อำเภอบางระจัน
บางระจัน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสิงห์บุรี เป็นที่รู้จักสำหรับวีรชนค่ายบางระจัน
อำเภอบางระจัน | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Bang Rachan |
คำขวัญ: แดนชื่อดังครั้งกรุงเก่า ย่านเตาเผาแม่น้ำน้อย รสอร่อยปลาแม่ลา หลวงปู่บุดดาประชานิยม | |
แผนที่จังหวัดสิงห์บุรี เน้นอำเภอบางระจัน | |
พิกัด: 14°53′32″N 100°19′2″E / 14.89222°N 100.31722°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สิงห์บุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 190.5 ตร.กม. (73.6 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 32,547 คน |
• ความหนาแน่น | 170.85 คน/ตร.กม. (442.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 16130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1702 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอบางระจัน หมู่ที่ 4 ตำบลสิงห์ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี 16130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอบางระจันมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสรรคบุรี (จังหวัดชัยนาท) และอำเภออินทร์บุรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภออินทร์บุรีและอำเภอเมืองสิงห์บุรี
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอค่ายบางระจัน
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเดิมบางนางบวช (จังหวัดสุพรรณบุรี)
ประวัติ
แก้อำเภอบางระจัน เดิมชื่อ "อำเภอสิงห์" ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บ้านเชิงกลัด ทางฝั่งขวาของแม่น้ำน้อย ห่างจากที่ว่าการอำเภอบางระจันในปัจจุบันไปทางทิศเหนือประมาณ 6 กิโลเมตร ต่อมาทางราชการได้พิจารณาเห็นว่า ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอค่อนไปทางเหนือมากเกินไป มิได้ตั้งอยู่จุดศูนย์กลาง ประชาชนมาติดต่อราชการไม่สะดวก ประกอบกับขณะนั้นลำแม่น้ำน้อย ตรงที่ตั้งที่ว่าการอำเภอบางระจัน ก็ตื้นเขินขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง จึงได้พิจารณาหาที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเสียใหม่
ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2442 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำน้อย ณ หมู่ที่ 4 ตำบลสิงห์ ซึ่งเป็นที่ตั้งในปัจจุบัน ในชั้นแรกเป็นเสาไม้แก่น พื้นฝากระดาน หลังคามุงจาก เป็นที่ทำการ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2461 อาคารหลังนี้ได้ชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก ไม่สามารถที่จะซ่อมแซมให้มั่นคงแข็งแรงได้ ทางราชการจึงได้ตั้งอาคารที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ ตามแบบแปลนของทางราชการ เป็นอาคารไม้ ใต้ถุนสูง ทรงปั้นหยา เสาก่ออิฐถือปูน พื้นฝาไม้สัก หลังคามุงกระเบื้อง ทำการก่อสร้างอยู่ 1 ปี จึงแล้วเสร็จ การก่อสร้างได้ดำเนินไปในสมัยที่ ขุนประสิทธิ์นรกรรม (เจียน หงษ์ประภาส) ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ
ต่อมาทางราชการ ได้พิจารณาเห็นว่า ชื่ออำเภอสิงห์ เป็นชื่อพ้องกับจังหวัดสิงห์บุรี อีกประการหนึ่งสมัยนั้นทางราชการ ได้ฟื้นฟูสถานที่หรือกิจกรรมสำคัญทางประวัติศาสตร์ จึงเล็งเห็นว่า ในท้องที่อำเภอเป็นที่ตั้งของค่ายบางระจันในอดีต ซึ่งเป็นวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ ที่ประชาชนได้สมัครสมานกลมเกลียว เสียสละชีวิต และเลือดเนื้อ ทำการสู้รบกับพม่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ชาวบ้านบางระจันผู้กล้าหาญ จึงได้เปลี่ยนชื่ออำเภอสิงห์ มาเป็นอำเภอ "บางระจัน" ตั้งแต่ พ.ศ. 2482 จนถึงปัจจุบัน[1] อนึ่ง อำเภอค่ายบางระจันในปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมขึ้นกับอำเภอบางระจัน และเป็นที่ตั้งของค่ายประวัติศาสตร์ "วีรชนชาวบ้านบางระจัน" นั้น ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ เป็นพระราชกฤษฎีกาแยกเป็นเอกเทศ เป็นอำเภอค่ายบางระจัน เมื่อ 8 กันยายน 2519
