่ายบางระจัน 310.70 คนต่อตารางกิโลเมตร และอำเภอท่าช้าง 287.23 คนต่อตารางกิโลเมตร

ศาสนา แก้

จังหวัดสิงห์บุรีมีวัดในศาสนาพุทธ จำนวน 178 แห่ง โบสถ์คริสต์ 2 แห่ง วัดคริสต์ 1 แห่ง มัสยิด 2 แห่ง จำนวนผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 98.80 จำนวนผู้นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.02 จำนวนผู้นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.18

พระอารามหลวง

  • วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร (พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร) ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  • วัดพิกุลทอง (พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ) ตำบลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง
  • วัดโบสถ์ (พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ) ตำบลอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี (ธรรมยุติกนิกาย)

สำนักปฏิบัติธรรม

  • วัดอัมพวัน (สำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ ๑) ตำบลบ้านแป้ง อำเภอพรหมบุรี

การขนส่ง แก้

การคมนาคมของจังหวัดสิงห์บุรี มี 2 ทาง คือ

ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอต่างๆ แก้

สถานที่ท่องเที่ยว แก้

  • วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร
  • วัดอัมพวัน
  • พระเจดีย์ธรรมสิงหบุราจริยานุสรณ์
  • พระพรหมเทวาลัย
  • อนุสาวรีย์ชาวบ้านบางระจันและวัดโพธิ์เก้าต้น
  • แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย
  • อุทยานแม่ลามหาราชานุสรณ์
  • คูค่ายพม่า อำเภอพรหมบุรี
  • เมืองโบราณบ้านคูเมือง
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินทร์บุรี และหอสมุดแห่งชาติอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี
  • วัดพิกุลทอง หลวงพ่อแพ เขมังกโร อำเภอท่าช้าง
  • เมืองสิงห์บุรี
  • ลำแม่ลา
  • วัดหน้าพระธาตุ
  • หนังใหญ่ วัดสว่างอารมณ์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  • พระสิงห์ใหญ่ วัดม่วงชุม อำเภอบางระจัน
  • วัดดาวเรือง
  • โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริหนองลาด
  • ศาลหลักเมืองสิงห์บุรีและศาลาเก้าสิงหเกจิอาจารย์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  • ศาลากลางจังหวัดสิงห์บุรีและศาลจังหวัดสิงห์บุรีหลังเก่า อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  • ไกรสรราชสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  • หลวงพ่อทรัพย์ หลวงพ่อสิน วัดประโชติการาม
  • พระพุทธฉาย วัดสิงห์ อำเภอพรหมบุรี
  • หลวงพ่อซวง อภโย วัดชีปะขาว อำเภอพรหมบุรี
  • วัดโคกงู
  • วัดไทร อำเภออินทร์บุรี
  • วัดพระแก้ว เจดีย์กลางทุ่ง
  • ตลาดบ้านแป้ง อำเภอพรหมบุรี
  • ตลาดปากบาง อำเภอพรหมบุรี
  • ตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน
  • ตลาดเกษตร (วันอาทิตย์ช่วงเช้า) อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  • ตลาดนัดคลองถมสอง (วันเสาร์และวันอาทิตย์ช่วงเย็น) อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  • ตลาดผ้า (วันจันทร์ช่วงเช้า) อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  • เทศกาลกินปลาและงานกาชาดจังหวัดสิงห์บุรี (ช่วงปลายเดือน ธ.ค.) อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  • แนวเขื่อนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา (เหมาะสำหรับออกกำลังกายช่วงเช้าและเย็น) อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  • หลวงพ่อทองคำ วัดเสถียรวัฒนดิษฐ์ (วัดท่าควาย) อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  • โรงเจฮั้วเอียะตั้ว ศาลเจ้าแม่ทับทิม และศาลบุญเถ้ากงม่า อำเภอเมืองสิงห์บุรี

บุคคลที่มีชื่อเสียง แก้

ด้านศาสนา
การเมืองการปกครอง
วงการบันเทิง
ด้านกีฬา
ด้านทั่วไป
  • ชม้อย ทิพย์โส – ผู้ต้องหาคดีในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชนเมื่อปี พ.ศ. 2527

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 318 ง หน้า 14 วันที่ 19 ธันวาคม 2566
  2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  3. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_66.pdf 2566. สืบค้น 16 มีนาคม 2567.
  4. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กระทรวงมหาดไทย. "สรุปข้อมูล อปท ทั่วประเทศ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp 2556. สืบค้น 20 กันยายน 2556.
  5. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากร และบ้าน ทั่วประเทศ และรายจังหวัด ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/pop55_1.html 2556. สืบค้น 1 เมษายน 2556.
  6. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [ให้หม่อมอมรวงษ์วิจิตรเป็นผู้ว่าราชการเมืองอ่างทอง ให้พระราชพินิจจัยเป็นผู้ว่าราชการเมืองสิงห์บุรี ให้พระมนตรีพจนกิจเป็นเลขานุการกระทรวงมหาดไทย ให้พระองค์เจ้ากัลยาณประวัติปลัดบัญชี], เล่ม 22, ตอน 39, 24 ธันวาคม พ.ศ. 2448, หน้า 951
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ข้อมูลประชากร2560
  9. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-01-01. สืบค้นเมื่อ 2024-03-16.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 14°53′N 100°24′E / 14.89°N 100.4°E / 14.89; 100.4