- วันที่ 21 พฤษภาคม 2454 แยกพื้นที่ตำบลนางเริง ตำบลเขาพระ ตำบลท่ารวก ตำบลท่าช้าง ตำบลหัวเขา ตำบลวังศรีราช ตำบลหัวนา ตำบลป่าสะแก ตำบลลำพันบอง ตำบลบ่อกรุ ตำบลห้วยขมิ้น ตำบลนางบวช อำเภอนางบวช (อำเภอสามชุก) ตำบลท่ามะนาว ตำบลโคกช้าง อำเภอสิงห์ (อำเภอบางระจัน) เมืองสิงห์บุรี ตำบลเดิมบาง และตำบลกำมะเชียน อำเภอเดิมบาง (เดิม) แขวงเมืองไชยนาท ไปจัดตั้งเป็น อำเภอเดิมบาง[2] ขึ้นกับเมืองสุพรรณบุรี
- วันที่ 26 ธันวาคม 2481 รวมตำบลท้องคุ้ง เข้ากับตำบลโพสังโฆ และเรียกชื่อตำบลว่า ตำบลโพสังโฆ[3]
- วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอสิงห์ จังหวัดสิงห์บุรี เป็น อำเภอบางระจัน[4]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลแม่ลา แยกออกจากตำบลโพชนไก่ ตั้งตำบลโพสังโฆ แยกออกจากตำบลท่าข้าม และตั้งตำบลคอทราย แยกออกจากตำบลบางระจัน[5]
- วันที่ 15 ตุลาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลสิงห์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลสิงห์[6]
- วันที่ 2 มีนาคม 2508 ตั้งตำบลบ้านจ่า แยกออกจากตำบลโพทะเล[7]
- วันที่ 5 มีนาคม 2511 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลสิงห์[8][9] โดยขยายให้ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลโพชนไก่ บางส่วนของตำบลเชิงกลัด และบางส่วนของตำบลไม้ดัด
- วันที่ 24 พฤศจิกายน 2513 จัดตั้งสุขาภิบาลโพสังโฆ ในท้องที่บางส่วนของตำบลโพสังโฆ[10]
- วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2515 แยกพื้นที่ตำบลบางระจัน ตำบลท่าข้าม ตำบลโพสังโฆ ตำบลคอทราย และตำบลโพทะเล อำเภอบางระจัน มาจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอค่ายบางระจัน[11] ให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอบางระจัน
- วันที่ 8 กันยายน 2519 ยกฐานะกิ่งอำเภอค่ายบางระจัน อำเภอบางระจัน เป็น อำเภอค่ายบางระจัน[12]
- วันที่ 20 มิถุนายน 2515 ตั้งตำบลสระแจง แยกออกจากตำบลพักทัน[13]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลสิงห์ เป็นเทศบาลตำบลสิงห์[14]
- วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลโพชนไก่ และองค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ อำเภอบางระจัน รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลา[15] และเรียกชื่อว่า องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลา
- วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงกลัด รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลไม้ดัด[16]
- วันที่ 8 มีนาคม 2556 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลสิงห์ อำเภอบางระจัน เป็นเทศบาลตำบลบางระจัน และยกฐานะเทศบาลตำบลบางระจัน ขึ้นเป็น เทศบาลเมืองบางระจัน[17]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอบางระจันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 8 ตำบล ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[18] |
---|---|---|---|
1. | สิงห์ | Sing | 3,927
|
2. | ไม้ดัด | Mai Dat | 6,834
|
3. | เชิงกลัด | Choeng Klat | 4,357
|
4. | โพชนไก่ | Pho Chon Kai | 4,407
|
5. | แม่ลา | Mae La | 1,539
|
6. | บ้านจ่า | Ban Cha | 3,114
|
7. | พักทัน | Phak Than | 4,583
|
8. | สระแจง | Sa Chaeng | 4,017
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอบางระจันประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองบางระจัน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสิงห์ ตำบลไม้ดัด ตำบลเชิงกลัด และตำบลโพชนไก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ดัด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไม้ดัดและตำบลเชิงกลัด (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองบางระจัน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ลาทั้งตำบล รวมทั้งตำบลสิงห์และตำบลโพชนไก่ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองบางระจัน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจ่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านจ่าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลพักทัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพักทันทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสระแจง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระแจงทั้งตำบล
การคมนาคมขนส่ง
แก้- ทางบก
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3030: เทศบาลเมืองสิงห์บุรี-เทศบาลตำบลบางระจัน
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3454: ชันสูตร-อ.ท่าช้าง
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3251: ชันสูตร-อ.สรรคบุรี
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3303: อ.บางระจัน-อ.เดิมบางนางบวช
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3252: บ้านจ่า-ชันสูตร
- รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ สาย 8 กรุงเทพฯ-สรรคบุรี-ชัยนาท
- รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ สาย 908 กรุงเทพฯ-สิงห์บุรี-หันคา
- รถโดยสารประจำทาง สาย 605 สิงห์บุรี - สรรคบุรี
สถานที่สำคัญ
แก้- ที่ว่าการอำเภอบางระจัน
- สถานีตำรวจภูธรบางระจัน
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอบางระจัน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี วิทยาเขตสิงห์บุรี
- โรงเรียนบางระจันวิทยา
- โรงเรียนศรีศักดิ์สุวรรณวิทยา
- โรงพยาบาลบางระจัน
อ้างอิง
แก้- ↑ "ข้อมูลพื้นฐาน : อำเภอบางระจัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-13. สืบค้นเมื่อ 2020-06-13.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งอำเภอเดิมบางและเปลี่ยนชื่ออำเภอเดิมบางเก่าเป็นอำเภอบ้านเชียน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0 ง): 299–300. May 21, 1911.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอต่าง ๆ จังหวัดสิงห์บุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3237–3238. 26 ธันวาคม 2481.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–363. 17 เมษายน 2482. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2020-06-13.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. 10 มิถุนายน 2490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-13.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสิงห์ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (83 ง): (ฉบับพิเศษ) 87-88. 15 ตุลาคม 2499.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (19 ง): 641–643. 2 มีนาคม 2508.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลสิงห์ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (23 ง): 699–701. 5 มีนาคม 2511.
- ↑ "แก้คำผิด ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลสิงห์ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๒๓ [ถือหลักเขตที่ ๒ เป็น ถึงหลักเขตที่ ๒]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (29 ง): (ฉบับพิเศษ) 241. 5 เมษายน 2511.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลโพสังโฆ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (110 ง): 3276–3277. 24 พฤศจิกายน 2513.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอบางระจัน ตั้งเป็นกิ่งอำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (17 ง): 178. 1 กุมภาพันธ์ 2515. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2020-06-13.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเลาขวัญ อำเภอคำม่วง คำเภอพิปูน อำเภอศรีเทพ อำเภอนาแห้ว อำเภอส่องดาว อำเภอควนกาหลง อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอบ้านตาขุน และอำเภอกุดจับ พ.ศ. ๒๕๑๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (109 ก): (ฉบับพิเศษ) 31-34. 8 กันยายน 2519. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-07-01.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (94 ง): 1607–1610. 20 มิถุนายน 2515.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-13.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). 1 กรกฎาคม 2547: 1–2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-06-13.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 102 ง): 17–20. 15 กันยายน 2547. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-23. สืบค้นเมื่อ 2020-06-13.
- ↑ เปลี่ยนแปลงฐานะ ทต.บางระจัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี เป็น ทม.บางระจัน (๑๑ ธ.ค. ๕๕)
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.